พื้นที่อันตราย (Hazardous area) คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการรั่วไหลของก๊าซ ไอระเหยของสารไวไฟ หรือฝุ่น ที่ออกมา ทำให้มีโอกาสระเบิด หรือติดไฟ จำเป็นต้องมีการใช้โคมไฟกันระเบิด ในพื้นที่นั้นๆ
ตัวอย่างพื้นที่อันตราย
1. โรงกลั่นน้ำมัน (ก๊าซ ไอระเหย)
2. โรงงานปิโตรเคมี (ก๊าซ ไอระเหย)
3. พื้นที่พ่นสี (ก๊าซ ไอระเหย)
4. พื้นที่เก็บสารเคมี (ก๊าซ ไอระเหย)
5. พื้นที่เก็บถ่านหิน (ฝุ่น)
6. โรงงานแป้งมันสำปะหลัง (ฝุ่น)
7. โรงงานทอผ้า (เส้นใย)
8. โรงงานเฟอร์นิเจอร์ (ฝุ่น)
บริเวณอันตรายจะถูกจำแนกตามความเสี่ยงหรือโอกาสในการระเบิดของแต่ละพื้นที่ โดยมีการแบ่งบริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) และ NEC (อเมริกา) ดังนี้
บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) นั้นจะแบ่งเป็น
1. พื้นที่เสี่ยงสูงมาก โซน Zone 0
2. พี่นที่เสี่ยงสูง โซน Zone 1
3. พื้นที่เสี่ยงต่ำ โซน Zone 2
บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน NEC (อเมริกา) นั้นจะแบ่งเป็น
1. พื้นที่เสี่ยงสูง Division 1
2. พื้นที่เสี่ยงต่ำ Division 2
พื้นที่โซน 0 (Zone 0 Area)
พื้นที่ที่มีก๊าซหรือไอระเหยที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดระเบิดได้ อยู่มากกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ มากกว่า 10% ของเวลา และ สถานการณ์เลวร้ายที่สุดของพื้นที่นี้คือ มีสสารไวไฟอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่านี่จะเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด แต่ทว่าเป็นเรื่องยากมากที่โซน 0 จะเป็นระบบเปิด และแทบจะไม่มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่นี้
พื้นที่โซน 1 (Zone 1 Area)
พื้นที่โซน 1 คือบริเวณที่ในภาวะการทำงานปกติ อาจมีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดระเบิดได้ หรือบริเวณที่มีสสารอันตรายปรากฏขึ้นระหว่าง 10 – 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ 0.1 – 10 % ของเวลา ต้องใช้อุปกรณ์กันระเบิด Zone 1 หรือ 21 เท่านั้น
พื้นที่โซน 2 (Zone 2 Area)
สถานที่ซึ่งในภาวะการทำงานปกติ เกือบจะไม่มีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดระเบิดได้ หรือหากมีการรั่วไหลจะมีก๊าซจะมีช่วงเวลาสั้นเท่านั้น สำหรับแนวทางการพิจารณาโดยทั่วไปนั้น บริเวณนี้จะมีวัตถุไวไฟปรากฏได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อปี หรือ 0 – 0.1 % ของเวลา หรือเป็นพื้นที่เสี่ยงที่อยู่ติดกับพื้นที่เสี่ยงโซน 1
ตามคำจำกัดความของบริเวณอันตรายนั้นจะไม่ได้เรียกว่าพื้นที่เสี่ยงสูงมาก สูง และเสี่ยงน้อย แต่เพื่อการอธิบายให้เข้าใจง่าย เราจึงขอใช้คำเหล่านี้ในการอธิบายแทน
จะสามารถสรุปได้ว่า
ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำไปใช้ในพื้นที่อันตรายนั้นจะต้องมีการป้องกันการระเบิด ตามพื้นที่ซึ่งจำแนกตามความเสี่ยงที่ต่างกัน จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์กันระเบิดที่สามารถใช้ในพื้นที่เสี่ยงสูง Zone 1 หรือ Division 1 จะมีราคาสูงกว่า อุปกรณ์กันระเบิดที่ใช้ในพื้นที่เสี่ยงต่ำ Zone 2 หรือ Division 2
อย่างไรก็ดีการจำแนกบริเวณอันตรายนั้น ยังต้องจำแนกถึงประเภทของสารอันตรายด้วย ซึ่งจะแบ่งเป็น
1. กลุ่มก๊าซ หรือ ไอระเหย (Gas Group IIA IIB IIC)
2. กลุ่มฝุ่นระเบิด
3. กลุ่มเส้นใย
ในบริเวณถังผสมสารเคมีนั้นเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงมาก Zone 0
และถังผสมสารเคมีไม่มีฝาปิดพื้นที่ในห้องทั้งหมดจะเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง Zone 1 เนื่องจากก๊าซ หรือไอระเหยของสารในถังนั้นสามารถกระจายไปได้ทั่วห้องตลอดเวลาทำงาน อุปกรณ์ไฟฟ้า และโคมไฟที่ใช้ในพื้นที่นี้จะต้องเป็นโคมไฟกันระเบิด zone 1 เท่านั้น
ในบริเวณถังผสมสารเคมีนั้นเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงมาก Zone 0
เรามีการกั้นห้องแยกพื้นที่ในส่วนซ้ายสำหรับถังผสมแยกกับพื้นที่ห้องด้านขวาเพิ่มจากตัวอย่าง 1 ทำให้พื้นที่ในห้องที่มีถังผสมด้านซ้ายถูกจำแนกเป็นเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง Zone 1 เนื่องจากก๊าซ หรือไอระเหยของสารในถังนั้นสามารถกระจายไปได้ทั่วห้องตลอดเวลาทำงาน
แต่พื้นที่ห้องฝั่งขวานั้นจะถูกจำแนกเป็นพื้นเสี่ยงน้อย Zone 2 แทน
โดยในตัวอย่างนี้เราจำเป็นต้องใช้โคมกันระเบิด zone 1 สำหรับพื้นที่ห้องด้านซ้าย แต่เราสามารถใช้เพียงโคมกันระเบิด zone 2 สำหรับห้องด้านขวาได้
ในบริเวณถังผสมสารเคมีนั้นยังคงเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงมาก Zone 0
ในตัวอย่างนี้มีการปิดฝาถังผสมสารเคมีพร้อมกับต่อท่อดูไอระเหยออกไปนอกห้อง
ทำให้พื้นที่ในห้องทั้งหมดถูกจำแนกเป็นพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ Zone 2 ทั้งห้อง เนื่องจากไม่มีไอระเหยออกมาในห้องในช่วงเวลาทำงานปกติ จึงสามาถใช้อุปกรณ์กันระเบิด / โคมไฟกันระเบิดแบบ zone 2 ในการติดตั้งในพื้นที่นี้ก็เพียงพอแล้ว
บริเวณสถานีจ่ายก๊าซธรรมชาติ (NGV และ LPG) จำเป็นต้องใช้โคมไฟกันระเบิด จากในรูปตัวอย่างนั้นจะเห็นได้ว่าพื้นที่ถังเก็บก๊าซฯใต้ติดในปั้มแก็สและถังแก็สในรถขนส่งนั้นถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่เสี่ยง zone 0 เนื่องจากมีก๊าซที่มีความเสี่ยงที่จะระเบิดได้ตลอดเวลา
ในขณะที่จุดต่อ และจุดที่เป็นหัวจ่ายก๊าซนั้น เป็นจุดที่มีความเสี่ยงที่จะมีก๊าซอยู่บ้างในการทำงานปกติ จึงถูกจัดให้เป็นพื้นที่ความเสี่ยง zone 1
ตำแหน่งติดตั้งโคมไฟของสถานีจ่ายก๊าซฯนั้นถึงเป็นพื้นที่ ที่ติดต่อกับพื้นที่เสี่ยง zone 1 เลยถูกจัดให้เป็นพื้นที่เสี่ยง zone 2 ดังนั้นโคมไฟกันระเบิดที่จะต้องนำมาติดตั้งในสถานีจ่ายก๊าซฯ หรือปั้มแก็สนั้นเป็นโคมไฟกันระเบิด zone 2 ก็เพียงพอ
หากคุณกำลังมองหาโคมไฟไฮเบย์ ไฟถนน ไฟสนามฟุตบอล สามารถเลือกสรรได้บนเว็บไซต์ Chinpower
แชร์
สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วยโคมไฟถนนสาธารณะ LED แสงสีขาวที่มอบความสว่างชัดเจนยามค่ำคืนแล้วเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างโครงการ อาทิเช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เริ่มโครงการเปลี่ยนโคมไฟทางหลวงทั่วประเทศจำนวนกว่า 3 ล้านหลอดมาใช้เป็นแบบ LED หรือการที่บรรดาโครงการบ้านจัดสรรใหม่ ๆ ก็ได้เปลี่ยนมาใช้โคมไฟถนนสาธารณะ LED นั่นคือเหตุผลที่เราจะพาผู้อ่านไปเข้าใจว่าโคมไฟทางหลวงแอลอีดีมีประโยชน์อย่างไร คุ้มค่ากับการเป็นเจ้าของหรือไม่ รวมถึงควรพิจารณาสิ่งใดบ้างหากต้องเลือกมาใช้งาน – โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? – 3 สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกโคมไฟถนนสาธารณะ LED – โคมไฟถนนสาธารณะเป็นมากกว่าแสงสว่างยามค่ำคืน โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? รู้หรือไม่ว่า? โคมไฟถนนสาธารณะที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium) หรือหลอดโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium) ซึ่งให้แสงสว่างสีส้มนั้น ปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าโคมไฟถนน LED อย่างชัดเจน เช่น 1. ค่าความถูกต้องของสี CRI ต่ำมาก ส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ใช้รถใช้ถนน 2. หลอดทั้งสองชนิดนี้ต้องใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ ที่กินไฟเพิ่มขึ้นมา 20-50 วัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดต้นทุนแฝงในค่าไฟฟ้า 3. หลอดทั้งสองชนิดนี้มีอัตราการลดลงของแสงสูง เพราะเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว ความสว่างของโคมไฟถนนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ให้ความสว่างมากเฉพาะช่วงแรก ๆ ที่เปลี่ยนหลอดใหม่เท่านั้น จะเห็นได้ว่าถนนบางแห่งมืดมาก แม้โคมไฟจะเปิดใช้งานอยู่ก็ตาม 4. อายุการใช้งานต่ำ เฉลี่ย 20,000 ชั่วโมง ทำให้ต้องบำรุงรักษาและเปลี่ยนหลอดบ่อย อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของโคมไฟทางหลวงที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูงและหลอดโซเดียมความดันต่ำ จะไม่มีอยู่ในโคมไฟถนนสาธารณะ LED ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นั่นจึงทำให้เราเห็นว่าทั้งภาครัฐและเอกชนได้เลือกติดตั้งไฟถนนสาธารณะ LED เนื่องจากมีข้อดีและมอบประโยชน์ต่อคนใช้รถใช้ถนนที่มากกว่า ดังนี้ – ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 60-80% โคมไฟถนนสาธารณะ LED…
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีไว้สำหรับให้ช่างไฟรู้ หรือเป็นทักษะเฉพาะด้านเพียงเท่านั้น จริง ๆ คนทั่วไปอย่างเรา ๆ ก็สามารถเรียนรู้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปิดโลกทัศน์และสามารถเลือกนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญหากคุณมีความรู้ก็จะสามารถเลือกใช้งานให้ได้รับความคุ้มค่าและได้รับประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับหลอดไฟ บางคนคิดว่าหลอดไฟที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มันก็เหมือน ๆ กันหมดนั่นแหละ ให้แสงสว่างเหมือน ๆ กัน ซึ่งความจริงแล้วมันแตกต่างกัน ซึ่งเราอยากให้คุณเปลี่ยนมุม มองใหม่ แล้วคุณจะพบกับความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง หลอดไฟธรรมดา กับ LED อยากรู้ก็ตามมาดูรายละเอียดกับเรากันได้เลย 1. หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้เกือบ 6 เท่า เพราะหลอดไฟทั่วไปจะสามารถให้แสงสว่างอยู่ที่ประมาณ 10,000 ชั่วโมง แต่สำหรับ หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 60.000 ชั่วโมงกันเลยยิ่งคุณเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงสรุปได้เลยว่าอายุการใช้งานของหลอดไฟ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันมากเลยทีเดียว 2. หลอดไฟ LED ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้เกือบเท่าตัว ด้วยคุณสมบัติที่สามารถให้อัตราแสงสว่างที่สูงกว่าหลอดไฟทั่วไป ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังให้แสงสว่างที่มีคุณภาพ มีอัตราการกระพริบที่สูง เป็นแสงสีขาวแท้ ช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แสงได้อย่างมีคุณภาพ สบายตา และไม่ต้องกังวลใจกับยอดค่าไฟในแต่ละเดือน 3. หลอดไฟ LED ปลอดภัยกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป เพราะไม่มีทั้งรังสียูวี ที่จะทำร้ายผิวของคุณ หรือจะเป็นการระบายความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นอย่างหลอดไฟทั่วไป ไม่มีสารพิษในหลอดไฟอย่างพวกสารปรอท เป็นหลอดไฟที่ปลอดภัยต่อคนใช้งานได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว หลอดไฟชนิดนี้นอกจากปลอดภัยต่อผู้ใช้งานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลร้ายต่อโลกของเราอีกด้วย เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง หลอดไฟ LED กับ หลอดไฟธรรมดาทั่วไป ทั้งในแง่ของความทันสมัยและคุณสมบัติ แบบนี้คุณยังจะลังเลใจในการเลือกใช้งานเพื่อให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าและให้แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพกับคุณอีกเหรอ อย่ารอช้าอีกเลยในการเลือกสรรหลอดไฟที่ดีที่สุดให้คุณได้ใช้งานกัน เพื่อให้คุณได้พบกับมิติใหม่ของแสงสว่าง ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพกันอย่างแท้จริง ดีทั้งประสิทธิภาพและดีกับสุขภาพของผู้ใช้งานอีกด้วย เป็นหลอดไฟที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างพึงพอใจสูงสุด อยากให้คุณเปิดใจและรับความนำสมัยของหลอดไฟ…
ชินเพาเวอร์ ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและขายโคมไฟไฮเบย์(โคมไฟสำหรับโรงงาน) , โคมไฟถนน , โคมไฟฟลัดไลท์ รวมถึงโคมไฟกันระเบิดและโคมไฟที่คุณอาจสนใจอีกมากมาย ขอแนะนำกฎหมายเกี่ยวกับความเข้มของแสงสว่าง (ค่าลักซ์ Lux) อ้างอิงตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ซึ่งใน หมวด 2 เกี่ยวกับแสงสว่างกฎหมายระบุไว้ว่า ข้อ ๔ นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด ต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยให้คำแนะนำและออกแบบแสงสว่างให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย? ปรึกษาฟรี! กดติดต่อเราได้ทันที ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561) ค่าลักซ์ (Lux) คือค่าความเข้มของแสงสว่าง (Illuminance) บนหน้างานมีหน่วยเป็นลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในกฎหมายแสงสว่างนั้นระบุค่าความต้องการแสงสว่างเป็นค่าเฉลี่ยของค่าลักซ์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่นั้นๆ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมีการกำหนดค่าความสว่างดังนี้ ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ลานจอดรถ ทางเดิน บันได : 50 ลักซ์ ป้อมยาม : 50 ลักซ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา : 100 ลักซ์ โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร : 100 ลักซ์ ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย : 300 ลักซ์ ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า) คลังสินค้า (Warehouse) : 200 ลักซ์…