0
สินค้าที่บันทึกใว้

วิธีการแบ่งพื้นที่อันตราย Zone 1 Vs Zone 2 สำหรับการใช้โคมไฟกันระเบิด

ATEX โคมไฟกันระเบิด ความรู้
การจำแนกพื้นที่เสี่ยงกันระเบิด

พื้นที่อันตราย (Hazardous area) คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการรั่วไหลของก๊าซ ไอระเหยของสารไวไฟ หรือฝุ่น ที่ออกมา ทำให้มีโอกาสระเบิด หรือติดไฟ จำเป็นต้องมีการใช้โคมไฟกันระเบิด ในพื้นที่นั้นๆ

ตัวอย่างพื้นที่อันตราย
1. โรงกลั่นน้ำมัน (ก๊าซ ไอระเหย)
2. โรงงานปิโตรเคมี (ก๊าซ ไอระเหย)
3. พื้นที่พ่นสี (ก๊าซ ไอระเหย)
4. พื้นที่เก็บสารเคมี (ก๊าซ ไอระเหย)
5. พื้นที่เก็บถ่านหิน (ฝุ่น)
6. โรงงานแป้งมันสำปะหลัง (ฝุ่น)
7. โรงงานทอผ้า (เส้นใย)
8. โรงงานเฟอร์นิเจอร์ (ฝุ่น)

Explosionproof-zone-division-IEC-NEC

บริเวณอันตรายจะถูกจำแนกตามความเสี่ยงหรือโอกาสในการระเบิดของแต่ละพื้นที่ โดยมีการแบ่งบริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) และ NEC (อเมริกา) ดังนี้
บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) นั้นจะแบ่งเป็น
1. พื้นที่เสี่ยงสูงมาก โซน Zone 0
2. พี่นที่เสี่ยงสูง โซน Zone 1
3. พื้นที่เสี่ยงต่ำ โซน Zone 2

บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน NEC (อเมริกา) นั้นจะแบ่งเป็น
1. พื้นที่เสี่ยงสูง Division 1
2. พื้นที่เสี่ยงต่ำ Division 2

การแบ่งพื้นที่อันตราย zone 1 2 Division 1 2

หลักเกณฑ์การแบ่งพื้นที่เสี่ยง (Hazardous Area Classification)

พื้นที่โซน 0 (Zone 0 Area)
พื้นที่ที่มีก๊าซหรือไอระเหยที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดระเบิดได้ อยู่มากกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ มากกว่า 10% ของเวลา และ สถานการณ์เลวร้ายที่สุดของพื้นที่นี้คือ มีสสารไวไฟอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่านี่จะเป็นกรณีที่เลวร้ายที่สุด แต่ทว่าเป็นเรื่องยากมากที่โซน 0 จะเป็นระบบเปิด และแทบจะไม่มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่นี้

พื้นที่โซน 1 (Zone 1 Area)
พื้นที่โซน 1 คือบริเวณที่ในภาวะการทำงานปกติ อาจมีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดระเบิดได้ หรือบริเวณที่มีสสารอันตรายปรากฏขึ้นระหว่าง 10 – 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือ 0.1 – 10 % ของเวลา ต้องใช้อุปกรณ์กันระเบิด Zone 1 หรือ 21 เท่านั้น

พื้นที่โซน 2 (Zone 2 Area)
สถานที่ซึ่งในภาวะการทำงานปกติ เกือบจะไม่มีก๊าซหรือไอที่มีความเข้มข้นพอที่จะเกิดระเบิดได้ หรือหากมีการรั่วไหลจะมีก๊าซจะมีช่วงเวลาสั้นเท่านั้น สำหรับแนวทางการพิจารณาโดยทั่วไปนั้น บริเวณนี้จะมีวัตถุไวไฟปรากฏได้ไม่เกิน 10 ชั่วโมงต่อปี หรือ 0 – 0.1 % ของเวลา หรือเป็นพื้นที่เสี่ยงที่อยู่ติดกับพื้นที่เสี่ยงโซน 1

ตามคำจำกัดความของบริเวณอันตรายนั้นจะไม่ได้เรียกว่าพื้นที่เสี่ยงสูงมาก สูง และเสี่ยงน้อย แต่เพื่อการอธิบายให้เข้าใจง่าย เราจึงขอใช้คำเหล่านี้ในการอธิบายแทน
จะสามารถสรุปได้ว่า

Zone 1 / Division 1 เสี่ยงสูง
Zone 2 / Division 2 เสี่ยงต่ำ

ดังนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำไปใช้ในพื้นที่อันตรายนั้นจะต้องมีการป้องกันการระเบิด ตามพื้นที่ซึ่งจำแนกตามความเสี่ยงที่ต่างกัน จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์กันระเบิดที่สามารถใช้ในพื้นที่เสี่ยงสูง Zone 1 หรือ Division 1 จะมีราคาสูงกว่า อุปกรณ์กันระเบิดที่ใช้ในพื้นที่เสี่ยงต่ำ Zone 2 หรือ Division 2

อย่างไรก็ดีการจำแนกบริเวณอันตรายนั้น ยังต้องจำแนกถึงประเภทของสารอันตรายด้วย ซึ่งจะแบ่งเป็น
1. กลุ่มก๊าซ หรือ ไอระเหย (Gas Group IIA IIB IIC)
2. กลุ่มฝุ่นระเบิด
3. กลุ่มเส้นใย

การจำแนกพื้นที่เสี่ยงกันระเบิด zone 1 2

ตัวอย่างที่ 1

ในบริเวณถังผสมสารเคมีนั้นเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงมาก Zone 0
และถังผสมสารเคมีไม่มีฝาปิดพื้นที่ในห้องทั้งหมดจะเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง Zone 1 เนื่องจากก๊าซ หรือไอระเหยของสารในถังนั้นสามารถกระจายไปได้ทั่วห้องตลอดเวลาทำงาน อุปกรณ์ไฟฟ้า และโคมไฟที่ใช้ในพื้นที่นี้จะต้องเป็นโคมไฟกันระเบิด zone 1 เท่านั้น


การจำแนกโซนกันระเบิด

ตัวอย่างที่ 2

ในบริเวณถังผสมสารเคมีนั้นเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงมาก Zone 0
เรามีการกั้นห้องแยกพื้นที่ในส่วนซ้ายสำหรับถังผสมแยกกับพื้นที่ห้องด้านขวาเพิ่มจากตัวอย่าง 1 ทำให้พื้นที่ในห้องที่มีถังผสมด้านซ้ายถูกจำแนกเป็นเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง Zone 1 เนื่องจากก๊าซ หรือไอระเหยของสารในถังนั้นสามารถกระจายไปได้ทั่วห้องตลอดเวลาทำงาน
แต่พื้นที่ห้องฝั่งขวานั้นจะถูกจำแนกเป็นพื้นเสี่ยงน้อย Zone 2 แทน

โดยในตัวอย่างนี้เราจำเป็นต้องใช้โคมกันระเบิด zone 1 สำหรับพื้นที่ห้องด้านซ้าย แต่เราสามารถใช้เพียงโคมกันระเบิด zone 2 สำหรับห้องด้านขวาได้


วิธีการพื้นโซนพื้นที่กันระเบิด

ตัวอย่างที่ 3

ในบริเวณถังผสมสารเคมีนั้นยังคงเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงมาก Zone 0
ในตัวอย่างนี้มีการปิดฝาถังผสมสารเคมีพร้อมกับต่อท่อดูไอระเหยออกไปนอกห้อง
ทำให้พื้นที่ในห้องทั้งหมดถูกจำแนกเป็นพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ Zone 2 ทั้งห้อง เนื่องจากไม่มีไอระเหยออกมาในห้องในช่วงเวลาทำงานปกติ จึงสามาถใช้อุปกรณ์กันระเบิด / โคมไฟกันระเบิดแบบ zone 2 ในการติดตั้งในพื้นที่นี้ก็เพียงพอแล้ว


Hazardous-Locations

ตัวอย่างที่ 4

บริเวณสถานีจ่ายก๊าซธรรมชาติ (NGV และ LPG) จำเป็นต้องใช้โคมไฟกันระเบิด จากในรูปตัวอย่างนั้นจะเห็นได้ว่าพื้นที่ถังเก็บก๊าซฯใต้ติดในปั้มแก็สและถังแก็สในรถขนส่งนั้นถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่เสี่ยง zone 0 เนื่องจากมีก๊าซที่มีความเสี่ยงที่จะระเบิดได้ตลอดเวลา

ในขณะที่จุดต่อ และจุดที่เป็นหัวจ่ายก๊าซนั้น เป็นจุดที่มีความเสี่ยงที่จะมีก๊าซอยู่บ้างในการทำงานปกติ จึงถูกจัดให้เป็นพื้นที่ความเสี่ยง zone 1
ตำแหน่งติดตั้งโคมไฟของสถานีจ่ายก๊าซฯนั้นถึงเป็นพื้นที่ ที่ติดต่อกับพื้นที่เสี่ยง zone 1 เลยถูกจัดให้เป็นพื้นที่เสี่ยง zone 2 ดังนั้นโคมไฟกันระเบิดที่จะต้องนำมาติดตั้งในสถานีจ่ายก๊าซฯ หรือปั้มแก็สนั้นเป็นโคมไฟกันระเบิด zone 2 ก็เพียงพอ

 


จะเห็นได้ว่าพื้นที่หน้างานเดียวกัน สารเคมีประเภทเดียวกันนั้นไม่จำเป็นว่า จะถูกจำแนกเป็นพื้นที่เสี่ยงระดับเดียวกัน การจำแนกพื้นที่เสี่ยงนั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบห้อง การระบายอากาศ และการจำกัดสารเคมีให้อยู่ในพื้นที่จำกัด


หากคุณกำลังมองหาโคมไฟไฮเบย์ ไฟถนน ไฟสนามฟุตบอล สามารถเลือกสรรได้บนเว็บไซต์ Chinpower

บทความอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

โคมไฟถนน ความรู้

‘โคมไฟถนนสาธารณะ’ ต้องเลือกอย่างไรถึงได้ของดีมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย?

สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วย…