0
สินค้าที่บันทึกใว้

ประเภทของหลอดไฟชนิดต่างๆ

โคมไฟไฮเบย์ LED Tube ความรู้ เทคโนโลยี
ประเภทของหลอดไฟ

   หลอดไฟนั้นถูกคิดค้นขึ้นเมื่อในช่วงศตวรรตที่ 1800 หรือกว่า 140 ปีมาแล้ว หลอดไฟแบบแรกนั้นเป็นต้นแบบของหลอดไฟที่เรียกว่าหลอดไส้ หรือหลอด Incandescent ที่ยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน หลังจากการประดิษฐ์หลอดไฟหลอดแรกขึ้นมาได้นั้น โลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อมนุษย์สามารถมีแสงสว่างในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องใช้เทียนไขอีกต่อไป หลังจากนั้นหลอดไฟก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ โดยมีจุดประสงค์หลักที่จะทำให้หลอดไฟนั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น หรือเรียกง่ายๆคือทำให้หลอดไฟประหยัดไฟมากขึ้น และให้แสงสว่างเพิ่มมากขึ้น โดยประเภทของหลอดไฟนั้นจะสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 3 กลุ่มเทคโนโลยี คือ 1. หลอดไส้ (Incandescent) 2. หลอดก๊าซคายประจุ (Gas Discharge) 3. หลอดคายประจุสถานะแข็ง (Solid State Discharge)

หลอดไฟประเภทที่ 1 : เผาไส้ให้ร้อน (Incandescent) 

     หลอดไฟประเภทนี้ใช้หลักการทำให้เกิดแสงสว่างโดยการปล่อยกระแสไฟผ่านไส้หลอด ทำให้ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะร้อนและเปล่งแสงสว่างออกมาได้ เป็นหลอดไฟที่ไม่ซับซ้อนและถูกใช้กันอย่างแพระหลายในช่วงเกือบ 100 ปีแรกของวิวัฒนการการของหลอดไฟ

    1.1 หลอดไส้ Incandescent

           ส่วนมากใช้ไส้หลอดที่ทำมากจากทังสเตน (Tungsten Filament) เพื่อเป็นชิ้นส่วนหลักที่เมื่อกระแสไฟไหลผ่านแล้วจะทำให้อุณหภูมืที่ตัวไส้หลอดสูงขึ้นและทำให้เกิดแสงสว่างออกมา โดยหลอดไส้จะมีข้อดีคือสามารถให้ค่าความถูกต้องของสีได้ดีมาก หรือ CRI = 100 เมื่อนำหลอดไฟประเภทหลอดไส้ไปส่องวัตถุใดๆแล้วเราจะสามารถเห็นสีสันของวัตถุนั้นได้สดใสและสมจริงๆมากๆ ถึงแม้ว่าแสงที่ปรากฎหรืออุณหภูมิสี (CCT) ของหลอดไส้จะออกไปทางสีเหลืองอมส้ม (CCT = 2700K) ก็ตาม

          อย่างไรก็ดีอายุการใช้งานของหลอดไส้นั้นค่อนข้างต่ำ มีอายุเพียง 1,000 ชม. และขาดง่าย กินไฟมาก มีค่าประสิทธิภาพ (Efficacy) ต่ำมาก เพียง 10-15 ลูเมนต่อวัตต์ และยังปล่อยความร้อนออกมาค่อนข้างมาก แต่หลอดไฟประเภทนี้มีราคาถูก

   1.2 หลอดฮาโลเจน Halogen

         หลอดไฟฮาโลเจนนั้นเป็นหลอดที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากหลอดไส้ และยังถึงว่ายังเป็นหลอดที่อยู่ในประเภทหลักหรือปรเภทหลอดไส้อยู่ โดยนักพัฒนาได้ทำการเติมสารกุล่มฮาโลเจน (เมทิลีนโบรไมด์) เข้าไปในหลอดไส้ เพื่อช่วยลดการระเหิดของขดลวดทังสเตน และเป็นการเพิ่มอายุการใช้งานของหลอดไส้ให้ยาวนานขึ้นจาก 1,000 ชม. เป็น 3,000 ชม. โดยยังคงข้อดีต่างๆของหลอดไส้ไว้ทั้งหมด เช่น มีค่าความถูกต้องของสีดีมาก (CRI = 100) และสามารถเปิดติดได้ทันที โดยไม่ต้องรอวอร์มหลอด

หลอดไฟประเภทที่ 2 : หลอดก๊าซคายประจุ (Gas Discharge) 

หลอดที่ให้กำเนิดแสงโดยใช้วิธีการปล่อยกระแสไฟไปกระตุ้นอะตอมของก๊าซ (ลูมิเนสเซนต์) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทย่อย คือ หลอดคายประจุความดันต่ำ (Low-pressure Discharge Lamps) และหลอดคายประจุความดันสูง (High-pressure Discharge Lamps) หรือที่เรียกว่า หลอดคายประจุความเข้มสูง (High Intensity Discharge Lamps: HID lamps) ซึ่งหลอดบรรจุก๊าซแต่ละประเภทยังอาจแบ่งได้เป็นหลายชนิด ดังต่อไปนี้

2.1 หลอดก๊าซคายประจุความดันไอต่ำ 

2.1.1 หลอดฟลูออเรสเซ็นต์ (Fluorescent Lamp) 

เป็นหลอดไฟ ที่ได้รับความนิยมมากในช่วง 10-30 ปีที่ผ่านมา มีหลักการส่องสว่างคือ ให้กระแสอิเลคตรอน วิ่งชนไอโลหะและก๊าซเฉื่อย ที่อยู่ภายในหลอด ทำให้เกิดแสง UV ขึ้นมา แต่เนื่องด้วยตามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นแสง UV ได้ดังนั้นจึงต้องมีการเคลือบสารบนผิวหลอดที่เรียนว่า สารฟลูออเรสเซ็นต์ เมื่อแสง UV มากระทบสารเคลือบที่ข้างหลอด จึงทำให้เกิดการเรืองแสงที่มนุษย์มองเห็นได้ออกมา โดยหลอดประเภทนี้สามารถเลือกสีของแสงหรืออุณหภูมิสี (CCT) ได้จากการผสมสารฟลูออเรสเซ็นต์ที่เคลือบหลอดด้วยสูตรและส่วนผสมภายในที่ต่างกันก็ทำให้สีของแสงที่เปล่งออกมานั้นต่างกัน ทำสีได้ตั้งแต่ช่วง 2700K-6500K หรือตั้งแต่สีเหลืองจนไปถึงสีขาวได้เลย 

หลอดประเภทนี้มีจุดเด่นตรงที่มีอายุการใช้งานยาวนานถึง 8,000-15,000 ชม. และยังมีประสิทธิภาพที่สูงถึง 50-90 ลูเมนต่อวัตต์อีกด้วย แต่ก็แลกมาด้วยข้อเสียอย่างนึงคือมีปรอทซึ่งเป็นสารอันตรายบรรจุอยู่ภายในหลอด ทำให้ต้องถูกกำจัดอย่างถูกวิธีเท่านั้น

   หลอดไฟฟลูออเรสเซ็นต์ถูกผลิตออกมาในหลายหลายรูปแบบเช่น หลอดทรงยาว (Tubular Fluorescent) ประเภท T10 T8 T5 ที่เราใช้กันทั่วไปตามบ้านที่เป็นหลอดนีออนยาว 1.2 เมตรและ 0.6 เมตร หรือในอีกรูปแบบหนึ่งที่เอาหลอดฟลูออเรสเซ็นต์ทรงยาวนั้นมาดัดแปลงโดยการขดเป็นเกลียวให้มีขนาดเล็กลงเพื่อนำมาใช้แทนหลอดไส้ (Incandescent) ให้อยู่ในรูปแบบของขั้วเกลียว E14 E27 ที่เราเรียนกันว่าหลอดคอมแพคฟลูออเราเซ็นต์ (CFL : Compact Fluoresecent) หรือมีชื่อเล่นว่าหลอดตะเกียบนั้นเอง โดยหลอดตะเกียบ (CFL) นั้นมีบัลลสาต์อยู่ภายใน แต่ก็จะมีหลอดที่คล้ายกับหลอดตะเกียบแต่เป็นรุ่นที่ใช้บัลลาสต์ภายนอก ที่เรียกว่าหลอด Plug light เมื่อบัลลาสต์อยู่ภายนอกตัวหลอดก็จะมีอายุยาวนานมากขึ้น เอาไว้ใช้กับหน้างานที่ต้องเปิดไฟ12-24ชม.ต่อวัน เช่นโรงพยาบาล หรือห้างสรรพสินค้า  

2.1.2 หลอดโซเดียมค่าดันไอต่ำ (Low Pressure Sodium) 

ภายในบรรจุโซเดียม นีออน และอาร์กอน ให้แสงสีเหลืองเข้มอมแดง (CCT 1,700K) ใช้หลักการให้กระแสอิเลคตรอนวิ่งชนก๊าซที่บรรจุภายในหลอด เพื่อให้เกิดการเปล่งแสงขึ้น หลอดประเภทนี้เป็นหลอดที่มีค่าประสิทธิภาพสูงสุดในบรรดาหลอดไฟแบบต่างๆ ที่ไม่ใช้หลอด LED มีประสิทธิภาพสูงถึง 140-190 ลูเมนต่อวัตต์ แต่ต้องแลกมาต้องค่าความถูกต้องของสี (CRI) ที่ติดลบ นิยมในไปใช้ในการส่องสว่างถนน หรือพื้นที่ภายนอกที่ห่างไกล แต่ในปัจจุบันมีการใช้งานน้อยลงไปเรื่อยๆ อันเนื่องมากจากค่าความถูกต้องของสีที่น้อยจนเกินไป

2.2 หลอดก๊าซคายประจุความดันไอสูง

2.2.1 หลอดไอปรอทความดันสูง  (High Pressure Mercury Vapor  Lamp) หรือหลอดแสงจันทร์

เป็นหลอดรุ่นแรกๆของหลอดในกลุ่มที่ให้ความสว่างสูงเพื่อใช้สำหรับติดตั้งในที่สูงเช่น โรงงาน หรือคลังสินค้า ทำงานโดยใช้ไฟฟ้าแรงสูง กระโดดผ่านไอปรอทที่อยู่ในหลอดเพื่อให้เกิดแสงสว่าง, โครงสร้างจะประกอบด้วยหลอดแก้วควอตซ์ขนาดเล็ก ซึ่งบรรจุไอปรอทและขั้วไฟฟ้า ครอบด้วยหลอดแก้วบอโรซิลิเกตขนาดใหญ่ ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันความร้อน และปิดกั้นรังสีเหนือม่วง (UV) ที่เปล่งออกมาจากไอปรอทพร้อมกับแสง

หลอดไฟประเภทนี้มีสีของแสงที่เป็นสีขาวอมเหลือง หรือขาวนวล ซึ่งมีสีคล้ายกับแสงพระจันทร์คนไทยจึงนิยมเรียกว่าหลอดแสงจันทร์ มีค่า CCT อยู่ที่ 3,500-4,500K หลอดไฟแสงจันทร์นั้นจะต้องมีการอุ่นหลอด 4-10 นาทีเพื่อให้หลอดสามารถสว่างได้เต็มที่

2.2.2 หลอดเมทัลฮาไลด์ (Metal Halide Lamp)

     หลอดนี้ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากหลอดไอปรอทหรือหลอดแสงจันทร์ โดยการใส่ก๊าซกลุ่มฮาไลด์เข้าไปในตัวหลอดเพื่อ 1. เพื่มประสิทธิภาพการส่องสว่าง และ 2. ยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น 3. ให้ค่าความถูกต้องของสีที่ดีขึ้น หลอดเมทัลฮาไลด์เป็นหลอดที่ถูกนิยมใช้มากในสำหรับโคมไฟที่ติดตั้งที่สูงตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป หากเป็นโคมไฟที่ติดตั้งที่สูงและหลอดไฟมีสีของแสง ขาวอมเหลือง (4000K) หรือแสงขาว (6500K) เราสามารถเดาได้ว่าหลอดไฟที่ติดตั้งอยู่ภายในโคมนั้นมากกว่าร้อยละ 80 น่าจะเป็นหลอดเมทัลฮาไลด์

หลอดเมทัลฮาไลด์มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง 75-110 ลูเมนต่อวัตต์ มีค่าความถูกต้องของสีปานกลางถึงดี (CRI 60-80) อายุการใช้งาน 16,000-20,000 ชม.

2.2.3 หลอดโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium Lamp)

หลอดไฟที่เราเห็นตามถนนหลวงทุกวันนี้ที่ออกเป็นสีเหลืองอมส้มนั้น หลอดไฟที่ใช้อยู่ภายในโคมล้วนเป็นหลอดโซเดียมความดังสูงทั้งสิ้น ภายในหลอดบรรจุก๊าซกลุ่มโซเดียมซึ่งเป็นตัวที่ทำให้แสงของหลอดประเภทนี้ออกมาเป็นสีเหลืองอมส้ม (ไม่สามารถทำเป็นแสงโทนสีขาวได้) หลอด High Pressure Sodium นั้นมีค่าประสิทธิภาพที่สูงมาก 80-140 ลูเมนต่อวัตต์ แต่มีค่าความถูกต้องของสีต่ำ ประมาณ CRI 25 (แต่ก็ยังสูงกว่าหลอด Low Pressure Sodium) ดังนั้นหลอดประเภทนี้จึงนิยมไปติดตั้งเพื่อส่องสว่างถนน ทางด่วนหรือพื้นที่ภายนอก ลานกว้าง สนามกีฬาต่างๆ ที่ต้องการความสว่างแต่ไม่ได้ต้องการค่าความถูกต้องของสีที่มากนัก

 

หลอดไฟประเภทที่ 3 : หลอดคายประจุสถานะแข็ง (Solid State Discharge)

3.1 หลอดไดโอดเปล่งแสง (LED : Light Emitting Diode)

           หลอด LED เป็นหลอดไฟที่มีเทคโนโลยีใหม่ที่สุดและมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน หลอดไฟ LED คือ ไดโอดที่มีการปล่อยกระแสไฟผ่านสารกึ่งตัวนำสองชนิด (สารกึ่งตัวนำ P และสารกึ่งตัวนำ N) เมื่อกระแสไฟไหลผ่านจุดต่อเชื่อมระหว่างสารกึ่งตัวนำทั้งสอง (P-N Junction) ก็จะเกิดการปล่อยแสงสว่างออกมา โดยที่หลอด LED แสงโทนสีขาว (CCT : 3000K-6500K) ที่เอาใช้ในการส่องสว่างทั่วไปนั้น เป็นการใช้หลอดไฟ LED แสงสีฟ้ามาเป็นต้นกำเนิดแสงและมีการเคลือบสารฟรอตเฟอส์ (Phosphor) เพื่อเปลี่ยนแสงสีฟ้า ให้กลายเป็นแสงโทนสีขาว วิธีการนี้เป็นการทำให้เกิดแสงสีขาวที่ประสิทธิภาพสูงที่สุดและยังทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีที่สุดอีกด้วย 

         หลอดไฟ LED นั้นมีจุดเด่นที่ดีกว่าหลอดไฟแบบดังเดิมชนิดอื่นๆ แบบหาจุดด้อยแทบจะไม่ได้ เช่น ประสิทธิภาพการส่องสว่างสูง ความความถูกต้องของสีสูง เปิดติดได้ทันที อายุการใช้งานนาน แต่ข้อควรระวังคือ เนื่องด้วยผู้ผลิตในปัจจุบันพยายามทำให้ราคาของหลอดไฟ LED นั้นต่ำลงอย่างมากจึงจำเป็นต้องลงคุณภาพของวัตถุดิบให้ต่ำลงด้วย ดังนั้นหลอดไฟ LED บางรุ่น บางยีห้อ อาจจะมีอายุการใช้งานที่ต่ำกว่าหลอดไฟแบบดังเดิมก็เป็นได้

ในอดีตมากกว่า 40 ปีก่อนมีนักประดิษฐ์ได้คิดค้นหลอดไฟ LED แสงสีแดงขึ้นและมีการใช้อย่างแพร่หลายในการนำมาทำเป็นไฟแสงสถานะที่มีการกินไฟต่ำแต่ก็ให้แสงได้น้อย เช่นหลอดไฟแสงสถานะของทีวี วิทยุ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่าๆ แต่หลอดไฟ LED แสงสีแดงนั้นก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะให้แสงสว่างมากเพียงพอมาใช้ในการส่องสว่างแทนหลอดไฟแบบดังเดิม

หากคุณกำลังมองหาโคมไฮเบย์ โคมไฟสนาม โคมไฟถนน โคมไฟกันระเบิด สามารถเลือกสรรได้บนเว็บไซต์ Chinpower

บทความอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

โคมไฟถนน ความรู้

‘โคมไฟถนนสาธารณะ’ ต้องเลือกอย่างไรถึงได้ของดีมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย?

สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วยโคมไฟถนนสาธารณะ LED แสงสีขาวที่มอบความสว่างชัดเจนยามค่ำคืนแล้วเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างโครงการ อาทิเช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เริ่มโครงการเปลี่ยนโคมไฟทางหลวงทั่วประเทศจำนวนกว่า 3 ล้านหลอดมาใช้เป็นแบบ LED หรือการที่บรรดาโครงการบ้านจัดสรรใหม่ ๆ ก็ได้เปลี่ยนมาใช้โคมไฟถนนสาธารณะ LED นั่นคือเหตุผลที่เราจะพาผู้อ่านไปเข้าใจว่าโคมไฟทางหลวงแอลอีดีมีประโยชน์อย่างไร คุ้มค่ากับการเป็นเจ้าของหรือไม่ รวมถึงควรพิจารณาสิ่งใดบ้างหากต้องเลือกมาใช้งาน – โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? – 3 สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกโคมไฟถนนสาธารณะ LED – โคมไฟถนนสาธารณะเป็นมากกว่าแสงสว่างยามค่ำคืน   โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? รู้หรือไม่ว่า? โคมไฟถนนสาธารณะที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium) หรือหลอดโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium) ซึ่งให้แสงสว่างสีส้มนั้น ปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าโคมไฟถนน LED อย่างชัดเจน เช่น 1. ค่าความถูกต้องของสี CRI ต่ำมาก ส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ใช้รถใช้ถนน 2. หลอดทั้งสองชนิดนี้ต้องใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ ที่กินไฟเพิ่มขึ้นมา 20-50 วัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดต้นทุนแฝงในค่าไฟฟ้า 3. หลอดทั้งสองชนิดนี้มีอัตราการลดลงของแสงสูง เพราะเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว ความสว่างของโคมไฟถนนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ให้ความสว่างมากเฉพาะช่วงแรก ๆ ที่เปลี่ยนหลอดใหม่เท่านั้น จะเห็นได้ว่าถนนบางแห่งมืดมาก แม้โคมไฟจะเปิดใช้งานอยู่ก็ตาม 4. อายุการใช้งานต่ำ เฉลี่ย 20,000 ชั่วโมง ทำให้ต้องบำรุงรักษาและเปลี่ยนหลอดบ่อย อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของโคมไฟทางหลวงที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูงและหลอดโซเดียมความดันต่ำ จะไม่มีอยู่ในโคมไฟถนนสาธารณะ LED ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นั่นจึงทำให้เราเห็นว่าทั้งภาครัฐและเอกชนได้เลือกติดตั้งไฟถนนสาธารณะ LED เนื่องจากมีข้อดีและมอบประโยชน์ต่อคนใช้รถใช้ถนนที่มากกว่า ดังนี้ – ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 60-80% โคมไฟถนนสาธารณะ LED…

ความรู้ เทคโนโลยี

3 ข้อแตกต่างระหว่างหลอดไฟ LED กับหลอดไฟทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีไว้สำหรับให้ช่างไฟรู้ หรือเป็นทักษะเฉพาะด้านเพียงเท่านั้น จริง ๆ คนทั่วไปอย่างเรา ๆ ก็สามารถเรียนรู้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปิดโลกทัศน์และสามารถเลือกนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญหากคุณมีความรู้ก็จะสามารถเลือกใช้งานให้ได้รับความคุ้มค่าและได้รับประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับหลอดไฟ บางคนคิดว่าหลอดไฟที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มันก็เหมือน ๆ กันหมดนั่นแหละ ให้แสงสว่างเหมือน ๆ กัน ซึ่งความจริงแล้วมันแตกต่างกัน ซึ่งเราอยากให้คุณเปลี่ยนมุม มองใหม่ แล้วคุณจะพบกับความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง หลอดไฟธรรมดา กับ LED อยากรู้ก็ตามมาดูรายละเอียดกับเรากันได้เลย 1. หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้เกือบ 6 เท่า เพราะหลอดไฟทั่วไปจะสามารถให้แสงสว่างอยู่ที่ประมาณ 10,000 ชั่วโมง แต่สำหรับ หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 60.000 ชั่วโมงกันเลยยิ่งคุณเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงสรุปได้เลยว่าอายุการใช้งานของหลอดไฟ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันมากเลยทีเดียว 2. หลอดไฟ LED ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้เกือบเท่าตัว ด้วยคุณสมบัติที่สามารถให้อัตราแสงสว่างที่สูงกว่าหลอดไฟทั่วไป ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังให้แสงสว่างที่มีคุณภาพ มีอัตราการกระพริบที่สูง เป็นแสงสีขาวแท้ ช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แสงได้อย่างมีคุณภาพ สบายตา และไม่ต้องกังวลใจกับยอดค่าไฟในแต่ละเดือน 3. หลอดไฟ LED ปลอดภัยกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป เพราะไม่มีทั้งรังสียูวี ที่จะทำร้ายผิวของคุณ หรือจะเป็นการระบายความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นอย่างหลอดไฟทั่วไป ไม่มีสารพิษในหลอดไฟอย่างพวกสารปรอท เป็นหลอดไฟที่ปลอดภัยต่อคนใช้งานได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว หลอดไฟชนิดนี้นอกจากปลอดภัยต่อผู้ใช้งานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลร้ายต่อโลกของเราอีกด้วย เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง หลอดไฟ LED กับ หลอดไฟธรรมดาทั่วไป ทั้งในแง่ของความทันสมัยและคุณสมบัติ แบบนี้คุณยังจะลังเลใจในการเลือกใช้งานเพื่อให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าและให้แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพกับคุณอีกเหรอ อย่ารอช้าอีกเลยในการเลือกสรรหลอดไฟที่ดีที่สุดให้คุณได้ใช้งานกัน เพื่อให้คุณได้พบกับมิติใหม่ของแสงสว่าง ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพกันอย่างแท้จริง ดีทั้งประสิทธิภาพและดีกับสุขภาพของผู้ใช้งานอีกด้วย เป็นหลอดไฟที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างพึงพอใจสูงสุด อยากให้คุณเปิดใจและรับความนำสมัยของหลอดไฟ…

ความรู้ เทคโนโลยี

กฎหมายค่ามาตรฐานความเข้มแสงสว่าง (Lux Output Level) 2568

ชินเพาเวอร์ ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและขายโคมไฟไฮเบย์(โคมไฟสำหรับโรงงาน) , โคมไฟถนน , โคมไฟฟลัดไลท์ รวมถึงโคมไฟกันระเบิดและโคมไฟที่คุณอาจสนใจอีกมากมาย ขอแนะนำกฎหมายเกี่ยวกับความเข้มของแสงสว่าง (ค่าลักซ์ Lux) อ้างอิงตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ซึ่งใน หมวด 2 เกี่ยวกับแสงสว่างกฎหมายระบุไว้ว่า ข้อ ๔ นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด ต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยให้คำแนะนำและออกแบบแสงสว่างให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย? ปรึกษาฟรี! กดติดต่อเราได้ทันที ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561) ค่าลักซ์ (Lux) คือค่าความเข้มของแสงสว่าง (Illuminance) บนหน้างานมีหน่วยเป็นลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในกฎหมายแสงสว่างนั้นระบุค่าความต้องการแสงสว่างเป็นค่าเฉลี่ยของค่าลักซ์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่นั้นๆ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมีการกำหนดค่าความสว่างดังนี้ ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ลานจอดรถ ทางเดิน บันได :  50 ลักซ์ ป้อมยาม :  50 ลักซ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา :  100 ลักซ์ โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร :  100 ลักซ์ ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย : 300 ลักซ์ ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า) คลังสินค้า (Warehouse) : 200 ลักซ์…