หลอดไฟ LED Tube คือหลอดไฟ LED ที่รูปร่างคล้ายกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์เดิม มีขนาดความยาว และประเภทของขั้วหลอดไฟเหมือนเดิม ซึ่งคือขั้วแบบ G13 และมีความยาว 2 ขนาดคือ T8 ยาว 1.2 เมตร และยาว 0.6 เมตร ดังนั้นโดยทางกายภาพแล้วหลอดไฟ LED Tube T8 นั้นสามารถนำไปเปลี่ยนแทนหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเดิมได้เลย
แต่วงจรการต่อหลอดไฟ LED Tube T8 นั้นจะไม่เหมือน วงจรการต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเดิม ดังนันเพื่อให้สามารถใช้งานหลอดไฟ LED Tube T8 ในโคมไฟเดิมได้นั้น จะต้องมีการโมดิฟาย หรือมีขั้นตอนการต่อวงจรใหม่เล็กน้อยเพื่อให้หลอดไฟ LED Tube T8 ใหม่นั้นสามารถใช้งานกับโคมไฟเดิมได้
ก่อนอื่นทางเราขออธิบายวงจรการต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบดังเดิมก่อนเพื่อปูพื้นฐานไปสู่การต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube T8 ในลำดับถัดไป
1. ต่อสายไฟ L เข้ากับบัลลาสต์แกนเหล็ก
2. ต่อสายไฟออกจากบัลลาสต์แกนเหล็ก เข้ากับขาหลอดด้านบนซ้าย
3. ต่อสายออกจากขาหลอดด้านล่างซ้าย เข้ากับ Starter
4. ต่อสายออกจาก Starter เข้ากับขาหลอดด้านล่างขวา
5. ต่อสายไฟ N เข้ากับหลอดด้านบนขวา
หลอดไฟ LED Tube T8 ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยใน จะมีรูปแบบวงจรภายในหลอด 2 ประเภทหลัก คือ
– เป็นวงจรภายในหลอดไฟที่มีไฟเข้า L และ N อยู่ฝั่งเดียวกันของขั้วหลอด
– เป็นวงจรหลักของหลอดไฟ LED Tube ยี่ห้อสากล เช่น Philips Toshiba และ Osram
– เป็นวงจรภายในหลอดไฟที่มีไฟเข้า L และ N อยู่คนละฝั่งของขั้วหลอด
*หมายเหตุ ในปัจจุบัน หลอดไฟยี่ห้อสากล บางรุ่นมีหลอดไฟ LED Tube ที่เป็นวงจรแบบ Double End ด้วยเช่นกัน
สามารถต่อวงจรในโคมไฟได้ 2 แบบ คือ
ถึงแม้ว่าจะเป็นหลอด LED Tube ที่มีวงจรภายในแบบเข้าข้างเดียวแต่ผู้ผลิตแนะนำให้มีการต่อวงจรที่โคมเป็นลักษณะเป็นไฟ L และ N เข้าคนละข้างอยู่ดี และทำการต่อสายเชื่อมขั้วหลอดด้านล่างเข้าด้วยกันดังสายสีเขียวตามรูป
ข้อดี – สามารถใส่หลอดไฟสลับฝั่งได้
ข้อเสีย – ใช้สายไฟเยอะกว่า
ต่อไฟ L และ N เข้าไปที่ขั้วหลอดด้านใดด้านหนึ่งเลย วิธีนี้ช่างหลายๆคนจะทำการต่อวงจรตามแบบที่ 2 นี้สำหรับหลอด LED Tube ที่เป็นแบบวงจรเข้าข้างเดียว (Single End) เนื่องจากมีการเขียนตัวอักษร L-N ไว้ที่หลอดด้านหนึ่ง แต่จริงๆแล้วทางผู้ผลิตนั้นไม่แน่นำให้ทำการต่อวงจรแบบนี้
ข้อดี – ใช้สายไฟน้อย
ข้อเสีย – หากใส่หลอดผิดด้าน อาจะทำให้หลอดไฟเสีย หรือเกิดไฟซ้อตได้
ดังนั้นผู้ผลิตหลอดไฟแบบ Single End ทุกเจ้าจึงแนะนำการต่อวงจรโคมไฟสำหรับหลอดไฟ LED Tube (Single End) แบบวิธีที่ 1.1 และไม่แนะนำให้ต่อวงจรแบบที่ 2
ต่อไฟตรงเข้าที่ขั้วหลอดทั้ง 2 ฝั่งแยกกัน โดยต่อสายไฟ L เข้าที่ฝั่งหนึ่งและทำการต่อสายไฟ N เข้าที่ฝั่งตรงข้าม แต่การใช้หลอดไฟแบบวงจรภายในหลอดเข้าสองข้าง (Double End) นั้นต้องระวังในเรื่องของความปลอดภัยระหว่างติดตั้ง จำเป็นต้องมีการปิดไฟหรือตัดไฟก่อนทำการเปลี่ยนหลอดไฟทุกครั้ง
1. ถอดหลอดไฟเดิมออกแล้วเปลี่ยนหลอดไฟ LED Tube T8 ใหม่แทนที่
2. ถอด Starter เดิมออก แล้วใส่ LED Starter / Dummy Starter / Protection Fuse แทน (ชื่อเรียกต่างกันตามแต่ละผู้ผลิต
1. ถอดหลอดไฟเดิมออกแล้วเปลี่ยนหลอดไฟ LED Tube T8 ใหม่แทนที่
2. ถอด Starter เดิมออก แล้วเปิดไฟได้เลย
1. ดูวงจรภายในหลอด ที่ข้างหลอดหรือข้างกล่องของหลอดไฟให้ดีกว่าเป็นหลอดประเภท 1. วงจรเข้าข้างเดียว (Single End) หรือ วงจรเข้าสองข้าง (Double End)
2. แนะนำให้ซื้อหลอดแบบวงจรภายในหลอดแบบเข้าข้างเดียว (Single End) เนื่องจากผ่านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล IEC 62776 ซึ่งเป็นแม่แบบของมาตรฐานมอก. 2779-2652 ซึ่งเกี่ยวกับหลอดแอลอีดีขั้วคู่ที่ออกแบบเพื่อเปลี่ยนทดแทน หลอดฟลูออเรสเซนซ์ชนิดตรง – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย
3. ถ้าเป็นการใช้งานตามบ้าน หรือเปิดไฟต่อวันไม่นานนัก แนะนำการต่อวงจรแบบ 4 หรือ แบบ 5 ขึ้นอยู่กับประเภทวงจรของหลอดไฟที่ซื้อ
4. หากเป็นการใช้งานในออฟฟิตสำหรับงาน โรงงาน โกดังสินค้า ที่เปิดไฟมากกว่า 8 ชม.ต่อวัน แนะนำให้ทำการถอดบัลลาสต์แกนเหล็กออก และต่อวงจรแบบที่ 1 หรือ 3 ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดไฟได้มากกว่าการต่อวงจรแบบ 4 หรือ 5 ประมาณ 1-2W ต่อหลอด หรือคิดเป็นการประหยัดค่าไฟประมาณ 35 บาท ต่อหลอด ต่อปี
แชร์
สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วยโคมไฟถนนสาธารณะ LED แสงสีขาวที่มอบความสว่างชัดเจนยามค่ำคืนแล้วเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างโครงการ อาทิเช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เริ่มโครงการเปลี่ยนโคมไฟทางหลวงทั่วประเทศจำนวนกว่า 3 ล้านหลอดมาใช้เป็นแบบ LED หรือการที่บรรดาโครงการบ้านจัดสรรใหม่ ๆ ก็ได้เปลี่ยนมาใช้โคมไฟถนนสาธารณะ LED นั่นคือเหตุผลที่เราจะพาผู้อ่านไปเข้าใจว่าโคมไฟทางหลวงแอลอีดีมีประโยชน์อย่างไร คุ้มค่ากับการเป็นเจ้าของหรือไม่ รวมถึงควรพิจารณาสิ่งใดบ้างหากต้องเลือกมาใช้งาน – โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? – 3 สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกโคมไฟถนนสาธารณะ LED – โคมไฟถนนสาธารณะเป็นมากกว่าแสงสว่างยามค่ำคืน โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? รู้หรือไม่ว่า? โคมไฟถนนสาธารณะที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium) หรือหลอดโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium) ซึ่งให้แสงสว่างสีส้มนั้น ปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าโคมไฟถนน LED อย่างชัดเจน เช่น 1. ค่าความถูกต้องของสี CRI ต่ำมาก ส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ใช้รถใช้ถนน 2. หลอดทั้งสองชนิดนี้ต้องใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ ที่กินไฟเพิ่มขึ้นมา 20-50 วัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดต้นทุนแฝงในค่าไฟฟ้า 3. หลอดทั้งสองชนิดนี้มีอัตราการลดลงของแสงสูง เพราะเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว ความสว่างของโคมไฟถนนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ให้ความสว่างมากเฉพาะช่วงแรก ๆ ที่เปลี่ยนหลอดใหม่เท่านั้น จะเห็นได้ว่าถนนบางแห่งมืดมาก แม้โคมไฟจะเปิดใช้งานอยู่ก็ตาม 4. อายุการใช้งานต่ำ เฉลี่ย 20,000 ชั่วโมง ทำให้ต้องบำรุงรักษาและเปลี่ยนหลอดบ่อย อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของโคมไฟทางหลวงที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูงและหลอดโซเดียมความดันต่ำ จะไม่มีอยู่ในโคมไฟถนนสาธารณะ LED ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นั่นจึงทำให้เราเห็นว่าทั้งภาครัฐและเอกชนได้เลือกติดตั้งไฟถนนสาธารณะ LED เนื่องจากมีข้อดีและมอบประโยชน์ต่อคนใช้รถใช้ถนนที่มากกว่า ดังนี้ – ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 60-80% โคมไฟถนนสาธารณะ LED…
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีไว้สำหรับให้ช่างไฟรู้ หรือเป็นทักษะเฉพาะด้านเพียงเท่านั้น จริง ๆ คนทั่วไปอย่างเรา ๆ ก็สามารถเรียนรู้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปิดโลกทัศน์และสามารถเลือกนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญหากคุณมีความรู้ก็จะสามารถเลือกใช้งานให้ได้รับความคุ้มค่าและได้รับประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับหลอดไฟ บางคนคิดว่าหลอดไฟที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มันก็เหมือน ๆ กันหมดนั่นแหละ ให้แสงสว่างเหมือน ๆ กัน ซึ่งความจริงแล้วมันแตกต่างกัน ซึ่งเราอยากให้คุณเปลี่ยนมุม มองใหม่ แล้วคุณจะพบกับความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง หลอดไฟธรรมดา กับ LED อยากรู้ก็ตามมาดูรายละเอียดกับเรากันได้เลย 1. หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้เกือบ 6 เท่า เพราะหลอดไฟทั่วไปจะสามารถให้แสงสว่างอยู่ที่ประมาณ 10,000 ชั่วโมง แต่สำหรับ หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 60.000 ชั่วโมงกันเลยยิ่งคุณเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงสรุปได้เลยว่าอายุการใช้งานของหลอดไฟ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันมากเลยทีเดียว 2. หลอดไฟ LED ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้เกือบเท่าตัว ด้วยคุณสมบัติที่สามารถให้อัตราแสงสว่างที่สูงกว่าหลอดไฟทั่วไป ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังให้แสงสว่างที่มีคุณภาพ มีอัตราการกระพริบที่สูง เป็นแสงสีขาวแท้ ช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แสงได้อย่างมีคุณภาพ สบายตา และไม่ต้องกังวลใจกับยอดค่าไฟในแต่ละเดือน 3. หลอดไฟ LED ปลอดภัยกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป เพราะไม่มีทั้งรังสียูวี ที่จะทำร้ายผิวของคุณ หรือจะเป็นการระบายความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นอย่างหลอดไฟทั่วไป ไม่มีสารพิษในหลอดไฟอย่างพวกสารปรอท เป็นหลอดไฟที่ปลอดภัยต่อคนใช้งานได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว หลอดไฟชนิดนี้นอกจากปลอดภัยต่อผู้ใช้งานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลร้ายต่อโลกของเราอีกด้วย เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง หลอดไฟ LED กับ หลอดไฟธรรมดาทั่วไป ทั้งในแง่ของความทันสมัยและคุณสมบัติ แบบนี้คุณยังจะลังเลใจในการเลือกใช้งานเพื่อให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าและให้แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพกับคุณอีกเหรอ อย่ารอช้าอีกเลยในการเลือกสรรหลอดไฟที่ดีที่สุดให้คุณได้ใช้งานกัน เพื่อให้คุณได้พบกับมิติใหม่ของแสงสว่าง ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพกันอย่างแท้จริง ดีทั้งประสิทธิภาพและดีกับสุขภาพของผู้ใช้งานอีกด้วย เป็นหลอดไฟที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างพึงพอใจสูงสุด อยากให้คุณเปิดใจและรับความนำสมัยของหลอดไฟ…
ชินเพาเวอร์ ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและขายโคมไฟไฮเบย์(โคมไฟสำหรับโรงงาน) , โคมไฟถนน , โคมไฟฟลัดไลท์ รวมถึงโคมไฟกันระเบิดและโคมไฟที่คุณอาจสนใจอีกมากมาย ขอแนะนำกฎหมายเกี่ยวกับความเข้มของแสงสว่าง (ค่าลักซ์ Lux) อ้างอิงตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ซึ่งใน หมวด 2 เกี่ยวกับแสงสว่างกฎหมายระบุไว้ว่า ข้อ ๔ นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด ต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยให้คำแนะนำและออกแบบแสงสว่างให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย? ปรึกษาฟรี! กดติดต่อเราได้ทันที ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561) ค่าลักซ์ (Lux) คือค่าความเข้มของแสงสว่าง (Illuminance) บนหน้างานมีหน่วยเป็นลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในกฎหมายแสงสว่างนั้นระบุค่าความต้องการแสงสว่างเป็นค่าเฉลี่ยของค่าลักซ์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่นั้นๆ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมีการกำหนดค่าความสว่างดังนี้ ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ลานจอดรถ ทางเดิน บันได : 50 ลักซ์ ป้อมยาม : 50 ลักซ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา : 100 ลักซ์ โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร : 100 ลักซ์ ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย : 300 ลักซ์ ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า) คลังสินค้า (Warehouse) : 200 ลักซ์…