0
สินค้าที่บันทึกใว้

สรุปวิธีต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube T8

LED Tube ความรู้
รุปวิธีต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube

หลอดไฟ LED Tube คือหลอดไฟ LED ที่รูปร่างคล้ายกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์เดิม มีขนาดความยาว และประเภทของขั้วหลอดไฟเหมือนเดิม ซึ่งคือขั้วแบบ G13 และมีความยาว 2 ขนาดคือ T8 ยาว 1.2 เมตร และยาว 0.6 เมตร ดังนั้นโดยทางกายภาพแล้วหลอดไฟ LED Tube T8 นั้นสามารถนำไปเปลี่ยนแทนหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเดิมได้เลย

แต่วงจรการต่อหลอดไฟ LED Tube T8 นั้นจะไม่เหมือน วงจรการต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเดิม ดังนันเพื่อให้สามารถใช้งานหลอดไฟ LED Tube T8 ในโคมไฟเดิมได้นั้น จะต้องมีการโมดิฟาย หรือมีขั้นตอนการต่อวงจรใหม่เล็กน้อยเพื่อให้หลอดไฟ LED Tube T8 ใหม่นั้นสามารถใช้งานกับโคมไฟเดิมได้

ก่อนอื่นทางเราขออธิบายวงจรการต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบดังเดิมก่อนเพื่อปูพื้นฐานไปสู่การต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube T8 ในลำดับถัดไป


การต่อวงจรหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (บัลลาสต์แกนเหล็ก)

การต่อวงจรหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์1. ต่อสายไฟ L เข้ากับบัลลาสต์แกนเหล็ก

2. ต่อสายไฟออกจากบัลลาสต์แกนเหล็ก เข้ากับขาหลอดด้านบนซ้าย

3. ต่อสายออกจากขาหลอดด้านล่างซ้าย เข้ากับ Starter

4. ต่อสายออกจาก Starter เข้ากับขาหลอดด้านล่างขวา

5. ต่อสายไฟ N เข้ากับหลอดด้านบนขวา

 


 

วงจรภายในหลอดไฟ LED Tube มีกี่แบบ ?

หลอดไฟ LED Tube T8 ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยใน จะมีรูปแบบวงจรภายในหลอด 2 ประเภทหลัก คือ

 

1. วงจรภายหลอดในแบบ Single-End (วงจรเข้าข้างเดียว)

– เป็นวงจรภายในหลอดไฟที่มีไฟเข้า L และ N อยู่ฝั่งเดียวกันของขั้วหลอด

– เป็นวงจรหลักของหลอดไฟ LED Tube ยี่ห้อสากล เช่น Philips Toshiba และ Osram

หลอดไฟ LED Tube Single End

2. วงจรภายในหลอดแบบ Double-End (วงจรเข้าสองข้าง)

– เป็นวงจรภายในหลอดไฟที่มีไฟเข้า L และ N อยู่คนละฝั่งของขั้วหลอด

วงจรภายในหลอดไฟ LED Tube Double End

*หมายเหตุ ในปัจจุบัน หลอดไฟยี่ห้อสากล บางรุ่นมีหลอดไฟ LED Tube ที่เป็นวงจรแบบ Double End ด้วยเช่นกัน


 

วิธีการต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube กับโคมไฟใหม่

สำหรับหลอดที่เป็นวงจรภายในแบบ Single-End (วงจรเข้าข้างเดียว)

สามารถต่อวงจรในโคมไฟได้ 2 แบบ คือ

แบบที่ 1

ถึงแม้ว่าจะเป็นหลอด LED Tube ที่มีวงจรภายในแบบเข้าข้างเดียวแต่ผู้ผลิตแนะนำให้มีการต่อวงจรที่โคมเป็นลักษณะเป็นไฟ L และ N เข้าคนละข้างอยู่ดี และทำการต่อสายเชื่อมขั้วหลอดด้านล่างเข้าด้วยกันดังสายสีเขียวตามรูป

วิธีต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube Single End

ข้อดี  – สามารถใส่หลอดไฟสลับฝั่งได้ 

ข้อเสีย – ใช้สายไฟเยอะกว่า

 

แบบที่ 2

ต่อไฟ L และ N เข้าไปที่ขั้วหลอดด้านใดด้านหนึ่งเลย วิธีนี้ช่างหลายๆคนจะทำการต่อวงจรตามแบบที่ 2 นี้สำหรับหลอด LED Tube ที่เป็นแบบวงจรเข้าข้างเดียว (Single End) เนื่องจากมีการเขียนตัวอักษร L-N ไว้ที่หลอดด้านหนึ่ง แต่จริงๆแล้วทางผู้ผลิตนั้นไม่แน่นำให้ทำการต่อวงจรแบบนี้

ข้อดี  – ใช้สายไฟน้อย

ข้อเสีย –  หากใส่หลอดผิดด้าน อาจะทำให้หลอดไฟเสีย หรือเกิดไฟซ้อตได้

ดังนั้นผู้ผลิตหลอดไฟแบบ Single End ทุกเจ้าจึงแนะนำการต่อวงจรโคมไฟสำหรับหลอดไฟ LED Tube (Single End) แบบวิธีที่ 1.1 และไม่แนะนำให้ต่อวงจรแบบที่ 2

 

สำหรับหลอดที่เป็นวงจนภายในแบบ Double-End (วงจรเข้าสองข้าง)

แบบที่ 3

ต่อไฟตรงเข้าที่ขั้วหลอดทั้ง 2 ฝั่งแยกกัน โดยต่อสายไฟ L เข้าที่ฝั่งหนึ่งและทำการต่อสายไฟ N เข้าที่ฝั่งตรงข้าม แต่การใช้หลอดไฟแบบวงจรภายในหลอดเข้าสองข้าง (Double End) นั้นต้องระวังในเรื่องของความปลอดภัยระหว่างติดตั้ง จำเป็นต้องมีการปิดไฟหรือตัดไฟก่อนทำการเปลี่ยนหลอดไฟทุกครั้ง

วิธีต่อหลอดที่เป็นวงจนภายในแบบ Double-End


 

วิธีการต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube กับโคมไฟเดิม ที่ใช้บัลลาสต์แกนเหล็ก

 

สำหรับหลอดที่เป็นวงจนภายในแบบ Single-End (วงจรเข้าข้างเดียว)

แบบที่ 4

วิธีการเปลี่ยนหลอด LED Tube Single End กับโคมไฟเดิม

1.  ถอดหลอดไฟเดิมออกแล้วเปลี่ยนหลอดไฟ LED Tube T8 ใหม่แทนที่

2. ถอด Starter เดิมออก แล้วใส่ LED Starter / Dummy Starter / Protection Fuse แทน (ชื่อเรียกต่างกันตามแต่ละผู้ผลิต

 

สำหรับหลอดที่เป็นวงจนภายในแบบ Double-End (วงจรเข้าสองข้าง)

แบบที่ 5

วิธีการเปลี่ยนหลอด LED Tube Double End กับโคมไฟเดิม

1.  ถอดหลอดไฟเดิมออกแล้วเปลี่ยนหลอดไฟ LED Tube T8 ใหม่แทนที่

2. ถอด Starter เดิมออก แล้วเปิดไฟได้เลย

 


 

สรุป และ ข้อควรระวังในการต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube T8

 

1. ดูวงจรภายในหลอด ที่ข้างหลอดหรือข้างกล่องของหลอดไฟให้ดีกว่าเป็นหลอดประเภท 1. วงจรเข้าข้างเดียว (Single End) หรือ วงจรเข้าสองข้าง (Double End)

2. แนะนำให้ซื้อหลอดแบบวงจรภายในหลอดแบบเข้าข้างเดียว (Single End) เนื่องจากผ่านมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล IEC 62776 ซึ่งเป็นแม่แบบของมาตรฐานมอก. 2779-2652 ซึ่งเกี่ยวกับหลอดแอลอีดีขั้วคู่ที่ออกแบบเพื่อเปลี่ยนทดแทน หลอดฟลูออเรสเซนซ์ชนิดตรง – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย 

3. ถ้าเป็นการใช้งานตามบ้าน หรือเปิดไฟต่อวันไม่นานนัก แนะนำการต่อวงจรแบบ 4 หรือ แบบ 5 ขึ้นอยู่กับประเภทวงจรของหลอดไฟที่ซื้อ

4. หากเป็นการใช้งานในออฟฟิตสำหรับงาน โรงงาน โกดังสินค้า ที่เปิดไฟมากกว่า 8 ชม.ต่อวัน แนะนำให้ทำการถอดบัลลาสต์แกนเหล็กออก และต่อวงจรแบบที่ 1 หรือ 3 ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดไฟได้มากกว่าการต่อวงจรแบบ 4 หรือ 5 ประมาณ 1-2W ต่อหลอด หรือคิดเป็นการประหยัดค่าไฟประมาณ 35 บาท ต่อหลอด ต่อปี

บทความอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

โคมไฟถนน ความรู้

‘โคมไฟถนนสาธารณะ’ ต้องเลือกอย่างไรถึงได้ของดีมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย?

สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วย…