หลอดไฟ LED คืออะไร? เชื่อไหมว่าคำถามนี้แม้แต่ช่างไฟที่ทำงานติดระบบแสงสว่างในบ้านหรืออาคาร อาจไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วหลอดไฟ LED มีรายละเอียดทางเทคนิคเป็นอย่างไร เรามั่นใจว่าคุณผู้อ่านคงอยากรู้แล้วว่าหลอดไฟ LED ที่ส่องแสงสีขาวสุดสว่างนี้มันคืออะไรกันแน่ และเพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน
LED คือ (Light Emitting Diode) หรือ ‘ไดโอดชนิดเปล่งแสง’ ที่สามารถนำไปติดตั้งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงสถานะ รวมถึงเพื่อใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงแบบต่าง ๆ ซึ่งที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือ หลอดไฟ LED ที่มีหลากหลายรูปทรงให้เลือกใช้งานนั่นเอง
หลอดไฟ LED ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) 2 ชนิดมาวางติดกัน ซึ่งประกอบด้วย 1. ส่วนที่เป็นขั้วบวก (Positive Type) 2. ส่วนที่เป็นขั้วลบ (Negative Type) โดยส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างสารกึ่งตัวนำขั้วบวกและขั้วลบ เรียกว่า P-N Junction เมื่อปล่อยกระแสไฟไหลผ่านสารกึ่งตัวนำทั้ง 2 แล้วอิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ในฝั่งขั้วลบ (N-Type) จะวิ่งไปที่ฝั่งขั้วบวก (P-Type) และปล่อยแสงสว่างออกมา
สีของแสงสว่างที่เกิดขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับสารตั้งต้นที่นำมาใช้เพื่อทำเป็นสารกึ่งตัวนำ เช่น หากใช้
– AlInGaP : Aluminium, Indium, Gallium Phosphorus จะได้แสงสีแดงส้ม
– InGaN : Indium, Gallium and Nitrogen จะได้แสงสีฟ้า
ย้อนกลับไปสมัยที่ LED ได้ถือกำเนิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 หรือเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว โดย Nick Holonyak Jr. ได้คิดค้น LED แสงสีแดงขึ้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นหลอดไฟ LED สำหรับแสงสถานะ (LED Indicator light) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ แต่ LED ในยุคแรกนั้นยังไม่สามารถนำมาผลิตเป็นหลอดไฟแสงสว่างได้ เนื่องจากหลอดไฟ LED สีแดงนั้นมีประสิทธิภาพในการให้แสงสว่างต่ำและไม่ทนต่อสภาพแวดล้อม
หลังจากที่ LED ได้ถือกำเนิดขึ้นมากว่า 33 ปี และถูกใช้เป็นเพียงไฟแสดงสถานะ ทีมวิศวกรชาวญี่ปุ่น ซึ่งนำทีมโดย Shiji Nakamura จากบริษัท Nichia ได้คิดค้น LED แสงสีฟ้า (LED Blue Light) ขึ้นเมื่อปี 1995 ซึ่งการคิดค้นในครั้งนี้เป็นการผลิต LED จากผลึกของสาร Gallium Nitride (GaN) และนับว่าเป็นการปฎิวัติวงการ LED ไปอย่างสิ้นเชิง
เนื่องจาก LED แสงสีฟ้านี้มีประสิทธิภาพสูงจนสามารถนำ LED มาใช้เป็นต้นกำเนิดของไฟแสงสว่างได้ รวมถึงมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าหลอดไฟรุ่นเก่า ๆ มาก โดย Shiji Nakamura และทีม ได้รับรางวัล Nobel Prize สาขาฟิสิกส์ ในปี 2014 สำหรับการคิดค้น LED แสงสีฟ้านี้ขึ้นมา
โดยทั่วไปแล้วหลอดไฟ LED ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ไฟ LED แสดงสถานะ(indicator-type) และ ไฟ LED ให้แสงสว่าง (illuminator-type)
LED แสดงสถานะมีราคาไม่แพงและกินไฟต่ำ แต่ว่าให้ความสว่างได้ไม่มากนัก จึงเหมาะสำหรับการใช้เป็นไฟแสดงสถานะในจอแสดงผลและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น นาฬิกาดิจิทัล วิทยุ และภายในรถยนต์ เป็นต้น
ในส่วนของไฟ LED ให้แสงสว่าง หรือที่เราคุ้นเคยและเรียกกันว่า ‘หลอดไฟ LED’ เป็นอุปกรณ์ที่มีความทนทานและให้ความสว่างสูงมาก จนสามารถนำมาให้แสงสว่างแทนหลอดไฟแบบดั้งเดิมได้ อย่างไรก็ดี หลอดไฟ LED ทั้งสองประเภทมีโครงสร้างพื้นฐานแบบเดียวกัน คือประกอบไปด้วย
1. LED chip หรือ แหล่งกำเหนิดแสงสว่าง
2. Gold wire หรือ สายเชื่อมต่อวงจรภายใน
3. Ceramic Substrate หรือ ตัว Body
4. Thermal Heat Sink หรือ แผ่นระบายความร้อน
5. Plastic lens หรือ ตัวควบคุมทิศทางของแสง
รู้หรือไม่ว่า กว่าจะเห็นไฟ LED มีแสงสีขาวอย่างในปัจจุบัน ต้องผ่านการวิจัยและพัฒนามาเป็นเวลานานเท่าไร ซึ่งไฟ LED แสงสีขาวมีที่มาจากนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นชื่อ Shuji Nakamura ได้คิดค้นไฟ LED ที่เปล่งแสงสีน้ำเงินเมื่อปี ค.ศ. 1995 และนั่นได้กลายเป็นต้นกำเนิดของแสงไฟ LED แสงสีขาวที่เราใช้กันในปัจจุบัน ต่อจากนี้ไปเราจะมาทำความเข้าใจไปพร้อมกันว่า LED แสงสีขาว ทำขึ้นมาได้อย่างไร โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ
1. การผสมกันของแม่สีทั้งสามสีอย่าง R (แดง) G (เขียว) และ B (น้ำเงิน) นั่นทำให้ LED สามารถเปล่งแสงสีขาวอย่างที่สามารถเห็นได้ด้วยตาของเราเอง
2. การใช้ LED แสงสีฟ้ามาเคลือบด้วยสารฟอสเฟอร์สีเหลือง เพื่อให้ได้แสงสีขาว
สำหรับหลอดไฟ LED ที่ให้แสงในโทนสีขาว (Daylight) สีขาวอมเหลือง (Cool White) และสีเหลือง (Warm White) ที่ใช้ตามบ้านและในโรงงานในปัจจุบันนั้น ล้วนมีการผลิตจาก LED แสงสีฟ้า ตามวิธีแบบที่ 2 ทั้งสิ้น เนื่องจาก
– การผลิตหลอดไฟ LED มีสีแสงโทนสีขาวโดยตรงนั้น ยังไม่สามารถทำได้
– หลอดไฟ LED แสงสีฟ้านั้นมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบัน เมื่อนำ LED แสงสีฟ้ามาผ่านขั้นตอนการเคลือบด้วยสารฟอสเฟอร์สีเหลือง เพื่อให้ได้แสงสีขาวแล้ว แสงสีขาวที่ได้ออกมานั้นก็ยังมีประสิทธิภาพที่สูงอยู่ ต่างจากวิธีผสมสีแบบที่ 1 ที่จะใช้พลังงานมากกว่าเพื่อให้ได้มาซึ่งแสงสีขาว แต่วิธีที่ 1 ก็ยังนิยมใช้ในไฟ LED สำหรับงานตกแต่งภายนอกหรือไฟเวทีเป็นต้น
ขึ้นชื่อว่าไฟ LED หลายคนก็ทราบดีแล้วว่าหลอดไฟชนิดนี้ มอบแสงสว่างขาวสะอาดตา แถมยังกินพลังงานไฟต่ำ และจูงใจให้คนยุคใหม่เปลี่ยนมาใช้ไฟ LED ได้แบบไม่ยาก อย่างไรก็ตาม ข้อดีของหลอดไฟ LED ไม่ได้มีเพียงแค่นี้ เพราะในวงการอุตสาหกรรม เจ้าหลอดไฟ LED นั้นมีบทบาทสำคัญมากกว่าการใช้งานในภาคครัวเรือน ส่วนจะมีอะไรบ้างนั้นมารู้ไปพร้อมกัน
1. ความสว่างมากกว่าหลอดไส้แบบเดิม
2. แสงสว่างส่องแบบมีทิศทางชัดเจน
3. ทนทานใช้งานได้ยาวนาน
4. เสื่อมสภาพช้า แสงไฟลดลงน้อยตลอดอายุการใช้งาน
5. เปิดไฟแล้วสว่างทันที
6. ไม่ปล่อยรังสี UV
7. ไม่แผ่รังสีความร้อน
8. ไม่มีสารปรอท
9. ทนต่อแรงสั่นสะเทือน
9 คุณสมบัติที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ล้วนมีอยู่ครบถ้วนในหลอดไฟ LED ของชินเพาเวอร์ โดยข้อดีทั้งหมดมีส่วนช่วยให้หน่วยงาน องค์กร หรือใครก็ตามที่เปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED โคมไฮเบย์ และโคมไฟสปอร์ตไลท์ของเรา สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ไฟ LED ก็ยังมีส่วนในการสนับสนุนให้บริษัทเติบโตทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย
แชร์
สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วยโคมไฟถนนสาธารณะ LED แสงสีขาวที่มอบความสว่างชัดเจนยามค่ำคืนแล้วเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างโครงการ อาทิเช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เริ่มโครงการเปลี่ยนโคมไฟทางหลวงทั่วประเทศจำนวนกว่า 3 ล้านหลอดมาใช้เป็นแบบ LED หรือการที่บรรดาโครงการบ้านจัดสรรใหม่ ๆ ก็ได้เปลี่ยนมาใช้โคมไฟถนนสาธารณะ LED นั่นคือเหตุผลที่เราจะพาผู้อ่านไปเข้าใจว่าโคมไฟทางหลวงแอลอีดีมีประโยชน์อย่างไร คุ้มค่ากับการเป็นเจ้าของหรือไม่ รวมถึงควรพิจารณาสิ่งใดบ้างหากต้องเลือกมาใช้งาน – โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? – 3 สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกโคมไฟถนนสาธารณะ LED – โคมไฟถนนสาธารณะเป็นมากกว่าแสงสว่างยามค่ำคืน โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? รู้หรือไม่ว่า? โคมไฟถนนสาธารณะที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium) หรือหลอดโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium) ซึ่งให้แสงสว่างสีส้มนั้น ปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าโคมไฟถนน LED อย่างชัดเจน เช่น 1. ค่าความถูกต้องของสี CRI ต่ำมาก ส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ใช้รถใช้ถนน 2. หลอดทั้งสองชนิดนี้ต้องใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ ที่กินไฟเพิ่มขึ้นมา 20-50 วัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดต้นทุนแฝงในค่าไฟฟ้า 3. หลอดทั้งสองชนิดนี้มีอัตราการลดลงของแสงสูง เพราะเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว ความสว่างของโคมไฟถนนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ให้ความสว่างมากเฉพาะช่วงแรก ๆ ที่เปลี่ยนหลอดใหม่เท่านั้น จะเห็นได้ว่าถนนบางแห่งมืดมาก แม้โคมไฟจะเปิดใช้งานอยู่ก็ตาม 4. อายุการใช้งานต่ำ เฉลี่ย 20,000 ชั่วโมง ทำให้ต้องบำรุงรักษาและเปลี่ยนหลอดบ่อย อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของโคมไฟทางหลวงที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูงและหลอดโซเดียมความดันต่ำ จะไม่มีอยู่ในโคมไฟถนนสาธารณะ LED ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นั่นจึงทำให้เราเห็นว่าทั้งภาครัฐและเอกชนได้เลือกติดตั้งไฟถนนสาธารณะ LED เนื่องจากมีข้อดีและมอบประโยชน์ต่อคนใช้รถใช้ถนนที่มากกว่า ดังนี้ – ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 60-80% โคมไฟถนนสาธารณะ LED…
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีไว้สำหรับให้ช่างไฟรู้ หรือเป็นทักษะเฉพาะด้านเพียงเท่านั้น จริง ๆ คนทั่วไปอย่างเรา ๆ ก็สามารถเรียนรู้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปิดโลกทัศน์และสามารถเลือกนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญหากคุณมีความรู้ก็จะสามารถเลือกใช้งานให้ได้รับความคุ้มค่าและได้รับประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับหลอดไฟ บางคนคิดว่าหลอดไฟที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มันก็เหมือน ๆ กันหมดนั่นแหละ ให้แสงสว่างเหมือน ๆ กัน ซึ่งความจริงแล้วมันแตกต่างกัน ซึ่งเราอยากให้คุณเปลี่ยนมุม มองใหม่ แล้วคุณจะพบกับความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง หลอดไฟธรรมดา กับ LED อยากรู้ก็ตามมาดูรายละเอียดกับเรากันได้เลย 1. หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้เกือบ 6 เท่า เพราะหลอดไฟทั่วไปจะสามารถให้แสงสว่างอยู่ที่ประมาณ 10,000 ชั่วโมง แต่สำหรับ หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 60.000 ชั่วโมงกันเลยยิ่งคุณเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงสรุปได้เลยว่าอายุการใช้งานของหลอดไฟ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันมากเลยทีเดียว 2. หลอดไฟ LED ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้เกือบเท่าตัว ด้วยคุณสมบัติที่สามารถให้อัตราแสงสว่างที่สูงกว่าหลอดไฟทั่วไป ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังให้แสงสว่างที่มีคุณภาพ มีอัตราการกระพริบที่สูง เป็นแสงสีขาวแท้ ช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แสงได้อย่างมีคุณภาพ สบายตา และไม่ต้องกังวลใจกับยอดค่าไฟในแต่ละเดือน 3. หลอดไฟ LED ปลอดภัยกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป เพราะไม่มีทั้งรังสียูวี ที่จะทำร้ายผิวของคุณ หรือจะเป็นการระบายความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นอย่างหลอดไฟทั่วไป ไม่มีสารพิษในหลอดไฟอย่างพวกสารปรอท เป็นหลอดไฟที่ปลอดภัยต่อคนใช้งานได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว หลอดไฟชนิดนี้นอกจากปลอดภัยต่อผู้ใช้งานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลร้ายต่อโลกของเราอีกด้วย เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง หลอดไฟ LED กับ หลอดไฟธรรมดาทั่วไป ทั้งในแง่ของความทันสมัยและคุณสมบัติ แบบนี้คุณยังจะลังเลใจในการเลือกใช้งานเพื่อให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าและให้แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพกับคุณอีกเหรอ อย่ารอช้าอีกเลยในการเลือกสรรหลอดไฟที่ดีที่สุดให้คุณได้ใช้งานกัน เพื่อให้คุณได้พบกับมิติใหม่ของแสงสว่าง ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพกันอย่างแท้จริง ดีทั้งประสิทธิภาพและดีกับสุขภาพของผู้ใช้งานอีกด้วย เป็นหลอดไฟที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างพึงพอใจสูงสุด อยากให้คุณเปิดใจและรับความนำสมัยของหลอดไฟ…
ชินเพาเวอร์ ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและขายโคมไฟไฮเบย์(โคมไฟสำหรับโรงงาน) , โคมไฟถนน , โคมไฟฟลัดไลท์ รวมถึงโคมไฟกันระเบิดและโคมไฟที่คุณอาจสนใจอีกมากมาย ขอแนะนำกฎหมายเกี่ยวกับความเข้มของแสงสว่าง (ค่าลักซ์ Lux) อ้างอิงตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ซึ่งใน หมวด 2 เกี่ยวกับแสงสว่างกฎหมายระบุไว้ว่า ข้อ ๔ นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด ต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยให้คำแนะนำและออกแบบแสงสว่างให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย? ปรึกษาฟรี! กดติดต่อเราได้ทันที ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561) ค่าลักซ์ (Lux) คือค่าความเข้มของแสงสว่าง (Illuminance) บนหน้างานมีหน่วยเป็นลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในกฎหมายแสงสว่างนั้นระบุค่าความต้องการแสงสว่างเป็นค่าเฉลี่ยของค่าลักซ์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่นั้นๆ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมีการกำหนดค่าความสว่างดังนี้ ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ลานจอดรถ ทางเดิน บันได : 50 ลักซ์ ป้อมยาม : 50 ลักซ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา : 100 ลักซ์ โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร : 100 ลักซ์ ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย : 300 ลักซ์ ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า) คลังสินค้า (Warehouse) : 200 ลักซ์…