-หลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 ที่มีวงจรภายในหลอดแบบ Single End เท่านั้นถึงจะผ่านมอก.นี้
-หลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 ขนาดไม่เกิน 125W อยู่ในขอบข่ายที่จะต้องขอ มอก. 2779 นี้
-มอก. 2779 เป็นมอก.ควบคุม ผู้ผลิตและนำเข้าหลอดไฟ LED Tube จำเป็นต้องได้รับมอก.นี้เท่านั้น
-การผลิต / นำเข้า / จำหน่าย หลอดไฟ LED Tube ที่ไม่ได้รับมอก. 2779 นี้ผิดกฎหมาย
-เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม 2565
DOUBLE-CAPPED LED LAMPS DESIGNED TO RETROFIT LINEAR FLUORESCENT LAMPS – SAFETY SPECIFICATIONS
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2779–2562 นี้เป็นการอ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 จากมาตรฐานสากล IEC 62776:2014+COR1:2015 เพื่อควบคุมการออกแบบหลอดไฟ LED Tube ให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน ก่อนที่จะมีมาตรฐานนี้ออกมาเราจะเห็นได้ว่าหลอดไฟ LED Tube ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นมีวงจรภายในหลอดให้เลือก 2 แบบ คือ 1. Single End 2. Double End ทำให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนในการนำไปใช้และการต่อวงจรโคมไฟที่เหมาะสม มอก. 2779 ฉบับนี้อนุญาตให้เฉพาะหลอดไฟแบบ Single End เท่านั้นที่จะสามารถผ่านมอก.นี้ได้เนื่องจากมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล โดยมอก.นี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป เนื่องจากมอก. 2779-2562 นี้เป็นมอก.บังคับ ส่งผลให้ผู้ผลิต และผู้นำเข้าหลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 ทุกรายจะต้องได้รับมอก.นี้ก่อนนำมาจำหน่ายภายในประเทศไทยเท่านั้น การจำหน่ายหลอดไฟ LED Tube ที่ไม่ได้รับมอก.นี้ไม่สามารถทำได้และผิดกฎหมาย
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ีครอบคลุมเฉพาะคุณลักษณะท่ีต้องการด้านความปลอดภัยและการสับเปลี่ยนทดแทน กันได้ และการทํางานแลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งวิธีทดสอบและเงื่อนไขในการทดสอบเพื่อแสดงการเป็นไปตามข้อกําหนดของ หลอดแอลอีดีขั้วคู่ท่ีมีขั้วหลอดแบบ G5 และแบบ G13 โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนซ์ท่ีมีขั้วหลอด แบบเดียวกัน และมีขอบเขตดังนี้
– กําลังไฟฟ้าที่กําหนด ไม่เกิน 125 W
– แรงดันไฟฟ้าท่ีกําหนด ไม่เกิน 250 V
หลอดแอลอีดีเหล่านี้ออกแบบสําหรับการเปลี่ยนทดแทนโดยไม่จําเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขภายในดวงโคมไฟฟ้า
ดวงโคมไฟฟ้าที่มีอยู่ (ซึ่งจะใส่หลอดแอลอีดีขั้วคู่) สามารถทํางานได้โดยใช้อุปกรณ์ควบคุมหลอดแบบแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแบบอิเล็กทรอนิกส์
มาตราฐานกำหนดห้ามไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขั้วทั้งสองข้างของหลอดไฟ เพื่อป้องกันไฟฟ้าซ็อตผู้เปลี่ยนหลอดไฟ
ขั้วหลอดแบบ G5 และแบบ G13 ไม่สามารถประกันได้ว่าจะสอดใส่ปลายท้ัง 2 ด้านของหลอดเข้าไปพร้อม ๆ กัน ด้วยเหตุผลนี้ต้องไม่มีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าระหว่างปลายทั้ง 2 ด้านของหลอดในระหว่างการสอดใส่
เมื่อสอดใส่ขาหลอด (lamp pins) เข้าไปในขั้วรับหลอดด้านหน่ึง แรงดันไฟฟ้าท่ีเกิดข้ึนที่ขาหลอดท่ีไม่ได้สอดใส่ต้องไม่ สามารถทําให้เกิดช็อกไฟฟ้า ฉนวนมูลฐานระหว่างการสอดใส่หลอดถือว่าเพียงพอเมื่อเป็นไปตาม IEC 60598-1 ข้อ 8.
มาตรการป้องกันการแตะต้องถึง (accessible protection measure) ซึ่งอาจถูกระงับโดยบังเอิญและโดยวิธีนี้เป็น การระงับการป้องกันต่อช็อกไฟฟ้า ไม่อนุญาตให้ใช้
ถึงแม้ว่าจะเป็นหลอด LED Tube ที่มีวงจรภายในแบบเข้าข้างเดียว (Single End)แต่ผู้ผลิตส่วนใหญ่เช่น Philips Toshiba Osram แนะนำให้มีการต่อวงจรที่โคมเป็นลักษณะเป็นไฟ L และ N เข้าคนละข้างอยู่ดี และทำการต่อสายเชื่อมขั้วหลอดด้านล่างเข้าด้วยกันดังสายสีเขียวตามรูป
ไม่แน่นำให้ต่อวงจรในโคมไฟแบบนำสาย L และ N ต่อที่ฝั่งเดียวกัน เนื่องจาก หากใส่หลอดผิดด้าน อาจะทำให้หลอดไฟเสีย หรือเกิดไฟซ้อตได้
อ่านเพิ่มเติม สรุปการวงจรหลอดไฟ LED Tube ทุกรูปแบบ
แชร์
สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วย…
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีไว้สำหรับให้ช่างไฟรู้ …
ชินเพาเวอร์ ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและขายโคมไฟไฮเบย์(โคมไฟสำหรับโรงงาน) , โคมไฟถนน , โ…