ระบบโอโซนบำบัดน้ำประสิทธิภาพสูง
– ช่วยประหยัดพลังงาน ค่าใช้จ่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระบบโอโซนบำบัดน้ำ แบบ Closed Loop
– สามารถผสมก๊าซโอโซนลลงในน้ำได้มากถึง 80%
– ประหยัดไฟฟ้าเพิ่มจากระบบโอโซนทั่วไปถึง 33%
– ใช้พื้นที่เล็กลง 2.8 เท่า น้ำหนักลดลง 50%
– และที่สำคัญใช้ท่อลดลง 90% จากระบบโอโซนรุ่นเก่า
โคมไฟที่เอาไว้ติดตั้งในพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ที่อาจเกิดเพลิงไหม้หรือเกิดการระเบิด เนื่องจากมีก๊าซ ไอระเหย ของเหลวที่ติดไฟได้ ฝุ่นที่ระเบิดได้ เส้นใยหรือละอองที่ติดไฟได้ โดยที่โคมไฟนั้นจะต้องมีการออกแบบการป้องกันเป็นพิเศษตามมาตรฐานสากล เพื่อจะไม่ทำให้พื้นที่อันตรายนั้นเกิดการระเบิดได้
อ่านเพิ่มเติม : โคมไฟกันระเบิด Explosion Proof คืออะไร ก่อนติดตั้งต้องดูอะไรบ้าง?
การจำแนกพื้นที่อันตรายนั้นจะเป็นไปตามมาตรฐานสากลหลัก 2 มาตรฐาน คือ 1. มาตรฐาน IEC (สำหรับประเทศยุโรป และประเทศอื่นๆ) และ 2. มาตรฐาน NEC (สำหรับประเทศอเมริกา)โดยจะแบ่งพื้นที่ตามระดับความเสี่ยงดังต่อไปนี้
บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล)
Zone 0 หรือ 20 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งจะแทบไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่นี้เลย
Zone 1 หรือ 21 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดมาก
Zone 2 หรือ 22 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดน้อย
บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน NEC (อเมริกา)
พื้นที่ Class 1 Division 1 และ Class 2 Division 1 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดมาก
พื้นที่ Class 1 Division 2 และ Class 2 Division 2 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดน้อย
ซึ่งการใช้โคมไฟกันระเบิดในแต่ละพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่างกัน ก็จะใช้โคมไฟคนละรุ่นกัน โดยที่โคมไฟที่ใช้ในพื้นที่ zone 1 ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก ก็จะมีโครงสร้างโคมแข็งแรงและมีราคาสูงกว่าโคมไฟที่ใช้สำหรับพื้นที่ zone 2 เป็นต้น
อ่านเพิ่มเติม : วิธีการแบ่งพื้นที่อันตราย Zone 1 Vs Zone 2
โดยปกติแล้วในแบบก่อสร้างจะมีการระบุความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่โดยวิศวกรไฟฟ้าผู้ออกแบบอยู่แล้ว ว่าในแต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่ความเสี่ยง Zone 1 หรือ Zone 2
หากไม่สามารถหาแบบที่มีการกำหนดความเสี่ยงไว้ได้ จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรไฟฟ้าร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของทางโรงงานเพื่อที่จะจำแนกพื้นที่เสี่ยง
ใบรับรองมาตรฐาน Certificate สำหรับโคมไฟกันระเบิด (Explosion proof lighting) นั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากโคมไฟกันระเบิด (Explosion proof lighting) เป็นอุปกรณ์สำคัญ หากผลิตไม่ได้มาตรฐานแล้วมีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่หน้างานได้มาก โดยในประเทศไทยจะใช้มาตรฐาน ATEX และ IECEx เป็นหลัก หากโคมไฟไม่มีมาตรฐานดังกล่าว ถ้าหากเกิดเหตุระเบิดขึ้นมาบริษัทประกันจะมีรับผิดชอบ ดังนั้นต้องถามหาใบ Certifciate ATEX หรือ IECEx ทุกครั้งก่อนซื้อโคมไฟกันระเบิด (วิธีการดู และตรวจเช็คใบ Certificate ปลอม)
คำตอบคือ เราสามารถเปลี่ยนจากโคมไฟธรรมดามาเป็นโคมไฟกันระเบิดได้ หากหน้างานนั้นเป็นพื้นที่อันตราย (Hazardous area) แต่ไม่ใช่จะเปลี่ยนเฉพาะโคมไฟเป็นโคมไฟกันระเบิดอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่อยู่ในพื้นที่อันตรายเป็นแบบกันระเบิด (Explosion Proof Type) รวมถึงการติดตั้งที่เป็นแบบกันระเบิดด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนโคมไฟเดิม เป็นโคมไฟกันระเบิด (Explosion proof lighting) แล้ว วิธีการติดตั้ง กล่องพักสายไฟ เต้ารับ สวิตท์ไฟ หรือ พัดลม มอเตอร์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้เป็นแบบกันระเบิดด้วย
โคมไฟกันระเบิด (Explosion Proof Lightings) ที่ถูกออกแบบมาให้ตัวโคมไฟสามารถป้องกันแรงระเบิดที่เกิดจากภายในตัวโคมไฟได้ และไม่ทำให้พื้นที่เสี่ยงภายนอกเกิดการระเบิดตามไปด้วย
ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานอุปกรณ์กันระเบิดเป็นของเราเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งานจะใช้มาตรฐานอุปกรณ์กันระเบิดรวมถึงโคมไฟกันระเบิดของทางยุโรปคือ ATEX และ IECEx เพื่อใช้อ้างอิงว่าอุปกรณ์กันระเบิดนั้นมีการออกแบบ การผลิตได้ตามมาตรฐานและมั่นใจที่จะนำอุปกรณ์กันระเบิดดังกล่าวมาใช้ในโรงงานที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้
สำหรับโคมไฟกันระเบิด LED นั้นจะมีมาตรฐานจากทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คอยดูแลและควบคุมเกี่ยวกับโคมไฟที่ใช้หลอด LED อยู่ตามมาตรฐานมอก. 1955-2551 ว่าด้วยเรื่องบริภัณฑ์ส่องสว่าง เป็นมาตรฐานบังคับที่ผู้ผลิตและจำหน่ายโคมไฟกันระเบิด LED ทุกรายจะต้องผ่านการทดสอบและได้รับการรับรองตามมาตรฐานมอก. 1955-2551 นี้จึงสามารถจำหน่ายสินค้าโคมไฟกันระเบิด LED ในประเทศไทยได้
หมายเหตุ มอก.1955-2551 นี้ควบคุมเกี่ยวกับโคมไฟ LED เป็นหลัก ไม่ได้เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับโคมไฟกันระเบิดแต่อย่างใด