0
สินค้าที่บันทึกใว้

ระบบโอโซนบำบัดน้ำประสิทธิภาพสูง

– ช่วยประหยัดพลังงาน ค่าใช้จ่ายและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระบบโอโซนบำบัดน้ำ แบบ Closed Loop
– สามารถผสมก๊าซโอโซนลลงในน้ำได้มากถึง 80%
– ประหยัดไฟฟ้าเพิ่มจากระบบโอโซนทั่วไปถึง 33%
– ใช้พื้นที่เล็กลง 2.8 เท่า น้ำหนักลดลง 50%
– และที่สำคัญใช้ท่อลดลง 90% จากระบบโอโซนรุ่นเก่า

 

Features

1. เครื่องกำเนิดออกซิเจน 12 กระบอกแบบโรตารี่ช่วยยืดอายุ การบำรุงรักษา และความเสถียรในการเตรียม O3 บริสุทธิ์ ก่อนจ่ายเข้าสู้สนามประจุไฟฟ้าแรงสูง
2. ค่าประสิทธิภาพการผสมของ O3 กับน้ำ สูงถึง 80% ด้วย ปั๊มชนิดพิเศษ ผลิตก๊าซโอโซนขนาดเล็กเพียง 2 ไมครอน

3. ชุดประมวลผลประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจะทำงานพร้อมกับอุปกรณ์รับสัญญาณ Closed Loop ของ PLC และ ระบบเฝ้าระวังผ่าน GPRS

การประยุกต์ใช้งาน

หอผึ่งเย็น (Cooling Tower)
ระบบโอโซนบำบัดน้ำได้รับการพิสูจน์จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน และผู้ใช้แอร์ทั่วไปแล้วว่าสามารถ นำไปใช้ในระบบแอร์ชิลเลอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความสูญเสียของกำลังไฟฟ้า และน้ำ เนื่องจากสามารถป้องกันการเกิดตะกรันในคอนเด็นเซอร์ และรักษาสภาพน้ำในหอผึ่งเย็นได้ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังฆ่าแบคทีเรีย (Legionella Bacteria) ที่ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันได้ 100%

บำบัดน้ำเสียและรีไซเคิลน้ำ
สามารถลดค่า BOD ได้มากกว่า 85% โดยมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าระบบเติมอากาศแบบเดิมถึง 50% ทั้งนี้ระบบโอโซนบำบัดน้ำได้นำไปใช้เพื่อยกเลิกการปล่อยน้ำเสียลงสู่คูคลอง (Zero Discharge) ในรีสอร์ทและโรงแรม และยังสามารถขจัดสี และกลิ่นในขั้นตอนบำบัดสุดท้ายได้ 100%

คำถามที่พบบ่อย

โคมไฟกันระเบิด (Explosion proof lighting) คืออะไร ?

โคมไฟที่เอาไว้ติดตั้งในพื้นที่อันตราย (Hazardous area) ที่อาจเกิดเพลิงไหม้หรือเกิดการระเบิด เนื่องจากมีก๊าซ ไอระเหย ของเหลวที่ติดไฟได้ ฝุ่นที่ระเบิดได้ เส้นใยหรือละอองที่ติดไฟได้ โดยที่โคมไฟนั้นจะต้องมีการออกแบบการป้องกันเป็นพิเศษตามมาตรฐานสากล เพื่อจะไม่ทำให้พื้นที่อันตรายนั้นเกิดการระเบิดได้

อ่านเพิ่มเติม : โคมไฟกันระเบิด Explosion Proof คืออะไร ก่อนติดตั้งต้องดูอะไรบ้าง?

การจำแนกพื้นที่อันตรายนั้นจะเป็นไปตามมาตรฐานสากลหลัก 2 มาตรฐาน คือ 1. มาตรฐาน IEC (สำหรับประเทศยุโรป และประเทศอื่นๆ) และ 2. มาตรฐาน NEC (สำหรับประเทศอเมริกา)โดยจะแบ่งพื้นที่ตามระดับความเสี่ยงดังต่อไปนี้

บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล)
Zone 0 หรือ 20 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งจะแทบไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่นี้เลย
Zone 1 หรือ 21 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดมาก
Zone 2 หรือ 22 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดน้อย

บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน NEC (อเมริกา)
พื้นที่ Class 1 Division 1 และ Class 2 Division 1 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดมาก
พื้นที่ Class 1 Division 2 และ Class 2 Division 2 จะเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระเบิดน้อย

ซึ่งการใช้โคมไฟกันระเบิดในแต่ละพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่างกัน ก็จะใช้โคมไฟคนละรุ่นกัน โดยที่โคมไฟที่ใช้ในพื้นที่ zone 1 ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงมาก ก็จะมีโครงสร้างโคมแข็งแรงและมีราคาสูงกว่าโคมไฟที่ใช้สำหรับพื้นที่ zone 2 เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม : วิธีการแบ่งพื้นที่อันตราย Zone 1 Vs Zone 2

โดยปกติแล้วในแบบก่อสร้างจะมีการระบุความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่โดยวิศวกรไฟฟ้าผู้ออกแบบอยู่แล้ว ว่าในแต่ละพื้นที่เป็นพื้นที่ความเสี่ยง Zone 1 หรือ Zone 2

หากไม่สามารถหาแบบที่มีการกำหนดความเสี่ยงไว้ได้ จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกรไฟฟ้าร่วมกับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของทางโรงงานเพื่อที่จะจำแนกพื้นที่เสี่ยง

ใบรับรองมาตรฐาน Certificate สำหรับโคมไฟกันระเบิด (Explosion proof lighting) นั้นมีความสำคัญมาก เนื่องจากโคมไฟกันระเบิด (Explosion proof lighting) เป็นอุปกรณ์สำคัญ หากผลิตไม่ได้มาตรฐานแล้วมีโอกาสสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่หน้างานได้มาก โดยในประเทศไทยจะใช้มาตรฐาน ATEX และ IECEx เป็นหลัก หากโคมไฟไม่มีมาตรฐานดังกล่าว ถ้าหากเกิดเหตุระเบิดขึ้นมาบริษัทประกันจะมีรับผิดชอบ ดังนั้นต้องถามหาใบ Certifciate ATEX หรือ IECEx ทุกครั้งก่อนซื้อโคมไฟกันระเบิด (วิธีการดู และตรวจเช็คใบ Certificate ปลอม)

คำตอบคือ เราสามารถเปลี่ยนจากโคมไฟธรรมดามาเป็นโคมไฟกันระเบิดได้ หากหน้างานนั้นเป็นพื้นที่อันตราย (Hazardous area) แต่ไม่ใช่จะเปลี่ยนเฉพาะโคมไฟเป็นโคมไฟกันระเบิดอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่อยู่ในพื้นที่อันตรายเป็นแบบกันระเบิด (Explosion Proof Type) รวมถึงการติดตั้งที่เป็นแบบกันระเบิดด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนโคมไฟเดิม เป็นโคมไฟกันระเบิด (Explosion proof lighting) แล้ว วิธีการติดตั้ง กล่องพักสายไฟ เต้ารับ สวิตท์ไฟ หรือ พัดลม มอเตอร์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่นั้น จำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้เป็นแบบกันระเบิดด้วย

โคมไฟกันระเบิด (Explosion Proof Lightings) ที่ถูกออกแบบมาให้ตัวโคมไฟสามารถป้องกันแรงระเบิดที่เกิดจากภายในตัวโคมไฟได้ และไม่ทำให้พื้นที่เสี่ยงภายนอกเกิดการระเบิดตามไปด้วย

  • ตัวโคมไฟ Ex-d (Flameproof Enclosure) นั้นถูกผลิตด้วยวัสดุที่มีความหนาและมีความทนทานสูง เช่น อลูมิเนียมอัลลอย
  • สามารถทดการระเบิดที่อาจเกิดขึ้นภายในตัวโคมไฟได้ (Internal Explosion)
  • หากเกิดการระเบิดภายในโคมจริง ตัวโครงสร้างของโคมไฟจะต้องไม่เสียหาก
  • การะเบิดที่เกิดขึ้นภายในโคมสามารถคลายแรงดันภายใน (Hot gas) ออกมานอกตัวโคมได้ผ่านช่องระหว่างตัวโคมไฟกันระเบิดที่เรียกว่า Flameproof path / gap เมื่อแรงดันนั้นผ่านออกมาแล้วจะต้องเป็น Cool gas ซึ่งไม่ทำให้พื้นที่ภายนอกตัวโคมไฟระเบิดตามไปด้วย

ประเทศไทยไม่มีมาตรฐานอุปกรณ์กันระเบิดเป็นของเราเอง แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้งานจะใช้มาตรฐานอุปกรณ์กันระเบิดรวมถึงโคมไฟกันระเบิดของทางยุโรปคือ ATEX และ IECEx เพื่อใช้อ้างอิงว่าอุปกรณ์กันระเบิดนั้นมีการออกแบบ การผลิตได้ตามมาตรฐานและมั่นใจที่จะนำอุปกรณ์กันระเบิดดังกล่าวมาใช้ในโรงงานที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้

สำหรับโคมไฟกันระเบิด LED นั้นจะมีมาตรฐานจากทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คอยดูแลและควบคุมเกี่ยวกับโคมไฟที่ใช้หลอด LED อยู่ตามมาตรฐานมอก. 1955-2551 ว่าด้วยเรื่องบริภัณฑ์ส่องสว่าง เป็นมาตรฐานบังคับที่ผู้ผลิตและจำหน่ายโคมไฟกันระเบิด LED ทุกรายจะต้องผ่านการทดสอบและได้รับการรับรองตามมาตรฐานมอก. 1955-2551 นี้จึงสามารถจำหน่ายสินค้าโคมไฟกันระเบิด LED ในประเทศไทยได้

หมายเหตุ มอก.1955-2551 นี้ควบคุมเกี่ยวกับโคมไฟ LED เป็นหลัก ไม่ได้เป็นมาตรฐานเกี่ยวกับโคมไฟกันระเบิดแต่อย่างใด

ใบรับรอง

Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipisicing elit. Ex obcaecati ad qui possimus sit commodi repudiandae reprehenderit voluptates dolorem cum! Quas dolorum ipsa nulla nobis reprehenderit. Molestias voluptate architecto laborum.

header
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur.
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur.
header
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur.
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur.
header
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur.
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur.
test
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur.
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur.