0
สินค้าที่บันทึกใว้

สาระความรู้

ATEX โคมไฟกันระเบิด ความรู้

สาเหตุของการระเบิดโรงงานพลาสติก ปิโตรเคมี

จากเหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ของโรงงานผลิตโฟม เม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น ย่านกิ่งแก้ว เมื่อเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 แรงระเบิดทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ตัวโรงงานถูกเพลิงไหม้เกือบทั้งหมด และบ้านที่อยู่โดยรอบในรัศมี 1-2 กม.ได้รับแรงระเบิดจนทำให้ประตู หน้าต่างกระจกแตกเสียหายเป็นจำนวนมาก ต่อมามีการสั่งอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณข้างเคียงให้ออกจากพื้นที่โดยด่วน ทั้งนี้เราจะมาอธิบายถึงสาเหตุปัจจัยที่อาจจะเป็นต้นเหตุของการระเบิดในโรงงานอุตสาหกรรมในครั้งนี้ และวิธีการป้องกันตามมาตรฐานสากล   ทำไมโรงงานผลิตโฟม เม็ดพลาสติกถึงมีความเสี่ยงที่จะระเบิดได้ ? ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักสินค้าที่โรงงานนี้ผลิตก่อนว่าคืออะไร โรงงานนี้เน้นผลิตสินค้าประเภท โฟม EPS หรือ Expandable Polystyrene เป็นการผลิตเม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดหนึ่งในรูปเม็ดพลาสติกเรซิ่น ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม และสามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปโภคบริโภค โรงงานนี้ถือเป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ซึ่งจะมีการใช้วัถตุดิบและสารประกอบส่วนใหญ่เป็นสารเคมี ที่ได้มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน โดยอยู่ในรูปแบบของเหลวหรือก๊าซ ซึ่งถูกจัดเป็นสารอันตรายที่สามารถเกิดการระเบิดได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จแล้ว เช่นโฟมและเม็ดพลาสติกก็ยังเป็นสารไวไฟอีกด้วย จะเห็นได้ว่าตัววัตถุดิบที่เป็นสารเคมีนั้นถูกจัดให้เป็นสารอันตรายที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดได้ แต่ในส่วนของสินค้าตัวโฟมและเม็ดพลาสติกนั้นเป็นแค่เพียงสารไวไฟซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ แต่ไม่น่าจะเป็นสาเหตุของการระเบิด   ทำไมโรงงานถึงระเบิด ? จากที่อธิบายไปข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า แม้สินค้าของโรงงานที่เป็นวัตถุไวไฟ เช่นโฟมหรือเม็ดพลาสติกนั้น วัตถุเหล่านั้นอาจจะเป็นเชื้อของเหตุเพลิงไหม้ได้ แต่ก็ไม่น่าจะใช่สาเหตุของการระเบิดที่เกิดขึ้น แต่น่าจะเกิดจากสารสไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer) หรือตัวทำละลาย (Solvent) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตโฟมและพลาสติก เช่น โทลูอีน (Toluene) ต่างหากที่เป็นต้นเหตุของการระเบิดในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะเป็นในรูปแบบของเหลวก็ตาม เมื่อสารเคมีเหล่านี้ถูกจัดเก็บในอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดวาปไฟ (Flash point) สารเคมีเหล่านี้จะระเหยเป็นไอ (Vapor) และพร้อมที่จะระเบิดได้ ทั้งนี้เรามาดูกันว่าสาเหตุปัจจัยของการระเบิดนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 1. ออกซิเจน หรืออากาศ ในปริมาณที่เหมาะสม 2. สารไวไฟ ที่อยู่ในรูปของก๊าซหรือไอระเหยจากของเหลว 3. ประกายไฟ การจะเกิดระเบิดได้นันจะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 3 นี้อยู่ครบในเวลาเดียวกันจึงจะเกิดการระเบิดขึ้นได้ ตามหลักการของสามเหลี่ยมการระเบิด วิธีป้องกันการระเบิด ? วิธีการป้องกันการเกิดระเบิด สามารถทำได้ด้วยการจำกัดองค์ประกอบทั้ง 3…

ATEX โคมไฟกันระเบิด ความรู้

โคมไฟกันระเบิด Explosion Proof คืออะไร ก่อนติดตั้งต้องดูอะไรบ้าง?

เคยสังเกตไหมว่าบางพื้นที่ในเขตอุตสาหกรรม โรงงาน หรือโกดังสินค้า จะมีหลอดไฟที่ดูแข็งแรงป้องกันแน่นหนาเป็นพิเศษ ซึ่งหลอดไฟเหล่านั้นเรียกว่า ‘โคมไฟกันระเบิด’ และมีหน้าที่สำคัญตามชื่อเรียก ว่าแต่มีวิธีการใดบ้างที่จะใช้ประเมินว่าควรติดตั้งโคมไฟกันระเบิดตรงไหนและอย่างไร? เพื่อไม่เสียเวลามาร่วมทำความเข้าใจไปพร้อมกัน โคมไฟกันระเบิด Explosion proof คืออะไร? โคมไฟกันระเบิด Explosion Proof คือ โคมไฟแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ ตัวอย่างเช่น โรงงานปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน ห้องเก็บสารเคมี คลังน้ำมัน โกดังเก็บวัตถุไวไฟ และปั๊มก๊าซ รวมถึงบริเวณที่เต็มไปด้วยสาระเหยไวต่อการติดไฟ และพื้นที่ผลิตชิ้นงานขนาดเล็กมาก เช่น ผงแป้ง ผงสี เป็นต้น มาต่อกันที่ปัจจัยที่ทำให้ โคมไฟกันระเบิด หรือ Explosion Proof Lighting นี้ถึงจำเป็นต่อการติดตั้งเพื่อใช้ในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ 1. ในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ นั้นจะมีสารอันตราย สารไฟไว (Hazardous Materials) ที่พร้อมจะจุดติดระเบิด หรือติดไฟได้ง่าย อยู่ในพื้นที่อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อยู่แล้ว 2. เมื่อมีประกายไฟ หรือความร้อนที่สูงเพียงพอ จะทำให้สารอันตรายเหล่านั้นระเบิด และทำความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับหน้างานในทันที 3. อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงนั้นจะต้องเป็นอุปกรณ์กันระเบิดทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระเบิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพัดลม สวิทช์ไฟ มอเตอร์ รวมทั้งโคมไฟก็ต้องเป็นแบบกันระเบิดด้วย 4. โคมไฟกันระเบิดนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ตัวโคมไฟเอง ไม่เป็นต้นต่อหรือสาเหตุของการระเบิด โคมไฟกันระเบิดใช้วัสดุอลูมิเนียมอัลลอยที่หนาและแข็งแรงเป็นพิเศษทั้งกระจก ตัวโคม และชุดสายไฟ รวมถึงมีระบบป้องกันต่างๆ ใส่มาให้ อาทิ ระบบป้องกันไฟกระชาก และระบบป้องกันการจุดติดภายใน โดยหลายๆ คนเข้าใจผิดว่าโคมไฟกันระเบิดนั้นจะสามารถทนแรงระเบิดจากภายนอกได้ แต่แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น อะไรคือเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าต้องติดตั้งโคมไฟกันระเบิดในพื้นที่นั้นๆ? หลังจากทราบถึงความจำเป็นของโคมไฟกันระเบิดไปแบบครบถ้วนแล้ว เรามาดูต่อไปพร้อมกันว่าการติดตั้งโคมไฟกันระเบิดใน พื้นที่อันตราย (Hazardous area) มีเกณฑ์การพิจารณาอย่างไรบ้าง เพื่อให้เราสามารถเลือกโคมไฟกันระเบิด Zone 1 หรือ Zone 2 ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง มาตรฐาน…

ATEX โคมไฟกันระเบิด ความรู้

วิธีการแบ่งพื้นที่อันตราย Zone 1 Vs Zone 2 สำหรับการใช้โคมไฟกันระเบิด

พื้นที่อันตราย (Hazardous area) คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการรั่วไหลของก๊าซ ไอระเหยของสารไวไฟ หรือฝุ่น ที่ออกมา ทำให้มีโอกาสระเบิด หรือติดไฟ จำเป็นต้องมีการใช้โคมไฟกันระเบิด ในพื้นที่นั้นๆ ตัวอย่างพื้นที่อันตราย 1. โรงกลั่นน้ำมัน (ก๊าซ ไอระเหย) 2. โรงงานปิโตรเคมี (ก๊าซ ไอระเหย) 3. พื้นที่พ่นสี (ก๊าซ ไอระเหย) 4. พื้นที่เก็บสารเคมี (ก๊าซ ไอระเหย) 5. พื้นที่เก็บถ่านหิน (ฝุ่น) 6. โรงงานแป้งมันสำปะหลัง (ฝุ่น) 7. โรงงานทอผ้า (เส้นใย) 8. โรงงานเฟอร์นิเจอร์ (ฝุ่น) บริเวณอันตรายจะถูกจำแนกตามความเสี่ยงหรือโอกาสในการระเบิดของแต่ละพื้นที่ โดยมีการแบ่งบริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) และ NEC (อเมริกา) ดังนี้ บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) นั้นจะแบ่งเป็น 1. พื้นที่เสี่ยงสูงมาก โซน Zone 0 2. พี่นที่เสี่ยงสูง โซน Zone 1 3. พื้นที่เสี่ยงต่ำ โซน Zone 2 บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน NEC (อเมริกา) นั้นจะแบ่งเป็น 1. พื้นที่เสี่ยงสูง Division 1 2. พื้นที่เสี่ยงต่ำ Division 2 หลักเกณฑ์การแบ่งพื้นที่เสี่ยง (Hazardous Area Classification) พื้นที่โซน…

ATEX โคมไฟกันระเบิด เทคโนโลยี

โคมไฟกันระเบิด รุ่นใหม่ล่าสุด ตอบสนองพื้นที่เสี่ยงของโรงงานอุตสาหกรรม

โคมไฟกันระเบิด Explosion Proof Lighting โคมไฟชนิดใช้กับพื้นที่ที่ไวต่อการติดไฟหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ เช่นพื้นที่จัดเก็บสารเคมี น้ำมัน จัดเก็บวัตถุไวไฟ ปั๊มแก๊ส ใช้งานในพื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยง ไวต่อการติดไฟ มีความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ และบริเวณที่มีสารระเหยไวต่อการติดไฟ พื้นที่ทำการผลิตที่มีชิ้นงานขนาดเล็กมาก เช่น ฝุ่นผง ผงสี ผงแป้ง โคมไฟกันระเบิด โคมไฟชนิดใช้กับพื้นที่ที่ไวต่อการติดไฟหรือมีความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ เช่นพื้นที่จัดเก็บสารเคมี น้ำมัน จัดเก็บวัตถุไวไฟ ปั๊มแก๊ส ใช้งานในพื้นที่ทำงานที่มีความเสี่ยง ไวต่อการติดไฟ มีความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ และบริเวณที่มีสารระเหยไวต่อการติดไฟ พื้นที่ทำการผลิตที่มีชิ้นงานขนาดเล็กมาก เช่น ฝุ่นผง ผงสี ผงแป้ง Chinpower ยินดีมอบโคมไฟคุณภาพให้กับคุณ อาทิ โคมไฮเบย์ โคมไฟฟลัดไลท์ ชุดโคมไฟถนน รวมถึงโคมไฟชนิดอื่นอีกมากมาย

10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อ LED

เลือกซื้อ LED อย่างไรให้คุณรู้สึกว่า "ไม่ยาก" และ "ไม่พลาด"

ทำไมโรงงานขนาดใหญ่ เลือกใช้ชินเพาเวอร์

คุณภาพ VS ราคา VS บริการ

การออกแบบแสงสว่าง 3D ด้วย Dialux

โปรแกรมจำลองแสงสว่างแบบ 3 มิติ

โคมไฟกันระเบิด ZONE 1 ZONE 2 ต่างกันยังไง

การจำแนกประเภทของโคมไฟกันระเบิด