0
สินค้าที่บันทึกใว้

ทำไมต้องใช้หลอดไฟ โคมไฟ LED

โคมไฟไฮเบย์ LED Tube เทคโนโลยี

หลอดไฟ LED หรือ ไดโอดเปล่งแสง ดีอย่างไร

หลอดไฟ LED ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ผู้คนมากมายตั้งแต่ผู้ผลิตสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม จนกระทั้งผู้ใช้ตามบ้านต่างหันมาใช้ LED เพื่อที่จะประหยัดพลังงานลง อย่างไรก็ดีข้อดีของหลอดไฟ โคมไฟ LED นั้นมิได้มีเพียงแค่การกินพลังงานที่น้อยลง แต่มีข้อดีอื่นๆ ดังต่อไปนี้

1. ความส่องสว่างต่อวัตต์สูง (ประสิทธิภาพสูง) กว่าหลอดแบบดังเดิม (High Efficacy)

โคมไฟ และหลอดไฟ แอลอีดี LED ที่ขายอยู่ในปัจจุบันนั้นมีประสิทธิภาพสูงถึง 100-140 lm/w ซึ่งมากกว่าหลอดไส้ที่มีประสิทธิภาพเพียง 10 lm/w หรือมากกว่าถึง 10 เท่านั้นเองด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่าทำให้หลอดไฟ LED สามารถเปล่งแสงออกมาได้มากกว่าด้วยการกินไฟที่เท่ากัน (LED สว่างกว่าหลอดไส้ 10 เท่าที่วัตต์เท่ากัน) จากตารางจะเห็นได้ว่าหลอดไฟโซเดียมความดันสูง/ต่ำ (High/Low Pressure Sodium : HPS) นั้นมีประสิทธิภาพสูงถึง 160-200 lm/w ซึ่งมากกว่า LED อย่างมากแต่ทำไมคนก็ยังเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ โคมไฟ LED ข้อดีต่างๆที่เหลือจะเป็นคำตอบ

 

2. ส่องสว่างแบบมีทิศทาง ลดการสูญเสียของแสง (Directional Light)

ตัวหลอด หรือชิป LED นั้นจะมีการเปล่งแสงออกมาแบบมีทิศทาง ต่างกับหลอดไฟแบบดังเดิมนั้นแสงจะออกมารอบตัวหรือทุกทิศทาง (Indirectional Light) ทำให้เกิดการสูญเสียแสงเป็นอย่างมากในทิศทางที่ไม่ต้องการ ผู้ใช้งานต้องการให้แสงตกกระทบในพื้นที่หน้างานเป็นจุดประสงค์หลักแต่เมื่อแสงกระจายทุกทิศทางแล้ว แผ่นสะท้อนแสงในโคมไฟฟลูออเรสเซนต์ ฝาชีในโคมไฟแสงจันทร์ โคมไฟดาวไลท์ ถูกนำใช้เพื่อสะท้อนแสงที่ไปในทิศทางที่ไม่พึ่งประสงค์และบังคับทิศทางแสงให้กลับมาในทิศทางที่ต้องการซึ่งจะลดการศูนย์เสียแต่ก็ไม่ได้ทั้งหมด

ยกตัวอย่างเช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์นั้นจะมีแสงที่สูญเสียไปด้านบน ส่องขึ้นเพดานไป 50% แสงส่องลงมาในพื้นที่ใช้งานเพียง 50% ดังนั้นหากเราใช้หลอดไฟ LED ที่ส่องลงด้านล่างได้ทั้ง 100% ก็สามารถประหยัดพลังงานไปได้มาก

 

3. อายุการใช้งานยาวนาน (Long Lifespan)

เนื่องจาก LED เป็นการส่องสว่างแบบ Solid State Lighting (SSL) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่มีการเผาไส้ให้ร้อน หรือใช้ก๊าซเพื่อเป็นตัวเปล่งแสง ทำให้อายุการใช้งานของ หลอดไฟ LED นั้นยาวนานการหลอดไฟแบบดั้งเดิมอย่างมาก หลอดไฟ LED นั้นมีอายุการใช้งานนานถึง 30,000-50,000 ชม. (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแอลดีอีดี) ซึ่งมากกว่าหลอดไส้ถึง 40 เท่า เนื่องจากหลอดไส้มีอายุเพียง 1,200 ชม.

ข้อดีนี้ช่วงลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหลอดไฟเป็นอย่างมาก หากเป็นหลอดไฟที่ใช้ในโรงงานหลังคาสูง หลอดไฟดาวไลท์ในเพดานสูง หรือหลอดไฟที่ติดตั้งอยู่ในตำ่แหน่งที่เปลี่ยนยาก ค่าเปลี่ยนหลอดไฟในแต่ละครั้งอาจจะสูงถึงหลายพันบาทต่อหลอด ซึ่งบางโรงงานอาจจะไม่เปลี่ยนหลอด ปล่อยให้หลอดดับไว้นานนับปีก็มี

 

4. แสงลดลงน้อยตลอดอายุการใช้งาน หรือแสงไม่ดร็อป (Low Lumen Depreciation)

จากการใช้งานหลอดไฟนั้นเราจะสังเกตุได้ว่าไม่ว่าจะเป็นหลอดไส้ หลอดเมทัลฮาไลด์ (MH) หรือหลอดไฟ Fluorescent T8 /T5 นั้นความสว่างจะลดลง หรี่ลงเป็นอย่างมากจนกระทั้งเกือบจะไม่สว่าง เมื่อใช้งานไประยะหนึ่ง ส่วนในโรงงานนั้นเราจะเห็นได้ชัดว่าหลอดแสงจันทร์หรือหลอด MH นั้นจะมีความสว่างลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 40% จากความสว่างเริ่มต้น ทำให้ค่าความสว่างที่ผ่านมาตราฐานกรมโรงงานเมื่อเปลี่ยนหลอดไฟใหม่ๆ จากแสงที่ได้ 200lux ลดลงเหลือไม่ถึง 120 lux เมื่อใช้งานไปไม่ถึง 1 ปี ทำให้ต้องเปลี่ยนหลอดไฟใหม่เร็วกว่าอายุการใช้งานของหลอดที่ระบุไว้ เนื่องจากค่าแสงสว่างลดลงต่ำกว่ามาตราฐาน

โคมไฟLEDไฮเบย์ดีกว่าหลอดแบบเก่าเนื่องจากมีการลดลงของแสงน้อยมากเมื่อเทียบกับหลอดไฟแบบดังเดิม โดยแสงของหลอด LED นั้นจะลดลงไม่ถึง 10% ในการใช้งาน 20,000 ชม.แรก และจะลงลดไม่เกิน 30% ตลอดอายุการใช้งานที่ระบุไว้

 

5. จุดติดทันที (Instant start)

หลอดไฟ LED เปิดแล้วสว่างทันที ไม่ต้องรอนานเหมือนหลอด HID หลอดเมทัลฮาไลด์ (MH) ที่ต้องรอ 5-15 นาทีหลังจากที่เปิดถึงจะสว่างเต็มที่ 100%

 

6. ไม่มีรังสี UV

หลอด LED นั้นไม่มีรังสีอัลตราไวโอเลต UV ที่จะส่งผลเสียต่อสายตาและผิวหนัง ทำให้สาวออฟฟิตไม่ต้องกลัวดำหากใช้หลอดไฟ LED เหมือนที่ต้องทาคลีมกันแดดมาทำงานในออฟฟิตที่ใช้หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ T8 / T5

 

7. ไม่แผ่รังสีความร้อน

หลอดไฟแบบดังเดิมนั้นจะแผ่รังสีความร้อนออกมามากทำให้เรารู้สึกถึงความร้อนที่แผ่ออกมาจากหลอดไฟได้อย่างชัดเจน หากเรายืนหรือทำงานอยู่ใต้หลอดไฟ HID 400W เราจะรู้สึกร้อนอย่างมาก เนื่องจากหลอดไฟประเภทนี้แผ่รังสีความร้อนออกมาถึง 90% จากพลังงานความร้อนที่หมด แต่หลอดไฟ LED เช่น โคมไฟไฮเบย์ LED มีการแผ่ออกมาเพียง 10%

อย่างไรก็ดีหลอดไฟ LED นั้นมีพลังงานความร้อนที่ต้องถูกนำพา (Conduction) ออกไปจากหลอดถึง 90% ดังนั้นโคมไฟ LED จึงจำเป็นที่จะต้องมีระบบระบายความร้อบแบบนำพาเพื่อนำความร้อนส่วนนี้ไปทิ้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิเช่นนั้นหลอดไฟ LED ก็จะมีอายุการใช้งานสั้นลงอย่างมาก

 

8. ไม่มีสารปรอท

LED แอลอีดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีสารพิษต่างๆ เช่นสารปรอท ซึ่งอยู่ในหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน

 

9. ทดต่อแรงสั่นสะทือน (Vibration)

ผู้ใช้งานหลอดไฟตามบ้านอาจจะไม่เห็นถึงข้อดีข้อนี้ แต่ผู้ใช้หลอดไฟในโรงงานอุตสาหกรรมแล้วนั้น หลอดไฟที่ติดตั้งใช้งานในพื้นที่ที่มีการสั่นไหวและมีแรงสั่นสะเทือนจาก เครน เครื่องจักรต่างๆ นั้นล้วนทำให้หลอดไฟที่ใช้ขั้วหลอดมีการขยับและดับได้ เช่นหลอดไฟ T8/T5 ที่ใช้ขั้วหลอดแบบ G13/G5 นั้นจะดับบ่อย แต่หลอดไฟ LED นั้นสามารถใช้งานในพื้นที่ดังกล่าวได้อย่างไม่มีปัญหา

หลอดไฟ led ดีอย่างไร

ข้อเสียของหลอดไฟ LED

1. ราคาสูง

ถึงแม้ราคาจะสูงอยู่ แต่ราคาของหลอดไฟ LED นั้นลดลงมาอยากมากในช่วงที่ผ่านมา จนทำให้การลงทุนเปลี่ยนเป็นหลอดไฟแอลอีดีบางชนิดเช่น LED Tube ที่ใช้เปลี่ยนแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์นั้นมีจุดคืนทุนที่ต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นราคาที่ไม่แพงและคุ้มค่าอย่างมากในการลงทุนซื้อหลอด LED

 

2. มีตัวเลือกเยอะ เลือกยาก

เนื่องจากหลอดไฟ และโคมไฟ LED มีตัวรุ่นและตัวเหลือเยอะมาก รวมทั้งราคาที่แตกต่างกันอย่างมาก ทำให้ผู้ซื้อนั้นจำเป็นที่จะต้องศึกษา และรู้จักหลอดไฟแอลอีดีให้มากพอถึงจะสามารถตัดสินใจซื้อได้อยากคุ้มค่า ไม่ใช่แค่เพียงเทียบราคา กับหลอดไฟที่วัตต์เดียวกันได้ เหมือนการเลือกหลอดไฟแบบดังเดิมซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างของคุณภาพหลอดมากนัก

ยกตัวอย่างเช่น หลอดไฟ LED Tube ปัจจุบันมีจำหน่ายตั้งแต่ราคา 150 บาท จนไปถึงหลอดละ 1,000 บาท หลอดไฟ LED Tube 18W เหมือนกันสั่งซื้อในจำนวนเท่ากัน แต่ราคาแตกต่างกันมากกว่า 6 เท่าตัว ยิ่งเป็นการสั่งซื้อจำนวนมากเพื่อใช้ในโรงงาน หรืออาคารสำนักงาน แล้วราคาต่างกัน 10% ก็เป็นจำนวนเงินที่มากแล้ว ดังนั้นผู้ซื้อ หรือฝ่ายจัดซื้อจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับหลอดไฟ LED ก่อนการตัดสินใจสั่งซื้อหลอดไฟที่มีราคาถูกกว่า หรือสามารถติดต่อเรา เพื่อรับบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหลอดไฟ โคมไฟ LED โคมไฟโรงงาน โคมไฟฟลัดไลท์ โคมไฟถนน LED และยังรวมไปถึงโคมไฟกันระเบิดที่เหมาะสมกับงบประมาณและการใช้งานได้ฟรี ที่ 02-615-0660

10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อ LED

เลือกซื้อ LED อย่างไรให้คุณรู้สึกว่า "ไม่ยาก" และ "ไม่พลาด"

ทำไมโรงงานขนาดใหญ่ เลือกใช้ชินเพาเวอร์

คุณภาพ VS ราคา VS บริการ

การออกแบบแสงสว่าง 3D ด้วย Dialux

โปรแกรมจำลองแสงสว่างแบบ 3 มิติ

โคมไฟกันระเบิด ZONE 1 ZONE 2 ต่างกันยังไง

การจำแนกประเภทของโคมไฟกันระเบิด

บทความอื่นๆที่คุณอาจสนใจ

ความรู้ เทคโนโลยี

3 ข้อแตกต่างระหว่างหลอดไฟ LED กับหลอดไฟทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีไว้สำหรับให้ช่างไฟรู้ หรือเป็นทักษะเฉพาะด้านเพียงเท่านั้น จริง ๆ คนทั่วไปอย่างเรา ๆ ก็สามารถเรียนรู้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปิดโลกทัศน์และสามารถเลือกนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญหากคุณมีความรู้ก็จะสามารถเลือกใช้งานให้ได้รับความคุ้มค่าและได้รับประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับหลอดไฟ บางคนคิดว่าหลอดไฟที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มันก็เหมือน ๆ กันหมดนั่นแหละ ให้แสงสว่างเหมือน ๆ กัน ซึ่งความจริงแล้วมันแตกต่างกัน ซึ่งเราอยากให้คุณเปลี่ยนมุม มองใหม่ แล้วคุณจะพบกับความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง หลอดไฟธรรมดา กับ LED อยากรู้ก็ตามมาดูรายละเอียดกับเรากันได้เลย 1. หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้เกือบ 6 เท่า เพราะหลอดไฟทั่วไปจะสามารถให้แสงสว่างอยู่ที่ประมาณ 10,000 ชั่วโมง แต่สำหรับ หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 60.000 ชั่วโมงกันเลยยิ่งคุณเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงสรุปได้เลยว่าอายุการใช้งานของหลอดไฟ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันมากเลยทีเดียว 2. หลอดไฟ LED ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้เกือบเท่าตัว ด้วยคุณสมบัติที่สามารถให้อัตราแสงสว่างที่สูงกว่าหลอดไฟทั่วไป ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังให้แสงสว่างที่มีคุณภาพ มีอัตราการกระพริบที่สูง เป็นแสงสีขาวแท้ ช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แสงได้อย่างมีคุณภาพ สบายตา และไม่ต้องกังวลใจกับยอดค่าไฟในแต่ละเดือน 3. หลอดไฟ LED ปลอดภัยกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป เพราะไม่มีทั้งรังสียูวี ที่จะทำร้ายผิวของคุณ หรือจะเป็นการระบายความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นอย่างหลอดไฟทั่วไป ไม่มีสารพิษในหลอดไฟอย่างพวกสารปรอท เป็นหลอดไฟที่ปลอดภัยต่อคนใช้งานได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว หลอดไฟชนิดนี้นอกจากปลอดภัยต่อผู้ใช้งานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลร้ายต่อโลกของเราอีกด้วย เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง หลอดไฟ LED กับ หลอดไฟธรรมดาทั่วไป ทั้งในแง่ของความทันสมัยและคุณสมบัติ แบบนี้คุณยังจะลังเลใจในการเลือกใช้งานเพื่อให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าและให้แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพกับคุณอีกเหรอ อย่ารอช้าอีกเลยในการเลือกสรรหลอดไฟที่ดีที่สุดให้คุณได้ใช้งานกัน เพื่อให้คุณได้พบกับมิติใหม่ของแสงสว่าง ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพกันอย่างแท้จริง ดีทั้งประสิทธิภาพและดีกับสุขภาพของผู้ใช้งานอีกด้วย เป็นหลอดไฟที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างพึงพอใจสูงสุด อยากให้คุณเปิดใจและรับความนำสมัยของหลอดไฟ…

ความรู้ เทคโนโลยี

กฎหมายค่ามาตรฐานความเข้มแสงสว่าง (Lux Output Level) 2568

ชินเพาเวอร์ ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและขายโคมไฟไฮเบย์(โคมไฟสำหรับโรงงาน) , โคมไฟถนน , โคมไฟฟลัดไลท์ รวมถึงโคมไฟกันระเบิดและโคมไฟที่คุณอาจสนใจอีกมากมาย ขอแนะนำกฎหมายเกี่ยวกับความเข้มของแสงสว่าง (ค่าลักซ์ Lux) อ้างอิงตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ซึ่งใน หมวด 2 เกี่ยวกับแสงสว่างกฎหมายระบุไว้ว่า ข้อ ๔ นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด ต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยให้คำแนะนำและออกแบบแสงสว่างให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย? ปรึกษาฟรี! กดติดต่อเราได้ทันที ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561) ค่าลักซ์ (Lux) คือค่าความเข้มของแสงสว่าง (Illuminance) บนหน้างานมีหน่วยเป็นลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในกฎหมายแสงสว่างนั้นระบุค่าความต้องการแสงสว่างเป็นค่าเฉลี่ยของค่าลักซ์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่นั้นๆ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมีการกำหนดค่าความสว่างดังนี้ ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ลานจอดรถ ทางเดิน บันได :  50 ลักซ์ ป้อมยาม :  50 ลักซ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา :  100 ลักซ์ โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร :  100 ลักซ์ ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย : 300 ลักซ์ ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า) คลังสินค้า (Warehouse) : 200 ลักซ์…

เทคโนโลยี

การอนุรักษ์พลังงาน

นโยบายการประหยัดพลังงานของประเทศได้เริ่มต้นเมื่อปี 2516 ซึ่งอยู่ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 (2516-2519) โดยรัฐบาลในขณะนั้นได้กำหนดมาตรการป้องกันการขาดแคลนน้ำมัน และประหยัดการใช้น้ำมันและไฟฟ้าหลายประการ ซึ่งบางมาตรการมีลักษณะชั่วคราว เช่น ลดการใช้ไฟฟ้าแสงสว่างในทางสาธารณะลงร้อยละ 50 จำกัดขนาดเครื่องยนต์ของส่วนราชการ ที่จัดซื้อใหม่ไม่เกิน 1,300 ซีซี เป็นต้น ซึ่งมาตรการเหล่านี้ยกเลิกไปหมดแล้ว เมื่อสถานการณ์ผ่อนคลายลงสำหรับมาตรการ ด้านการอนุรักษ์พลังงาน หรือการประหยัดการ ใช้พลังงานที่ใช้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 4 (2520-2525) ก็ยังคงมีอย่างต่อเนื่องเนื่องจากการใช้น้ำมันยังมีอัตราที่สูงมาก อีกทั้งการผลิตไฟฟ้ายังพึ่งพาน้ำมันปิโตรเลียมจากต่างประเทศในอัตราที่สูง มาก มาตรการประหยัดพลังงานในขณะนั้นครอบคลุมทั้งการคมนาคมขนส่ง อุตสาหกรรม ภาคส่วนราชการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมาตรการชั่วคราวที่เน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น เช่น จำกัดความเร็วรถยนต์นั่ง และรถบรรทุก กำหนดบัสเลนห้ามจอดรถในถนนสายหลัก ห้ามไม่ให้โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้ไฟฟ้าในช่วง Peak Load สาธิตการประหยัดพลังงาน กำหนดเวลาปิดเปิดของสถานบริการเริงรมย์ ลดเวลาออกอากาศทางโทรทัศน์ในช่วงเย็น เป็นต้น