จากเหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ของโรงงานผลิตโฟม เม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น ย่านกิ่งแก้ว เมื่อเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 แรงระเบิดทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ตัวโรงงานถูกเพลิงไหม้เกือบทั้งหมด และบ้านที่อยู่โดยรอบในรัศมี 1-2 กม.ได้รับแรงระเบิดจนทำให้ประตู หน้าต่างกระจกแตกเสียหายเป็นจำนวนมาก ต่อมามีการสั่งอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณข้างเคียงให้ออกจากพื้นที่โดยด่วน
ทั้งนี้เราจะมาอธิบายถึงสาเหตุปัจจัยที่อาจจะเป็นต้นเหตุของการระเบิดในโรงงานอุตสาหกรรมในครั้งนี้ และวิธีการป้องกันตามมาตรฐานสากล
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักสินค้าที่โรงงานนี้ผลิตก่อนว่าคืออะไร โรงงานนี้เน้นผลิตสินค้าประเภท โฟม EPS หรือ Expandable Polystyrene เป็นการผลิตเม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดหนึ่งในรูปเม็ดพลาสติกเรซิ่น ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม และสามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปโภคบริโภค
โรงงานนี้ถือเป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ซึ่งจะมีการใช้วัถตุดิบและสารประกอบส่วนใหญ่เป็นสารเคมี ที่ได้มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน โดยอยู่ในรูปแบบของเหลวหรือก๊าซ ซึ่งถูกจัดเป็นสารอันตรายที่สามารถเกิดการระเบิดได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จแล้ว เช่นโฟมและเม็ดพลาสติกก็ยังเป็นสารไวไฟอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าตัววัตถุดิบที่เป็นสารเคมีนั้นถูกจัดให้เป็นสารอันตรายที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดได้ แต่ในส่วนของสินค้าตัวโฟมและเม็ดพลาสติกนั้นเป็นแค่เพียงสารไวไฟซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ แต่ไม่น่าจะเป็นสาเหตุของการระเบิด
จากที่อธิบายไปข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า แม้สินค้าของโรงงานที่เป็นวัตถุไวไฟ เช่นโฟมหรือเม็ดพลาสติกนั้น วัตถุเหล่านั้นอาจจะเป็นเชื้อของเหตุเพลิงไหม้ได้ แต่ก็ไม่น่าจะใช่สาเหตุของการระเบิดที่เกิดขึ้น แต่น่าจะเกิดจากสารสไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer) หรือตัวทำละลาย (Solvent) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตโฟมและพลาสติก เช่น โทลูอีน (Toluene) ต่างหากที่เป็นต้นเหตุของการระเบิดในครั้งนี้
ถึงแม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะเป็นในรูปแบบของเหลวก็ตาม เมื่อสารเคมีเหล่านี้ถูกจัดเก็บในอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดวาปไฟ (Flash point) สารเคมีเหล่านี้จะระเหยเป็นไอ (Vapor) และพร้อมที่จะระเบิดได้ ทั้งนี้เรามาดูกันว่าสาเหตุปัจจัยของการระเบิดนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
1. ออกซิเจน หรืออากาศ ในปริมาณที่เหมาะสม
2. สารไวไฟ ที่อยู่ในรูปของก๊าซหรือไอระเหยจากของเหลว
3. ประกายไฟ
การจะเกิดระเบิดได้นันจะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 3 นี้อยู่ครบในเวลาเดียวกันจึงจะเกิดการระเบิดขึ้นได้ ตามหลักการของสามเหลี่ยมการระเบิด
วิธีการป้องกันการเกิดระเบิด สามารถทำได้ด้วยการจำกัดองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อ ไม่ว่าจะเป็น 1. อากาศ 2. สารไวไฟ และ 3. ประกายไฟ ให้มีอย่างน้อย 1 องค์ประกอบไม่เกิดขึ้น เพื่อไม่ทำให้เกิดสภาวะที่รวมกันอย่างสมบูรณ์จนเกิดการระเบิดได้ เรามาดูกันในรายละเอียดว่า เราจะจัดการกับเหตุปัจจัยเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง
1. ออกซิเจน หรือ อากาศ
อากาศนั้นเป็นปัจจัยที่ยากที่สุดที่จะสามารถกำจัดออกไปได้ เนื่องจากในทุก ๆ ที่นั้นมีอากาศอยู่แล้ว
2. สารไวไฟ
อาจจะอยู่ในรูปของสารเคมีที่เป็น ก๊าซ หรือไอระเหยจากของเหลว และอาจจะเป็นฝุ่น หรือเส้นใยก็สามารถเป็นสารอันตรายที่มีโอกาสทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้ ในกรณีการระเบิดในโรงงานอุตสาหกรรมนั้น สารเคมีต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบจำเป็นในขบวนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ฉะนั้นวิธีการป้องกันสารอันตรายในส่วนที่ทำได้คือ จัดเก็บสารเหล่านี้ในบรรจุภัณฑ์ปิดและมีการตรวจสอบเพื่อป้องกันการรั่วไหลในระหว่างที่สารเคมีอยู่ในที่จัดเก็บ อย่างไรก็ดีระหว่างขบวนการผลิตนั้น โรงงานจำเป็นต้องเทสารเคมีดังกล่าวออกจากบรรจุภัณฑ์ปิดเพื่อนำมาผลิต ซึ่งในขั้นตอนนี้เราไม่สามารถจำกัดความเสี่ยงในส่วนของสารอันตรายได้
3.ประกายไฟ
ประกายไฟเป็นสาเหตุหลักของการระเบิด เมื่อในหน้างานมีอากาศและสารอัตรายอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว การเกิดประกายไฟ หรือมีความร้อนที่เพียงพอ ส่งผลทำให้องค์ประกอบของสามเหลี่ยมการระเบิดนั้นสมบูรณ์และเกิดระเบิดขึ้น
จะเห็นได้ว่าในโรงงานปิโตรเคมีนั้น บางขั้นตอนการผลิตไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะมีอากาศและสารอันตรายในหน้างานได้ ฉะนั้นเราจำเป็นต้องควบคุมและจำกัดการเกิดประกายไฟให้ได้มิเช่นนั้นก็อาจจะเกิดการระเบิดขึ้น
การควบคุมประกายไฟที่ดีที่สุดคือการหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่เสี่ยงต่อการระเบิด เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถสร้างประกายไฟขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ดีในพื้นที่การทำงานนั้นจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ในการทำงาน เช่น โคมไฟแสงสว่าง มอเตอร์ ปลั๊ก สวิตไฟ พัดลม เป็นต้น ฉะนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จะนำมาใช้ในพื้นที่เสี่ยงนี้จะต้องเป็นอุปกรณ์กันระเบิด หรือโคมไฟกันระเบิด เท่านั้น เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้เกิดประกายไฟหรือเป็นต้นเหตุของการระเบิดนั้นเอง
เมื่อหลีกเลี่ยงการมีอยู่ของสารอันตรายในหน้างานไม่ได้ การเลือกโคมไฟกันระเบิดให้เหมาะสมกับพื้นที่เสี่ยงนั้นก็มีความสำคัญอย่างมาก วิศวกรและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยภายในโรงงานจะต้องประเมินและระบุพื้นที่เสี่ยง (Hazardous area) ขึ้นมาให้ได้ว่าพื้นที่บริเวณไหนในโรงงานเป็นพื้นที่เสี่ยง และเป็นพื้นที่เสี่ยงระดับไหน Zone1 หรือ Zone 2 (วิธีการแบ่งพื้นที่อันตราย Zone 1 Vs Zone 2)
หลังจากนั้นแล้วก็จะต้องเลือกใช้อุปกรณ์กันระเบิด โคมไฟกันระเบิดให้ถูกต้องตามระดับความเสี่ยงของพื้นที่หน้างานนั้น ๆ ทางชินเพาเวอร์มีผู้เชี่ยวชาญที่จะคอยให้คำปรึกษาและช่วยเลือกโคมไฟกันระเบิดให้เหมาะกับหน้างานความเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อให้โรงงานวางใจได้ว่าโคมไฟที่ใช้นั้นจะไม่เป็นสาเหตุของการระเบิดในโรงงานอย่างแน่นอน
หมายเหตุ บทความนี้เป็นการวิเคราะห์ถึงเหตุปัจจัยที่น่าจะเป็นสาเหตุของการระเบิดที่เกิดขึ้นเท่านั้น มิได้นำเสนอถึงข้อสรุปที่แท้จริงของเหตุการณ์ เนื่องจากในขณะที่บทความนี้ถูกเพยแพร่นั้นยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการออกมา
แชร์
เลือกซื้อ LED อย่างไรให้คุณรู้สึกว่า "ไม่ยาก" และ "ไม่พลาด"
คุณภาพ VS ราคา VS บริการ
โปรแกรมจำลองแสงสว่างแบบ 3 มิติ
การจำแนกประเภทของโคมไฟกันระเบิด
สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วยโคมไฟถนนสาธารณะ LED แสงสีขาวที่มอบความสว่างชัดเจนยามค่ำคืนแล้วเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างโครงการ อาทิเช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เริ่มโครงการเปลี่ยนโคมไฟทางหลวงทั่วประเทศจำนวนกว่า 3 ล้านหลอดมาใช้เป็นแบบ LED หรือการที่บรรดาโครงการบ้านจัดสรรใหม่ ๆ ก็ได้เปลี่ยนมาใช้โคมไฟถนนสาธารณะ LED นั่นคือเหตุผลที่เราจะพาผู้อ่านไปเข้าใจว่าโคมไฟทางหลวงแอลอีดีมีประโยชน์อย่างไร คุ้มค่ากับการเป็นเจ้าของหรือไม่ รวมถึงควรพิจารณาสิ่งใดบ้างหากต้องเลือกมาใช้งาน – โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? – 3 สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกโคมไฟถนนสาธารณะ LED – โคมไฟถนนสาธารณะเป็นมากกว่าแสงสว่างยามค่ำคืน โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? รู้หรือไม่ว่า? โคมไฟถนนสาธารณะที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium) หรือหลอดโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium) ซึ่งให้แสงสว่างสีส้มนั้น ปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าโคมไฟถนน LED อย่างชัดเจน เช่น 1. ค่าความถูกต้องของสี CRI ต่ำมาก ส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ใช้รถใช้ถนน 2. หลอดทั้งสองชนิดนี้ต้องใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ ที่กินไฟเพิ่มขึ้นมา 20-50 วัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดต้นทุนแฝงในค่าไฟฟ้า 3. หลอดทั้งสองชนิดนี้มีอัตราการลดลงของแสงสูง เพราะเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว ความสว่างของโคมไฟถนนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ให้ความสว่างมากเฉพาะช่วงแรก ๆ ที่เปลี่ยนหลอดใหม่เท่านั้น จะเห็นได้ว่าถนนบางแห่งมืดมาก แม้โคมไฟจะเปิดใช้งานอยู่ก็ตาม 4. อายุการใช้งานต่ำ เฉลี่ย 20,000 ชั่วโมง ทำให้ต้องบำรุงรักษาและเปลี่ยนหลอดบ่อย อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของโคมไฟทางหลวงที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูงและหลอดโซเดียมความดันต่ำ จะไม่มีอยู่ในโคมไฟถนนสาธารณะ LED ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นั่นจึงทำให้เราเห็นว่าทั้งภาครัฐและเอกชนได้เลือกติดตั้งไฟถนนสาธารณะ LED เนื่องจากมีข้อดีและมอบประโยชน์ต่อคนใช้รถใช้ถนนที่มากกว่า ดังนี้ – ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 60-80% โคมไฟถนนสาธารณะ LED…
ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีไว้สำหรับให้ช่างไฟรู้ หรือเป็นทักษะเฉพาะด้านเพียงเท่านั้น จริง ๆ คนทั่วไปอย่างเรา ๆ ก็สามารถเรียนรู้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปิดโลกทัศน์และสามารถเลือกนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญหากคุณมีความรู้ก็จะสามารถเลือกใช้งานให้ได้รับความคุ้มค่าและได้รับประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับหลอดไฟ บางคนคิดว่าหลอดไฟที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มันก็เหมือน ๆ กันหมดนั่นแหละ ให้แสงสว่างเหมือน ๆ กัน ซึ่งความจริงแล้วมันแตกต่างกัน ซึ่งเราอยากให้คุณเปลี่ยนมุม มองใหม่ แล้วคุณจะพบกับความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง หลอดไฟธรรมดา กับ LED อยากรู้ก็ตามมาดูรายละเอียดกับเรากันได้เลย 1. หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้เกือบ 6 เท่า เพราะหลอดไฟทั่วไปจะสามารถให้แสงสว่างอยู่ที่ประมาณ 10,000 ชั่วโมง แต่สำหรับ หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 60.000 ชั่วโมงกันเลยยิ่งคุณเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงสรุปได้เลยว่าอายุการใช้งานของหลอดไฟ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันมากเลยทีเดียว 2. หลอดไฟ LED ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้เกือบเท่าตัว ด้วยคุณสมบัติที่สามารถให้อัตราแสงสว่างที่สูงกว่าหลอดไฟทั่วไป ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังให้แสงสว่างที่มีคุณภาพ มีอัตราการกระพริบที่สูง เป็นแสงสีขาวแท้ ช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แสงได้อย่างมีคุณภาพ สบายตา และไม่ต้องกังวลใจกับยอดค่าไฟในแต่ละเดือน 3. หลอดไฟ LED ปลอดภัยกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป เพราะไม่มีทั้งรังสียูวี ที่จะทำร้ายผิวของคุณ หรือจะเป็นการระบายความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นอย่างหลอดไฟทั่วไป ไม่มีสารพิษในหลอดไฟอย่างพวกสารปรอท เป็นหลอดไฟที่ปลอดภัยต่อคนใช้งานได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว หลอดไฟชนิดนี้นอกจากปลอดภัยต่อผู้ใช้งานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลร้ายต่อโลกของเราอีกด้วย เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง หลอดไฟ LED กับ หลอดไฟธรรมดาทั่วไป ทั้งในแง่ของความทันสมัยและคุณสมบัติ แบบนี้คุณยังจะลังเลใจในการเลือกใช้งานเพื่อให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าและให้แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพกับคุณอีกเหรอ อย่ารอช้าอีกเลยในการเลือกสรรหลอดไฟที่ดีที่สุดให้คุณได้ใช้งานกัน เพื่อให้คุณได้พบกับมิติใหม่ของแสงสว่าง ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพกันอย่างแท้จริง ดีทั้งประสิทธิภาพและดีกับสุขภาพของผู้ใช้งานอีกด้วย เป็นหลอดไฟที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างพึงพอใจสูงสุด อยากให้คุณเปิดใจและรับความนำสมัยของหลอดไฟ…
ชินเพาเวอร์ ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและขายโคมไฟไฮเบย์(โคมไฟสำหรับโรงงาน) , โคมไฟถนน , โคมไฟฟลัดไลท์ รวมถึงโคมไฟกันระเบิดและโคมไฟที่คุณอาจสนใจอีกมากมาย ขอแนะนำกฎหมายเกี่ยวกับความเข้มของแสงสว่าง (ค่าลักซ์ Lux) อ้างอิงตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ซึ่งใน หมวด 2 เกี่ยวกับแสงสว่างกฎหมายระบุไว้ว่า ข้อ ๔ นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด ต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยให้คำแนะนำและออกแบบแสงสว่างให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย? ปรึกษาฟรี! กดติดต่อเราได้ทันที ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561) ค่าลักซ์ (Lux) คือค่าความเข้มของแสงสว่าง (Illuminance) บนหน้างานมีหน่วยเป็นลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในกฎหมายแสงสว่างนั้นระบุค่าความต้องการแสงสว่างเป็นค่าเฉลี่ยของค่าลักซ์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่นั้นๆ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมีการกำหนดค่าความสว่างดังนี้ ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ลานจอดรถ ทางเดิน บันได : 50 ลักซ์ ป้อมยาม : 50 ลักซ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา : 100 ลักซ์ โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร : 100 ลักซ์ ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย : 300 ลักซ์ ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า) คลังสินค้า (Warehouse) : 200 ลักซ์…