
-หลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 ที่มีวงจรภายในหลอดแบบ Single End เท่านั้นถึงจะผ่านมอก.นี้ -หลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 ขนาดไม่เกิน 125W อยู่ในขอบข่ายที่จะต้องขอ มอก. 2779 นี้ -มอก. 2779 เป็นมอก.ควบคุม ผู้ผลิตและนำเข้าหลอดไฟ LED Tube จำเป็นต้องได้รับมอก.นี้เท่านั้น -การผลิต / นำเข้า / จำหน่าย หลอดไฟ LED Tube ที่ไม่ได้รับมอก. 2779 นี้ผิดกฎหมาย -เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม 2565 มอก. 2779–2562 หลอดแอลอีดีขั้วคู่ที่ออกแบบเพื่อเปลี่ยนทดแทน หลอดฟลูออเรสเซนซ์ชนิดตรง – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย DOUBLE-CAPPED LED LAMPS DESIGNED TO RETROFIT LINEAR FLUORESCENT LAMPS – SAFETY SPECIFICATIONS มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2779–2562 นี้เป็นการอ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 จากมาตรฐานสากล IEC 62776:2014+COR1:2015 เพื่อควบคุมการออกแบบหลอดไฟ LED Tube ให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน ก่อนที่จะมีมาตรฐานนี้ออกมาเราจะเห็นได้ว่าหลอดไฟ LED Tube ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นมีวงจรภายในหลอดให้เลือก 2 แบบ คือ 1….
หลอดไฟ LED Tube คือหลอดไฟ LED ที่รูปร่างคล้ายกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์เดิม มีขนาดความยาว และประเภทของขั้วหลอดไฟเหมือนเดิม ซึ่งคือขั้วแบบ G13 และมีความยาว 2 ขนาดคือ T8 ยาว 1.2 เมตร และยาว 0.6 เมตร ดังนั้นโดยทางกายภาพแล้วหลอดไฟ LED Tube T8 นั้นสามารถนำไปเปลี่ยนแทนหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเดิมได้เลย แต่วงจรการต่อหลอดไฟ LED Tube T8 นั้นจะไม่เหมือน วงจรการต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเดิม ดังนันเพื่อให้สามารถใช้งานหลอดไฟ LED Tube T8 ในโคมไฟเดิมได้นั้น จะต้องมีการโมดิฟาย หรือมีขั้นตอนการต่อวงจรใหม่เล็กน้อยเพื่อให้หลอดไฟ LED Tube T8 ใหม่นั้นสามารถใช้งานกับโคมไฟเดิมได้ ก่อนอื่นทางเราขออธิบายวงจรการต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบดังเดิมก่อนเพื่อปูพื้นฐานไปสู่การต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube T8 ในลำดับถัดไป การต่อวงจรหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (บัลลาสต์แกนเหล็ก) 1. ต่อสายไฟ L เข้ากับบัลลาสต์แกนเหล็ก 2. ต่อสายไฟออกจากบัลลาสต์แกนเหล็ก เข้ากับขาหลอดด้านบนซ้าย 3. ต่อสายออกจากขาหลอดด้านล่างซ้าย เข้ากับ Starter 4. ต่อสายออกจาก Starter เข้ากับขาหลอดด้านล่างขวา 5. ต่อสายไฟ N เข้ากับหลอดด้านบนขวา วงจรภายในหลอดไฟ LED Tube มีกี่แบบ ? หลอดไฟ LED Tube T8 ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยใน จะมีรูปแบบวงจรภายในหลอด 2 ประเภทหลัก คือ …
หลอดไฟนั้นถูกคิดค้นขึ้นเมื่อในช่วงศตวรรตที่ 1800 หรือกว่า 140 ปีมาแล้ว หลอดไฟแบบแรกนั้นเป็นต้นแบบของหลอดไฟที่เรียกว่าหลอดไส้ หรือหลอด Incandescent ที่ยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน หลังจากการประดิษฐ์หลอดไฟหลอดแรกขึ้นมาได้นั้น โลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อมนุษย์สามารถมีแสงสว่างในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องใช้เทียนไขอีกต่อไป หลังจากนั้นหลอดไฟก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ โดยมีจุดประสงค์หลักที่จะทำให้หลอดไฟนั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น หรือเรียกง่ายๆคือทำให้หลอดไฟประหยัดไฟมากขึ้น และให้แสงสว่างเพิ่มมากขึ้น โดยประเภทของหลอดไฟนั้นจะสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 3 กลุ่มเทคโนโลยี คือ 1. หลอดไส้ (Incandescent) 2. หลอดก๊าซคายประจุ (Gas Discharge) 3. หลอดคายประจุสถานะแข็ง (Solid State Discharge) หลอดไฟประเภทที่ 1 : เผาไส้ให้ร้อน (Incandescent) หลอดไฟประเภทนี้ใช้หลักการทำให้เกิดแสงสว่างโดยการปล่อยกระแสไฟผ่านไส้หลอด ทำให้ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะร้อนและเปล่งแสงสว่างออกมาได้ เป็นหลอดไฟที่ไม่ซับซ้อนและถูกใช้กันอย่างแพระหลายในช่วงเกือบ 100 ปีแรกของวิวัฒนการการของหลอดไฟ 1.1 หลอดไส้ Incandescent ส่วนมากใช้ไส้หลอดที่ทำมากจากทังสเตน (Tungsten Filament) เพื่อเป็นชิ้นส่วนหลักที่เมื่อกระแสไฟไหลผ่านแล้วจะทำให้อุณหภูมืที่ตัวไส้หลอดสูงขึ้นและทำให้เกิดแสงสว่างออกมา โดยหลอดไส้จะมีข้อดีคือสามารถให้ค่าความถูกต้องของสีได้ดีมาก หรือ CRI = 100 เมื่อนำหลอดไฟประเภทหลอดไส้ไปส่องวัตถุใดๆแล้วเราจะสามารถเห็นสีสันของวัตถุนั้นได้สดใสและสมจริงๆมากๆ ถึงแม้ว่าแสงที่ปรากฎหรืออุณหภูมิสี (CCT) ของหลอดไส้จะออกไปทางสีเหลืองอมส้ม (CCT = 2700K) ก็ตาม อย่างไรก็ดีอายุการใช้งานของหลอดไส้นั้นค่อนข้างต่ำ มีอายุเพียง 1,000 ชม. และขาดง่าย กินไฟมาก มีค่าประสิทธิภาพ (Efficacy) ต่ำมาก เพียง 10-15 ลูเมนต่อวัตต์ และยังปล่อยความร้อนออกมาค่อนข้างมาก แต่หลอดไฟประเภทนี้มีราคาถูก 1.2 หลอดฮาโลเจน Halogen หลอดไฟฮาโลเจนนั้นเป็นหลอดที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากหลอดไส้ และยังถึงว่ายังเป็นหลอดที่อยู่ในประเภทหลักหรือปรเภทหลอดไส้อยู่ โดยนักพัฒนาได้ทำการเติมสารกุล่มฮาโลเจน (เมทิลีนโบรไมด์) เข้าไปในหลอดไส้ เพื่อช่วยลดการระเหิดของขดลวดทังสเตน…
หลอดไฟ LED หรือ ไดโอดเปล่งแสง ดีอย่างไร หลอดไฟ LED ได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ผู้คนมากมายตั้งแต่ผู้ผลิตสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม จนกระทั้งผู้ใช้ตามบ้านต่างหันมาใช้ LED เพื่อที่จะประหยัดพลังงานลง อย่างไรก็ดีข้อดีของหลอดไฟ โคมไฟ LED นั้นมิได้มีเพียงแค่การกินพลังงานที่น้อยลง แต่มีข้อดีอื่นๆ ดังต่อไปนี้ 1. ความส่องสว่างต่อวัตต์สูง (ประสิทธิภาพสูง) กว่าหลอดแบบดังเดิม (High Efficacy) โคมไฟ และหลอดไฟ แอลอีดี LED ที่ขายอยู่ในปัจจุบันนั้นมีประสิทธิภาพสูงถึง 100-140 lm/w ซึ่งมากกว่าหลอดไส้ที่มีประสิทธิภาพเพียง 10 lm/w หรือมากกว่าถึง 10 เท่านั้นเองด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่าทำให้หลอดไฟ LED สามารถเปล่งแสงออกมาได้มากกว่าด้วยการกินไฟที่เท่ากัน (LED สว่างกว่าหลอดไส้ 10 เท่าที่วัตต์เท่ากัน) จากตารางจะเห็นได้ว่าหลอดไฟโซเดียมความดันสูง/ต่ำ (High/Low Pressure Sodium : HPS) นั้นมีประสิทธิภาพสูงถึง 160-200 lm/w ซึ่งมากกว่า LED อย่างมากแต่ทำไมคนก็ยังเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ โคมไฟ LED ข้อดีต่างๆที่เหลือจะเป็นคำตอบ 2. ส่องสว่างแบบมีทิศทาง ลดการสูญเสียของแสง (Directional Light) ตัวหลอด หรือชิป LED นั้นจะมีการเปล่งแสงออกมาแบบมีทิศทาง ต่างกับหลอดไฟแบบดังเดิมนั้นแสงจะออกมารอบตัวหรือทุกทิศทาง (Indirectional Light) ทำให้เกิดการสูญเสียแสงเป็นอย่างมากในทิศทางที่ไม่ต้องการ ผู้ใช้งานต้องการให้แสงตกกระทบในพื้นที่หน้างานเป็นจุดประสงค์หลักแต่เมื่อแสงกระจายทุกทิศทางแล้ว แผ่นสะท้อนแสงในโคมไฟฟลูออเรสเซนต์ ฝาชีในโคมไฟแสงจันทร์ โคมไฟดาวไลท์ ถูกนำใช้เพื่อสะท้อนแสงที่ไปในทิศทางที่ไม่พึ่งประสงค์และบังคับทิศทางแสงให้กลับมาในทิศทางที่ต้องการซึ่งจะลดการศูนย์เสียแต่ก็ไม่ได้ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์นั้นจะมีแสงที่สูญเสียไปด้านบน ส่องขึ้นเพดานไป 50% แสงส่องลงมาในพื้นที่ใช้งานเพียง 50% ดังนั้นหากเราใช้หลอดไฟ…
เลือกซื้อ LED อย่างไรให้คุณรู้สึกว่า "ไม่ยาก" และ "ไม่พลาด"
คุณภาพ VS ราคา VS บริการ
โปรแกรมจำลองแสงสว่างแบบ 3 มิติ
การจำแนกประเภทของโคมไฟกันระเบิด