0
สินค้าที่บันทึกใว้

สาระความรู้

มอก. LED Tube ความรู้

มอก. 2779-2562 : มาตรฐานความปลอดภัยหลอดไฟ LED Tube

-หลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 ที่มีวงจรภายในหลอดแบบ Single End เท่านั้นถึงจะผ่านมอก.นี้ -หลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 ขนาดไม่เกิน 125W อยู่ในขอบข่ายที่จะต้องขอ มอก. 2779 นี้ -มอก. 2779 เป็นมอก.ควบคุม ผู้ผลิตและนำเข้าหลอดไฟ LED Tube จำเป็นต้องได้รับมอก.นี้เท่านั้น -การผลิต / นำเข้า / จำหน่าย หลอดไฟ LED Tube ที่ไม่ได้รับมอก. 2779 นี้ผิดกฎหมาย -เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 29 มีนาคม 2565   มอก. 2779–2562 หลอดแอลอีดีขั้วคู่ที่ออกแบบเพื่อเปลี่ยนทดแทน หลอดฟลูออเรสเซนซ์ชนิดตรง – คุณลักษณะที่ต้องการด้านความปลอดภัย DOUBLE-CAPPED LED LAMPS DESIGNED TO RETROFIT LINEAR FLUORESCENT LAMPS – SAFETY SPECIFICATIONS มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 2779–2562 นี้เป็นการอ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับหลอดไฟ LED Tube T8 และ T5 จากมาตรฐานสากล IEC 62776:2014+COR1:2015 เพื่อควบคุมการออกแบบหลอดไฟ LED Tube ให้มีความปลอดภัยในการใช้งาน ก่อนที่จะมีมาตรฐานนี้ออกมาเราจะเห็นได้ว่าหลอดไฟ LED Tube ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นมีวงจรภายในหลอดให้เลือก 2 แบบ คือ 1….

โคมไฟไฮเบย์ ความรู้

เจาะลึกข้อมูล(ไม่)ลับ ทำไมโคมไฟไฮเบย์ LED Thunder High Bay มีอายุการได้ถึง 100,000 ชั่วโมง

เทคโนโลยีแอลอีดีถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยรูปแบบการประหยัดพลังงาน ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่เหนือกว่าหลอดไส้ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดเทคโนโลยีเก่า ทำให้หลอดไฟ LED เข้ามาแทนที่และครองตลาดผลิตภัณฑ์ด้านแสงสว่างได้ในที่สุด โคมไฟแอลอีดีไฮเบย์เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาก สำหรับนำมาใช้ทดแทนโคมไฟหลอดเมทัลฮาไลด์หรือหลอดไฟแสงจันทร์ ในภาคธุรกิจเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า สนามกีฬาในร่ม ฯลฯ LED Thunder High Bay สุดยอดโคมไฮเบย์จากชินเพาเวอร์ มาพร้อมด้วยดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ ประสิทธิภาพส่องสว่างสูง 190lm/w มอบความมั่นใจในคุณภาพระดับมืออาชีพด้วยการรับประกันสินค้ายาวนานถึง 7 ปี และหนือกว่าใครในอุตสาหกรรมเดียวกัน ด้วยอายุการใช้งาน 100,000 ชั่วโมง มาดูกันเลยว่า ทำไมโคมแอลอีดีไฮเบย์รุ่น Thunder จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับระบบไฟส่องสว่างของคุณในตอนนี้   ระบายความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพด้วยฮีทซิงค์ขนาดใหญ่ LED ไฮเบย์มีชุดขับหลอดอิเล็กทรอนิกส์ (LED Driver) ทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้า กระแสสลับให้เป็นไฟกระแสตรง เพื่อส่งไฟให้ตัวชิป LED ซึ่งมีหน้าที่ในการเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้ออกมาอยู่ในรูปของแสงสว่าง โดยทั้ง 2 กระบวนการนั้น จะปล่อยการสูญเสียออกมาในรูปแบบของความร้อน ทั้งที่ LED Driver และ LED Chip  โดย LED Chip จะมีประสิทธิภาพลดลงอย่างรวดเร็วและมีอายุสั้นลง เมื่ออยู่ในสภาวะที่อุณหภูมิร้อนขึ้น เช่นเดียวกันกับ LED Driver จะมีอายุลดลงถึงครึ่งหนึ่ง เมื่อตัวไดร์เวอร์มีอุณหภูมิสูงขึ้นเพียง 10C° ดังนั้นการสร้างระบบระบายความร้อนที่ดีจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  โคมไฟ LED High Bay รุ่น Thunder ผลิตจากอะลูมิเนียมหล่อขึ้นรูปคุณภาพสูง ด้านหน้าโคมมีเส้นผ่านศูนย์กลางที่กว้างถึง 360 มิลลิเมตร และมีแผงระบายความร้อน (Heat Sink) ขนาดใหญ่หลายสิบซี่อยู่ด้านหลังสำหรับเพิ่มความสามารถด้านการระบายความร้อน ให้อากาศไหลผ่านและนำความร้อนสะสมออกมาสู่ภายนอกตัวโคมไฟได้อย่างรวดเร็วที่สุด และแน่นอนว่า ด้วยโครงสร้างของโคมไฟที่ถูกออกแบบขึ้นใหม่ทั้งหมดนั้น สามารถรองรับการเปิดใช้งานหนักทั้งปี…

โคมไฟฟลัดไลท์ โคมไฟสนาม ความรู้

มุมองศาหลอดไฟ LED (Beam Angle) ตัวแปรสำคัญในการออกแบบแสงสว่าง

ระบบของแสงสว่างที่มีความเหมาะสมสำหรับบ้านพักอาศัยสถานที่ทำงาน รวมถึงโรงงาน คลังสินค้านั้น ล้วนเป็นความต้องการพื้นฐานของทุกคน การออกแบบแสงสว่างนั้น ไม่ได้ถูกเจาะจงถึงความเข้มของแสงสว่าง (ค่า lux) หรือประสิทธิภาพของหลอดไฟแอลอีดีเท่านั้น  แต่ในอีกแง่มุมหนึ่ง มุมองศาการกระจายแสงของหลอดไฟ หรือ Beam Angle ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการออกแบบระบบแสงสว่าง ซึ่งบทความนี้จะพาคุณไปรู้จักมุมองศาของหลอดไฟและค้นหามุมองศาที่เหมาะสม รวมถึงแจกแจงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย หากเลือกใช้โคมไฟแอลอีดีที่มีมุมองศาหรือมุมกระจายแสงไม่สอดคล้องกับหน้างานจริง มุมองศาของแสงคืออะไร? มุมองศาของแสง (Beam Angle) คือความกว้างของแสงที่ถูกกระจายหรือเปล่งแสงออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงใดแหล่งกำเนิดแสงหนึ่ง และเพื่อให้คุณเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น อาจนึกถึงแสงสว่างจากเทียนไขหรือหลอดไส้ที่เปล่งแสงออกมารอบทิศทาง กล่าวคือเทียนไขหรือหลอดไส้นี้มีมุมองศาของแสงที่ 360 องศานั่นเอง   มุมองศาของหลอด LED หรือ Beam Angle วัดได้อย่างไร? มุมองศา Beam Angle ของโคมไฟทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นโคมไฟไฮเบย์ LED โคมไฟสปอร์ตไลท์ LED การกำหนดมุมองศาของโคมไฟเหล่านี้ จะถูกวัดจากมุมองศาความกว้างของลำแสงที่ปล่อยออกมาจากโคมด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน และกำหนดให้มุมองศาของโคมไฟ (Beam angle) นี้สิ้นสุดเมื่อความเข้มของแสงจากกึ่งกลางของโคมไฟ จุดที่มีความเข้มของแสงสูงสุด แผ่ออกไปจนเหลือความเข้มของแสงเพียงครึ่งหนึ่งหรือ 50% หรือที่เรียกว่า วิธีการวัด Beam angle แบบ full width at half maximum (FWHM) โดยจะให้โคมไฟมีความเข้มของการส่องสว่างได้เต็มที่ 100% เท่านั้น ในส่วนของความเข้มแสงส่วนที่เหลือที่มีค่าต่ำกว่า 50% จะถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Spill Light และจะไม่ถูกรวมอยู่ในการเรียกว่าเป็นมุมองศา หรือ Beam Angel ของโคมไฟแอลอีดี  หากเราต้องการจะดูความกว้างของมุมแสงทั้งหมดที่โคมไฟสามารถกระจายได้ จะต้องดูด้วยค่าที่เรียกว่า Field Angle ซึ่งคือความกว้างของมุมกระจายแสงจะอยู่ในช่วงความเข้มแสงไม่น้อยกว่า 10% Beam angle =…

ความรู้ เทคโนโลยี

บรรยากาศดีๆ สร้างได้ด้วยการเปลี่ยนโทนสีของแสง CCT ในหลอดไฟแอลอีดี

นอกเหนือไปจากกำลังวัตต์ (Watt) และประสิทธิภาพ (lm/w) ของไฟ LED แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม สำหรับการเลือกซื้อหลอดไฟ LED นั่นก็คือสีของแสง หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า อุณหภูมิสี (Correlated Color Temperature: CCT) ที่มีหน่วยเป็นค่า K (เคลวิน) นั่นเอง การเลือกสีของหลอดไฟ LED บ่อยครั้งมักถูกเลือกจากความชอบส่วนตัวของผู้ซื้อ ทำให้ปัจจัยนี้ดูเหมือนไม่มีข้อจำกัดที่ชัดเจน และการตัดสินใจซื้อดูเป็นเรื่องที่ยากด้วยเช่นกัน ซึ่งในบทความนี้ เราจะพาไปทำความเข้าใจและแชร์ข้อมูลจริงที่เรามีถึงคุณสมบัติของแต่ละอุณหภูมิสี จนทำให้คุณสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ของหลอดไฟ LED โคมไฮเบย์ หรือไฟถนน ได้เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด CCT สีของแสง หรือ อุณหภูมิสีคืออะไร? CCT เป็นอักษรย่อที่หลายคนคุ้นเคยเมื่อต้องการเลือกซื้อไฟ LED โดยค่านี้จะมีระบุอยู่ในทุกฉลากสินค้าและข้อมูลจำเพาะของผลิตภัณฑ์หรือมักได้รับการสอบถามความต้องการจากผู้ขายอยู่บ่อยครั้ง  Correlated Color Temperature หรือ CCT คือสีของแสงหรืออุณหภูมิสี โดยเป็นศัพท์เฉพาะทางด้านแสงสว่าง ที่ใช้เรียกเฉดสีที่ปรากฎออกมาจากแหล่งกำเนิดแสง เช่น หลอดไฟแอลอีดี, โคม LED High bay, โคม LED Flood light  ว่ามีความเป็นสีเหลือง ความเป็นสีน้ำเงิน ของแสงที่ปล่อยออกมาอย่างไร ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นเคลวิน (K) โดยหน่วยวัดนี้ เปรียบเทียบมาจากการนำวัตถุสีดำมาเผาไหม้และกำหนดให้การที่สีพื้นผิวของวัตถุที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อได้รับความร้อนที่องศาเคลวินใดองศาเคลวินหนึ่งเท่ากับสีของแสงที่ปรากฎออกมาจากโคมไฟนั่นเอง แท้จริงแล้วสีของแสงมีผลอย่างมากต่ออารมณ์ พลังงาน และการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา มาดูกันว่า แสงจากหลอดไฟ LED สีไหน ที่จะเหมาะกับห้องนอน ออฟฟิศ ไลน์ผลิตในโรงงาน หรือโกดังสินค้าของคุณมากที่สุด อุณหภูมิสีสร้างสรรค์บรรยากาศได้อย่างไร? แสงวอร์มไวท์ (Warm White) : เป็นอุณหภูมิสีโทนอบอุ่นที่ มีค่า CCT…

LED Tube ความรู้

สรุปวิธีต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube T8

หลอดไฟ LED Tube คือหลอดไฟ LED ที่รูปร่างคล้ายกับหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์เดิม มีขนาดความยาว และประเภทของขั้วหลอดไฟเหมือนเดิม ซึ่งคือขั้วแบบ G13 และมีความยาว 2 ขนาดคือ T8 ยาว 1.2 เมตร และยาว 0.6 เมตร ดังนั้นโดยทางกายภาพแล้วหลอดไฟ LED Tube T8 นั้นสามารถนำไปเปลี่ยนแทนหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเดิมได้เลย แต่วงจรการต่อหลอดไฟ LED Tube T8 นั้นจะไม่เหมือน วงจรการต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบเดิม ดังนันเพื่อให้สามารถใช้งานหลอดไฟ LED Tube T8 ในโคมไฟเดิมได้นั้น จะต้องมีการโมดิฟาย หรือมีขั้นตอนการต่อวงจรใหม่เล็กน้อยเพื่อให้หลอดไฟ LED Tube T8 ใหม่นั้นสามารถใช้งานกับโคมไฟเดิมได้ ก่อนอื่นทางเราขออธิบายวงจรการต่อหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แบบดังเดิมก่อนเพื่อปูพื้นฐานไปสู่การต่อวงจรหลอดไฟ LED Tube T8 ในลำดับถัดไป การต่อวงจรหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ (บัลลาสต์แกนเหล็ก) 1. ต่อสายไฟ L เข้ากับบัลลาสต์แกนเหล็ก 2. ต่อสายไฟออกจากบัลลาสต์แกนเหล็ก เข้ากับขาหลอดด้านบนซ้าย 3. ต่อสายออกจากขาหลอดด้านล่างซ้าย เข้ากับ Starter 4. ต่อสายออกจาก Starter เข้ากับขาหลอดด้านล่างขวา 5. ต่อสายไฟ N เข้ากับหลอดด้านบนขวา     วงจรภายในหลอดไฟ LED Tube มีกี่แบบ ? หลอดไฟ LED Tube T8 ที่มีจำหน่ายในประเทศไทยใน จะมีรูปแบบวงจรภายในหลอด 2 ประเภทหลัก คือ  …

โคมไฟถนน ความรู้

‘โคมไฟถนนสาธารณะ’ ต้องเลือกอย่างไรถึงได้ของดีมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย?

สังเกตไหมว่าโคมไฟถนนสาธารณะแสงสีส้มที่เราเคยพบเห็นในสมัยก่อน ปัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วยโคมไฟถนนสาธารณะ LED แสงสีขาวที่มอบความสว่างชัดเจนยามค่ำคืนแล้วเป็นส่วนใหญ่ ตัวอย่างโครงการ อาทิเช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้เริ่มโครงการเปลี่ยนโคมไฟทางหลวงทั่วประเทศจำนวนกว่า 3 ล้านหลอดมาใช้เป็นแบบ LED หรือการที่บรรดาโครงการบ้านจัดสรรใหม่ ๆ ก็ได้เปลี่ยนมาใช้โคมไฟถนนสาธารณะ LED นั่นคือเหตุผลที่เราจะพาผู้อ่านไปเข้าใจว่าโคมไฟทางหลวงแอลอีดีมีประโยชน์อย่างไร คุ้มค่ากับการเป็นเจ้าของหรือไม่ รวมถึงควรพิจารณาสิ่งใดบ้างหากต้องเลือกมาใช้งาน – โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? – 3 สิ่งที่ต้องพิจารณาในการเลือกโคมไฟถนนสาธารณะ LED – โคมไฟถนนสาธารณะเป็นมากกว่าแสงสว่างยามค่ำคืน   โคมไฟถนนสาธารณะ LED มีประโยชน์ต่อคนใช้รถและคนเดินถนนอย่างไร? รู้หรือไม่ว่า? โคมไฟถนนสาธารณะที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูง (High Pressure Sodium) หรือหลอดโซเดียมความดันต่ำ (Low Pressure Sodium) ซึ่งให้แสงสว่างสีส้มนั้น ปัจจุบันมีประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าโคมไฟถนน LED อย่างชัดเจน เช่น 1. ค่าความถูกต้องของสี CRI ต่ำมาก ส่งผลต่อการมองเห็นของผู้ใช้รถใช้ถนน 2. หลอดทั้งสองชนิดนี้ต้องใช้งานร่วมกับบัลลาสต์ ที่กินไฟเพิ่มขึ้นมา 20-50 วัตต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดต้นทุนแฝงในค่าไฟฟ้า 3. หลอดทั้งสองชนิดนี้มีอัตราการลดลงของแสงสูง เพราะเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว ความสว่างของโคมไฟถนนจะลดลงอย่างรวดเร็ว ให้ความสว่างมากเฉพาะช่วงแรก ๆ ที่เปลี่ยนหลอดใหม่เท่านั้น จะเห็นได้ว่าถนนบางแห่งมืดมาก แม้โคมไฟจะเปิดใช้งานอยู่ก็ตาม 4. อายุการใช้งานต่ำ เฉลี่ย 20,000 ชั่วโมง ทำให้ต้องบำรุงรักษาและเปลี่ยนหลอดบ่อย อย่างไรก็ตาม ข้อด้อยของโคมไฟทางหลวงที่ใช้หลอดโซเดียมความดันสูงและหลอดโซเดียมความดันต่ำ จะไม่มีอยู่ในโคมไฟถนนสาธารณะ LED ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน นั่นจึงทำให้เราเห็นว่าทั้งภาครัฐและเอกชนได้เลือกติดตั้งไฟถนนสาธารณะ LED เนื่องจากมีข้อดีและมอบประโยชน์ต่อคนใช้รถใช้ถนนที่มากกว่า ดังนี้ – ประหยัดค่าไฟฟ้าได้กว่า 60-80% โคมไฟถนนสาธารณะ LED…

10 ข้อควรรู้ก่อนซื้อ LED

เลือกซื้อ LED อย่างไรให้คุณรู้สึกว่า "ไม่ยาก" และ "ไม่พลาด"

ทำไมโรงงานขนาดใหญ่ เลือกใช้ชินเพาเวอร์

คุณภาพ VS ราคา VS บริการ

การออกแบบแสงสว่าง 3D ด้วย Dialux

โปรแกรมจำลองแสงสว่างแบบ 3 มิติ

โคมไฟกันระเบิด ZONE 1 ZONE 2 ต่างกันยังไง

การจำแนกประเภทของโคมไฟกันระเบิด

โคมไฟฟลัดไลท์ โคมไฟสนาม ความรู้

วิธีเลือกโคมไฟสนาม LED สำหรับสนามฟุตบอลฉบับมือโปร

คุณคงสงสัยว่าการทำให้บริเวณสนามฟุตบอลมีค่าความสว่างตรงตามมาตรฐานและความต้องการอย่างแท้จริง ทำได้ด้วยการเลือกใช้โคมไฟสปอร์ตไลท์ LED กำลังวัตต์สูง หรือติดตั้งโคมไฟฟลัดไลท์จำนวนมาก ใช่ไหม? หรือที่จริงแล้วมีเกณฑ์อะไรให้ต้องพิจารณาบ้าง รวมถึงต้องระมัดระวังอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่า? บทความนี้จะให้คำแนะนำทุกอย่างเกี่ยวกับการเลือกโคมไฟ LED สำหรับสนามฟุตบอล โดยอ้างอิงตามมาตรฐานของ FIFA และ UEFA ถ้าคุณพร้อมแล้วเรามาเริ่มทำความเข้าใจไปด้วยกัน   ความสว่างในสนามฟุตบอลคืออะไรกันแน่ มีความแตกต่างกันอย่างไร? บอกก่อนเลยว่าการเลือกโคมไฟสนาม LED ต้องพิจารณาระดับความสว่าง (Lux) ในสนามฟุตบอล ซึ่งมีเกณฑ์การแบ่งที่ชัดเจน เริ่มจากพิจารณาวัตถุประสงค์ในการถ่ายทอดทางโทรทัศน์เป็นหลัก แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องเจาะลึกลงไปด้วยว่า สนามนั้นใช้สำหรับการแข่งขันในระดับหรือลีกใด ด้านล่างนี้ จะเป็นตัวอย่างตารางแสดงรายละเอียดของระดับความสว่างที่แนะนำสำหรับสนามฟุตบอลตามมาตรฐาน FIFA แบบเข้าใจง่าย   – สำหรับสนามฟุตบอลที่ใช้เล่น เพื่อสันทนาการทั่วไป ค่าความสว่างเฉลี่ยที่แนะนำอยู่ที่ 200 Lux หากใช้เพื่อการแข่งขันระดับสโมสรควรมีความสว่างไม่น้อยกว่า 500 lux และ 750 lux สำหรับการแข่งขันฟุตบอลระดับประเทศ โดยเน้นให้ความสำคัญเฉพาะความสว่างในระนาบแนวนอน ( Horizontal) หรือพื้นสนามเท่านั้น – สำหรับสนามฟุตบอลระดับนานาชาติ ที่ใช้จัดการแข่งขันและมีการถ่ายทอดสด (แบบสนาม 11 คน ขนาดสนาม 68 X 100 เมตร) มีค่าความสว่าง (lux) อยู่ที่ราว 2,500-3,500 Lux นอกจากนี้ สนามฟุตบอลระดับนานาชาติจะมีโคมไฟสปอร์ตไลท์ LED ที่ส่องแสงเข้ามาในสนาม นอกจากจะให้ค่าความสว่างที่พื้นสนามแล้ว ยังต้องให้ความสว่างในระนาบแนวตั้ง (Vertical) ได้ด้วย ซึ่งระนาบนี้จะเป็นระนาบที่ตั้งฉากกับพื้นสนาม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากต่อการถ่ายทอดสด โดยแสงสว่างที่ตกกระทบที่ใบหน้าของนักแตะ จะต้องเพียงพอให้กล้องถ่ายทอดสดสามารถจับภาพได้คมชัดทุกรายละเอียดและไม่เกิดเงามืด เพื่อให้ผู้ชมทางบ้านไม่พลาดช่วงเวลาสำคัญของการแข่งขัน ซึ่งโคมไฟสปอร์ตไลท์มุมแคบส่วนใหญ่อาจให้แสงสว่างที่พื้นสนามในระนาบแนวนอนได้ดี แต่จะไม่สามารถให้ความสว่างในแนวตั้งได้ หากไม่ใช้โคมไฟสนาม LED รุ่นที่มีมุมกระจายแสงที่ออกแบบมาพิเศษสำหรับส่องสว่างสนามกีฬาโดยเฉพาะ เลือกโคมไฟฟลัดไลท์สนามฟุตบอลต้องพิจารณาอะไรบ้าง…

โคมไฟไฮเบย์ ความรู้

ช่างไฟแนะนำ ‘หลอดแสงจันทร์’ กับ ‘โคมไฟไฮเบย์ LED’ แบบไหนเหมาะใช้เป็นโคมไฟโกดังมากที่สุด

ใครที่คลุกคลีอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือโกดังเก็บสินค้ามานานเกิน 20 ปี คุณคงเห็นว่าสิ่งที่ให้แสงสว่างในบริเวณนั้น อย่าง ‘หลอดแสงจันทร์’ เริ่มมีปริมาณน้อยลงมากในปัจจุบัน เพราะถูกแทนที่ด้วย ‘โคมไฮเบย์ LED’ แน่นอนว่าเจ้าโคมไฟโกดังแบบใหม่นี้มีประโยชน์หลายอย่างที่ทำให้คุณสนใจ ถ้าอย่างนั้น เรามาทำความเข้าใจถึงความต่างของหลอดไฟทั้งสองชนิดนี้ ในแบบมืออาชีพกันเลยดีกว่า หลอดแสงจันทร์ คืออะไร? หลายคนคุ้นชื่อหลอดแสงจันทร์มาแต่ไหนแต่ไร แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจจริง ๆ ว่าหลอดแสงจันทร์ คืออะไรกันแน่? หากว่ากันตามเทคนิค ‘หลอดแสงจันทร์’ หรือ ‘หลอดไอปรอทความดันสูง’ (High Pressure Mercury Vapor Lamp) เป็นหลอดไฟในกลุ่มที่ให้ความสว่างสูงชนิดแรก ๆ ซึ่งออกแบบเพื่อติดตั้งในที่สูงตั้งแต่ 5 เมตรขึ้นไป เช่น โรงงาน โกดังสินค้า ฯลฯ โดยหลักการทำงานของหลอดแสงจันทร์ คือ การใช้ไฟฟ้าแรงสูงกระโดดผ่านไอปรอทที่อยู่ในหลอดเพื่อสร้างแสงสว่าง ซึ่งหลอดแสงจันทร์จะให้แสงสีขาวอมเหลือง หรือที่เรียกว่าสีขาวนวลคล้ายกับแสงจันทร์นั่นเอง ส่วนอุณหภูมิสี CCT อยู่ที่ 3,500-4,500K และจำเป็นต้องใช้เวลาอุ่นหลอด 4-10 นาที จนกว่าหลอดแสงจันทร์จะสว่างเต็มที่ นอกจากนี้ ยังมี ‘หลอดเมทัลฮาไลด์’ (Metal Halide) ที่หลายคนเข้าใจผิดเรียกสลับไปมาระหว่างหลอดแสงจันทร์ ซึ่งความจริงแล้วหลอดเมทัลฮาไลด์เป็นหลอดไฟที่พัฒนามาจากหลอดแสงจันทร์ มีจุดเด่นที่ให้ความสว่างมากกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่า ค่าความถูกต้องของสีดีขึ้น และอายุการใช้งานยาวนานกว่าเดิม โดยอุณหภูมิสี CCT จะอยู่ที่ 4,000-6,500K ให้แสงสีขาวอมเหลืองจนถึงแสงสีขาว โคมไฟไฮเบย์ LED คืออะไร? โคมไฮเบย์ ก็คือโคมไฟ LED ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่เหมือนกับโคมไฟหลอดแสงจันทร์ แต่เปลี่ยนแหล่งกำเนิดแสงเป็น LED หรือเรียกว่าไดโอดเปล่งแสง ซึ่งมีการนำมาติดตั้งใช้เป็นโคมไฟโกดังสินค้า โคมไฟอุตสาหกรรม และติดตั้งในพื้นที่สูงเพื่อสร้างแสงสว่างครอบคลุมบริเวณนั้น ๆ หลักการทำงานของ LED…

ความรู้ เทคโนโลยี

หลอดไฟ LED คืออะไร? ไขทุกข้อสงสัยให้กระจ่างชัดที่นี่

หลอดไฟ LED คืออะไร? เชื่อไหมว่าคำถามนี้แม้แต่ช่างไฟที่ทำงานติดระบบแสงสว่างในบ้านหรืออาคาร อาจไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วหลอดไฟ LED มีรายละเอียดทางเทคนิคเป็นอย่างไร เรามั่นใจว่าคุณผู้อ่านคงอยากรู้แล้วว่าหลอดไฟ LED ที่ส่องแสงสีขาวสุดสว่างนี้มันคืออะไรกันแน่ และเพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน หลอดไฟ LED คือ? LED คือ (Light Emitting Diode) หรือ ‘ไดโอดชนิดเปล่งแสง’ ที่สามารถนำไปติดตั้งในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงสถานะ รวมถึงเพื่อใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงแบบต่าง ๆ ซึ่งที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือ หลอดไฟ LED ที่มีหลากหลายรูปทรงให้เลือกใช้งานนั่นเอง หลอดไฟ LED ทำมาจากสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) 2 ชนิดมาวางติดกัน ซึ่งประกอบด้วย 1. ส่วนที่เป็นขั้วบวก (Positive Type) 2. ส่วนที่เป็นขั้วลบ (Negative Type) โดยส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างสารกึ่งตัวนำขั้วบวกและขั้วลบ เรียกว่า P-N Junction เมื่อปล่อยกระแสไฟไหลผ่านสารกึ่งตัวนำทั้ง 2 แล้วอิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ในฝั่งขั้วลบ (N-Type) จะวิ่งไปที่ฝั่งขั้วบวก (P-Type) และปล่อยแสงสว่างออกมา สีของแสงสว่างที่เกิดขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับสารตั้งต้นที่นำมาใช้เพื่อทำเป็นสารกึ่งตัวนำ เช่น หากใช้ – AlInGaP : Aluminium, Indium, Gallium Phosphorus จะได้แสงสีแดงส้ม – InGaN : Indium, Gallium and Nitrogen จะได้แสงสีฟ้า ต้นกำเนิดหลอดไฟ LED ย้อนกลับไปสมัยที่ LED ได้ถือกำเนิดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1962 หรือเมื่อกว่า 60 ปีที่แล้ว โดย Nick…

ATEX โคมไฟกันระเบิด ความรู้

สาเหตุของการระเบิดโรงงานพลาสติก ปิโตรเคมี

จากเหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ของโรงงานผลิตโฟม เม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น ย่านกิ่งแก้ว เมื่อเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 แรงระเบิดทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง ตัวโรงงานถูกเพลิงไหม้เกือบทั้งหมด และบ้านที่อยู่โดยรอบในรัศมี 1-2 กม.ได้รับแรงระเบิดจนทำให้ประตู หน้าต่างกระจกแตกเสียหายเป็นจำนวนมาก ต่อมามีการสั่งอพยพประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณข้างเคียงให้ออกจากพื้นที่โดยด่วน ทั้งนี้เราจะมาอธิบายถึงสาเหตุปัจจัยที่อาจจะเป็นต้นเหตุของการระเบิดในโรงงานอุตสาหกรรมในครั้งนี้ และวิธีการป้องกันตามมาตรฐานสากล   ทำไมโรงงานผลิตโฟม เม็ดพลาสติกถึงมีความเสี่ยงที่จะระเบิดได้ ? ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักสินค้าที่โรงงานนี้ผลิตก่อนว่าคืออะไร โรงงานนี้เน้นผลิตสินค้าประเภท โฟม EPS หรือ Expandable Polystyrene เป็นการผลิตเม็ดพลาสติกและพลาสติกขั้นต้น เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดหนึ่งในรูปเม็ดพลาสติกเรซิ่น ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตปิโตรเลียม และสามารถนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปโภคบริโภค โรงงานนี้ถือเป็นหนึ่งในห่วงโซ่การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ซึ่งจะมีการใช้วัถตุดิบและสารประกอบส่วนใหญ่เป็นสารเคมี ที่ได้มาจากกระบวนการกลั่นน้ำมัน โดยอยู่ในรูปแบบของเหลวหรือก๊าซ ซึ่งถูกจัดเป็นสารอันตรายที่สามารถเกิดการระเบิดได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จแล้ว เช่นโฟมและเม็ดพลาสติกก็ยังเป็นสารไวไฟอีกด้วย จะเห็นได้ว่าตัววัตถุดิบที่เป็นสารเคมีนั้นถูกจัดให้เป็นสารอันตรายที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดการระเบิดได้ แต่ในส่วนของสินค้าตัวโฟมและเม็ดพลาสติกนั้นเป็นแค่เพียงสารไวไฟซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ แต่ไม่น่าจะเป็นสาเหตุของการระเบิด   ทำไมโรงงานถึงระเบิด ? จากที่อธิบายไปข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่า แม้สินค้าของโรงงานที่เป็นวัตถุไวไฟ เช่นโฟมหรือเม็ดพลาสติกนั้น วัตถุเหล่านั้นอาจจะเป็นเชื้อของเหตุเพลิงไหม้ได้ แต่ก็ไม่น่าจะใช่สาเหตุของการระเบิดที่เกิดขึ้น แต่น่าจะเกิดจากสารสไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene monomer) หรือตัวทำละลาย (Solvent) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตโฟมและพลาสติก เช่น โทลูอีน (Toluene) ต่างหากที่เป็นต้นเหตุของการระเบิดในครั้งนี้ ถึงแม้ว่าสารเคมีที่ใช้จะเป็นในรูปแบบของเหลวก็ตาม เมื่อสารเคมีเหล่านี้ถูกจัดเก็บในอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดวาปไฟ (Flash point) สารเคมีเหล่านี้จะระเหยเป็นไอ (Vapor) และพร้อมที่จะระเบิดได้ ทั้งนี้เรามาดูกันว่าสาเหตุปัจจัยของการระเบิดนั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง 1. ออกซิเจน หรืออากาศ ในปริมาณที่เหมาะสม 2. สารไวไฟ ที่อยู่ในรูปของก๊าซหรือไอระเหยจากของเหลว 3. ประกายไฟ การจะเกิดระเบิดได้นันจะต้องมีองค์ประกอบทั้ง 3 นี้อยู่ครบในเวลาเดียวกันจึงจะเกิดการระเบิดขึ้นได้ ตามหลักการของสามเหลี่ยมการระเบิด วิธีป้องกันการระเบิด ? วิธีการป้องกันการเกิดระเบิด สามารถทำได้ด้วยการจำกัดองค์ประกอบทั้ง 3…

ATEX โคมไฟกันระเบิด ความรู้

โคมไฟกันระเบิด Explosion Proof คืออะไร ก่อนติดตั้งต้องดูอะไรบ้าง?

เคยสังเกตไหมว่าบางพื้นที่ในเขตอุตสาหกรรม โรงงาน หรือโกดังสินค้า จะมีหลอดไฟที่ดูแข็งแรงป้องกันแน่นหนาเป็นพิเศษ ซึ่งหลอดไฟเหล่านั้นเรียกว่า ‘โคมไฟกันระเบิด’ และมีหน้าที่สำคัญตามชื่อเรียก ว่าแต่มีวิธีการใดบ้างที่จะใช้ประเมินว่าควรติดตั้งโคมไฟกันระเบิดตรงไหนและอย่างไร? เพื่อไม่เสียเวลามาร่วมทำความเข้าใจไปพร้อมกัน โคมไฟกันระเบิด Explosion proof คืออะไร? โคมไฟกันระเบิด Explosion Proof คือ โคมไฟแบบพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดประกายไฟ ตัวอย่างเช่น โรงงานปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน ห้องเก็บสารเคมี คลังน้ำมัน โกดังเก็บวัตถุไวไฟ และปั๊มก๊าซ รวมถึงบริเวณที่เต็มไปด้วยสาระเหยไวต่อการติดไฟ และพื้นที่ผลิตชิ้นงานขนาดเล็กมาก เช่น ผงแป้ง ผงสี เป็นต้น มาต่อกันที่ปัจจัยที่ทำให้ โคมไฟกันระเบิด หรือ Explosion Proof Lighting นี้ถึงจำเป็นต่อการติดตั้งเพื่อใช้ในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ 1. ในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ นั้นจะมีสารอันตราย สารไฟไว (Hazardous Materials) ที่พร้อมจะจุดติดระเบิด หรือติดไฟได้ง่าย อยู่ในพื้นที่อย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้อยู่แล้ว 2. เมื่อมีประกายไฟ หรือความร้อนที่สูงเพียงพอ จะทำให้สารอันตรายเหล่านั้นระเบิด และทำความเสียหายอย่างมหาศาลให้กับหน้างานในทันที 3. อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงนั้นจะต้องเป็นอุปกรณ์กันระเบิดทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระเบิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพัดลม สวิทช์ไฟ มอเตอร์ รวมทั้งโคมไฟก็ต้องเป็นแบบกันระเบิดด้วย 4. โคมไฟกันระเบิดนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ตัวโคมไฟเอง ไม่เป็นต้นต่อหรือสาเหตุของการระเบิด โคมไฟกันระเบิดใช้วัสดุอลูมิเนียมอัลลอยที่หนาและแข็งแรงเป็นพิเศษทั้งกระจก ตัวโคม และชุดสายไฟ รวมถึงมีระบบป้องกันต่างๆ ใส่มาให้ อาทิ ระบบป้องกันไฟกระชาก และระบบป้องกันการจุดติดภายใน โดยหลายๆ คนเข้าใจผิดว่าโคมไฟกันระเบิดนั้นจะสามารถทนแรงระเบิดจากภายนอกได้ แต่แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างนั้น อะไรคือเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่าต้องติดตั้งโคมไฟกันระเบิดในพื้นที่นั้นๆ? หลังจากทราบถึงความจำเป็นของโคมไฟกันระเบิดไปแบบครบถ้วนแล้ว เรามาดูต่อไปพร้อมกันว่าการติดตั้งโคมไฟกันระเบิดใน พื้นที่อันตราย (Hazardous area) มีเกณฑ์การพิจารณาอย่างไรบ้าง เพื่อให้เราสามารถเลือกโคมไฟกันระเบิด Zone 1 หรือ Zone 2 ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง มาตรฐาน…

ATEX โคมไฟกันระเบิด ความรู้

วิธีการแบ่งพื้นที่อันตราย Zone 1 Vs Zone 2 สำหรับการใช้โคมไฟกันระเบิด

พื้นที่อันตราย (Hazardous area) คือ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงจากการรั่วไหลของก๊าซ ไอระเหยของสารไวไฟ หรือฝุ่น ที่ออกมา ทำให้มีโอกาสระเบิด หรือติดไฟ จำเป็นต้องมีการใช้โคมไฟกันระเบิด ในพื้นที่นั้นๆ ตัวอย่างพื้นที่อันตราย 1. โรงกลั่นน้ำมัน (ก๊าซ ไอระเหย) 2. โรงงานปิโตรเคมี (ก๊าซ ไอระเหย) 3. พื้นที่พ่นสี (ก๊าซ ไอระเหย) 4. พื้นที่เก็บสารเคมี (ก๊าซ ไอระเหย) 5. พื้นที่เก็บถ่านหิน (ฝุ่น) 6. โรงงานแป้งมันสำปะหลัง (ฝุ่น) 7. โรงงานทอผ้า (เส้นใย) 8. โรงงานเฟอร์นิเจอร์ (ฝุ่น) บริเวณอันตรายจะถูกจำแนกตามความเสี่ยงหรือโอกาสในการระเบิดของแต่ละพื้นที่ โดยมีการแบ่งบริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) และ NEC (อเมริกา) ดังนี้ บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน IEC (สากล) นั้นจะแบ่งเป็น 1. พื้นที่เสี่ยงสูงมาก โซน Zone 0 2. พี่นที่เสี่ยงสูง โซน Zone 1 3. พื้นที่เสี่ยงต่ำ โซน Zone 2 บริเวณอันตรายตามมาตราฐาน NEC (อเมริกา) นั้นจะแบ่งเป็น 1. พื้นที่เสี่ยงสูง Division 1 2. พื้นที่เสี่ยงต่ำ Division 2 หลักเกณฑ์การแบ่งพื้นที่เสี่ยง (Hazardous Area Classification) พื้นที่โซน…

โคมไฟไฮเบย์ ความรู้

ทำไมลูกค้าเลือกใช้ โคมไฟ ชินเพาเวอร์ ?

ชินเพาเวอร์ จำหน่าย ขาย สินค้า โคมไฟ หลอดไฟ อุปกรณ์แสงสว่าง และอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน มานานกว่า 16 ปี โดยกลุ่มลูกค้าหลักของเราคือภาคอุตสาหกรรม โรงงาน และโปรเจ็คขนาดใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพและประสิทธิภาพของสินค้าอย่างมาก แต่ราคาที่เราขายนั้นเป็นราคาที่แข่งขันได้ดี เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำ และเลือกสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด โดยสินค้าที่เรานำเสนอนั้นถูกเลือกสรร และออกแบบผลิตภัณฑ์จากทีมเทคนิคมืออาชีพเพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพ แต่ถูกคุมด้วยฝ่ายจัดซื้อสุดเคี่ยวเพื่อให้ต้นทุนของสินค้าเรานั้นสามารถแข่งขันได้ดี ประกอบกับทีมติดตั้งมากประสบการณ์ที่พร้อมติดตั้งโคมไฟในหน้างานต่างๆ ตามมาตรฐาน พร้อมกับทีมดูแลลูกค้าหลังการขายที่คอยดูแลสินค้าเคลมและปัญหาหลังติดตั้งต่างๆ   ขั้นตอนการบริการอย่างมืออาชีพ   1. หาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า (Find True Need) ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการหาซื้อโคมไฟ LED หรือหลอดไฟ LED ใหม่เนื่องจากโคมเก่าเสีย หรือมีพื้นที่ใหม่ที่ต้องการติดตั้งโคมไฟ หรือในบ้างครั้งต้องการซื้อโคมไฟ LED เพื่อการประหยัดพลังงาน แต่นั้นอาจจะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความต้องการทั้งหมดของลูกค้า ทีมงานที่ปรึกษามากประสบการณ์ของเราจะคอยช่วยหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าในทุกองค์ประกอบของการเลือกซื้อโคมไฟแสงสว่าง สำหรับลูกค้าภาคอุตสาหกรรม โรงงาน โปรเจ็คขนาดใหญ่นั้น ค่าความสว่างตามมาตรฐานกฎหมายแสงสว่างนั้น เป็นความต้องการหลักอย่างหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ลูกค้าจะต้องปฎิบัติตาม หลายครั้งลูกค้าเปลี่ยนโคมไฟ LED ไปแล้วสามารถประหยัดไฟได้เยอะ แต่แสงสว่างที่ได้ไม่ผ่านค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด สิ่งที่เป็นอยู่เดิม ทั้งรูปแบบโคมไฟ และตำแหน่งการติดตั้ง อาจจะไม่ได้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดก็ได้ หลายๆครั้งลูกค้ายึดติดกับสิ่งเดิมที่เป็นอยู่ทำให้มีกรอบในการปรับปรุง/เปลี่ยนของใหม่ เราจะคอยแนะนำในสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าเสมอ โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายโดยรวมที่ประหยัดที่สุด   2. ค้นหาสินค้าที่มีคุณภาพ พร้อมเทคโนโลยีนำสมัย ในราคาจับต้องได้ (Discover Quality Products with Innovation at Competitive Price) ชินเพาเวอร์ให้ความสำหรับกับคุณภาพของสินค้ามาเป็นอันดับหนึ่ง โดยกล้ารับประกันสินค้าได้นานถึง 5 ปี สำหรับโคมไฟ LED รุ่นทั่วไปและสูงสุดถึง 7 ปี สำหรับโคมไฟ LED Thunder…

ความรู้ เทคโนโลยี

คำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับแสงสว่าง และหลอดไฟ

1.วัตต์ (W) – คือค่าพลังงานหรือค่ากินไฟที่หลอดไฟแต่ละหลอดใช้ หากหลอดไฟมีวัตต์สูงก็จะใช้พลังงานมาก กินไฟมาก ทำให้ผู้ใช้จ่ายค่าไฟสูงขึ้นนั้นเอง ความเชื่อว่าหลอดไฟวัตต์สูงจะสว่างมากนั่น ไม่จริงเสมอไป เพราะความสว่างของหลอดไฟวัดด้วยหน่วยที่เรียกว่า ลูเมน (Lumen) หากหลอดไฟมีลูเมนมาก ก็จะสว่างมาก หลอดไฟกำลังวัตต์นั้นอาจจะไม่สว่างกว่าหลอดไฟวัตต์ต่ำเสมอไป เราต้องดูค่าลูเมน หรือค่าประสิทธิผล (Efficacy ; Lumen/watt) ด้วย บทความ ความเชื่อผิดๆ หลอดไฟวัตต์สูง จะสว่างมาก 2. ลูเมน (Lumen) – หรือฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous Flux) คือ ค่าปริมาณแสงที่หลอดไฟปล่อยออกมาได้จากหลอดไฟแต่ละหลอด หากโคมไฟมีค่าลูเมนมากจะสามารถให้แสงสว่างได้มากกว่าหลอดไฟที่มีค่าลูเมนน้อย 3. ลักซ์ (Lux) คือ ความสว่างที่เกิดจากแสงตกกระทบลงบนพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ค่าลักซ์เป็นค่าที่ใช้อ้างอิงถึงความสว่างของพื้นที่หน้างาน โดยมีหน่วยเป็น (Lumen / sqm) และยังเป็นค่าที่ใช้วัดความสว่างตามที่กฎหมายกำหนดอีกด้วย ตัวอย่างเช่น กฎหมายแสงสว่างกำหนดไว้ว่าพื้นที่คลังสินค้านั้น ต้องมีความเข้มแสงเฉลี่ย (Lux) ไม่น้อยกว่า 200 ลักษ์ และบนโต๊ะทำงานในออฟฟิตนั้นต้องมีความเข้มของแสงเฉลี่ย (Lux) ไม่น้อยกว่า 500 (อ้างอิงจาก ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่องมาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ปี 2561) 4. CRI (Color Rendering Index) หรือ Ra คือค่าที่ใช้วัดความสามารถของแหล่งกำเนิดแสงว่าสามารถทำให้สีของวัตถุมีความ”สมจริง” หรือ “เป็นธรรมชาติ” เมื่อเทียบกับแสงอาทิตย์มากน้อยเพียงใด หรือก็ คือ ค่าความถูกต้องของสีที่ตาเรามองเห็นนั่นเอง ค่า CRI นั้นมีค่ามากที่สุดคือ 100 ซึ่งหมายถึงหลอดไฟสามารถให้แสงได้เหมือนกับแสงพระอาทิตย์ 100% หรือสีที่เราเห็นนั้น “ไม่เพื้ยน” นั้นเอง…

ความรู้ เทคโนโลยี

ค่า CRI (Color Rendering Index) คืออะไร

  ค่า CRI คือ ดัชนีวัดค่าความถูกต้องของสี ( Color Rendering Index หรือ Ra ) ที่เกิดจากการส่องสว่างของหลอดไฟลงบนวัตถุต่างๆ มีค่าตั้งแต่ 0-100 ซึ่งค่า CRI = 100 นั้นหมายถึงแหล่งกำเนิดแสงหรือหลอดไฟนั้น สามารถให้แสงที่ทำให้ตาเรามองเห็นสีวัตถุที่ส่องได้ “สมจริง” หรือ “เหมือนกับสีที่ถูกส่องโดยแสงพระอาทิตย์” (เหมือนธรรมชาติ) มากที่สุด    ทำไมเราถึงใช้แสงพระอาทิตย์เป็นค่าอ้างอิงความถูกต้องของสี ?     เนื่องจากแสงแดด หรือแสงพระอาทิตย์นั้นมีส่วนประกอบของสีหลักครบทั้ง 7 เชดสี การที่เราเห็นแสงของพระอาทิตย์นั้นเป็นสีขาวนั้น เกิดมาจากการผสมแสงแบบเชิงบวก (Additive) ของเหล่าสีต่างๆ ที่เป็นต้นกำเนินอยู่ภายใน เมื่อแสงสีต่างๆมีการรวมตัวและผสมกันแล้ว เราก็จะเห็นแสงออกมาเป็นสีขาว ดังที่เราเคยทำการทดสอบกันในชั้นเรียนวิทยาศาตร์ระดับมัธยม โดยการนำแท่งปริซึม (Prism) มาส่องกับแสงแดด เราก็จะเห็นแสงที่อยู่ภายในเหล่านั้น หรือปรากฎการณ์รุ่งกินน้ำก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราเห็นถึงแสงสีต่างๆ ที่อยู่ภายในแสงแดด    เมื่อแสงแดดประกอบไปด้วยสีหลักๆ ครบทุกเชดสี ทำให้เมื่อแสงแดดส่องลงบนวัตถุใดๆ เราก็จะสามารถเห็นสีที่แท้จริงของวัตถุเหล่านั้นสะท้อนเข้าตาเราได้ครบทุกเชดสี    ตัวอย่างสีของวัตถุที่เรามองเห็นเมื่อโดนส่องสว่างจากหลอดไฟที่มีค่า CRI แตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าวัตถุที่ถูกส่องจากหลอดไฟที่มีค่า CRI สูงนั้นรูปทางด้านขวาจะเห็นสีที่สดและสมจริง กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับภาพทางด้านซ้ายนั้นมีสีที่ซีดและไม่สมจริงเท่า    ในอดีตนั้นหลอดไฟแต่ละแบบมีสามารถให้ค่า CRI ได้อย่างจำกัดตามแต่เทคโนโลยีการผลิตหลอดไฟชนิดต่างๆ แต่หลอดไฟ LED นั้นสามารถให้ค่า CRI ได้อยู่ในช่วงที่ค่อนข้างดี คือตั้งแต่ CRI 70-95  ค่า CRI สำหรับห้างสรรพสินค้า หลอดไส้และหลอดฮาโลเจนนั้นสามารถให้ค่าความถูกต้องของสีได้มากถึง 100 หรือเรียกได้ว่าสมจริงมากที่สุด ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าในตู้โชว์ตามห้างสรรพสินค้าเมื่อก่อนจะเลือกใช้เป็นหลอด MR16 ที่เป็นหลอดฮาโลเจนกันมากที่สุด เพื่อที่จะส่องสินค้าในตู้โชว์ให้ได้สีที่ออกมาสมจริงเพื่อดึงดูลูกค้าได้มากขึ้น แต่หลอดประเภทนี้มีข้อเสียคือกินไฟมากและเสียเร็ว หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์นั้นมีค่า CRI ค่อนข้างดีที่…

โคมไฟไฮเบย์ LED Tube ความรู้ เทคโนโลยี

ประเภทของหลอดไฟชนิดต่างๆ

   หลอดไฟนั้นถูกคิดค้นขึ้นเมื่อในช่วงศตวรรตที่ 1800 หรือกว่า 140 ปีมาแล้ว หลอดไฟแบบแรกนั้นเป็นต้นแบบของหลอดไฟที่เรียกว่าหลอดไส้ หรือหลอด Incandescent ที่ยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบัน หลังจากการประดิษฐ์หลอดไฟหลอดแรกขึ้นมาได้นั้น โลกก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากเมื่อมนุษย์สามารถมีแสงสว่างในเวลากลางคืนได้โดยไม่ต้องใช้เทียนไขอีกต่อไป หลังจากนั้นหลอดไฟก็ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ โดยมีจุดประสงค์หลักที่จะทำให้หลอดไฟนั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น หรือเรียกง่ายๆคือทำให้หลอดไฟประหยัดไฟมากขึ้น และให้แสงสว่างเพิ่มมากขึ้น โดยประเภทของหลอดไฟนั้นจะสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้เป็น 3 กลุ่มเทคโนโลยี คือ 1. หลอดไส้ (Incandescent) 2. หลอดก๊าซคายประจุ (Gas Discharge) 3. หลอดคายประจุสถานะแข็ง (Solid State Discharge) หลอดไฟประเภทที่ 1 : เผาไส้ให้ร้อน (Incandescent)       หลอดไฟประเภทนี้ใช้หลักการทำให้เกิดแสงสว่างโดยการปล่อยกระแสไฟผ่านไส้หลอด ทำให้ไส้หลอดที่เป็นลวดโลหะร้อนและเปล่งแสงสว่างออกมาได้ เป็นหลอดไฟที่ไม่ซับซ้อนและถูกใช้กันอย่างแพระหลายในช่วงเกือบ 100 ปีแรกของวิวัฒนการการของหลอดไฟ     1.1 หลอดไส้ Incandescent            ส่วนมากใช้ไส้หลอดที่ทำมากจากทังสเตน (Tungsten Filament) เพื่อเป็นชิ้นส่วนหลักที่เมื่อกระแสไฟไหลผ่านแล้วจะทำให้อุณหภูมืที่ตัวไส้หลอดสูงขึ้นและทำให้เกิดแสงสว่างออกมา โดยหลอดไส้จะมีข้อดีคือสามารถให้ค่าความถูกต้องของสีได้ดีมาก หรือ CRI = 100 เมื่อนำหลอดไฟประเภทหลอดไส้ไปส่องวัตถุใดๆแล้วเราจะสามารถเห็นสีสันของวัตถุนั้นได้สดใสและสมจริงๆมากๆ ถึงแม้ว่าแสงที่ปรากฎหรืออุณหภูมิสี (CCT) ของหลอดไส้จะออกไปทางสีเหลืองอมส้ม (CCT = 2700K) ก็ตาม           อย่างไรก็ดีอายุการใช้งานของหลอดไส้นั้นค่อนข้างต่ำ มีอายุเพียง 1,000 ชม. และขาดง่าย กินไฟมาก มีค่าประสิทธิภาพ (Efficacy) ต่ำมาก เพียง 10-15 ลูเมนต่อวัตต์ และยังปล่อยความร้อนออกมาค่อนข้างมาก แต่หลอดไฟประเภทนี้มีราคาถูก    1.2 หลอดฮาโลเจน Halogen          หลอดไฟฮาโลเจนนั้นเป็นหลอดที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากหลอดไส้ และยังถึงว่ายังเป็นหลอดที่อยู่ในประเภทหลักหรือปรเภทหลอดไส้อยู่ โดยนักพัฒนาได้ทำการเติมสารกุล่มฮาโลเจน (เมทิลีนโบรไมด์) เข้าไปในหลอดไส้ เพื่อช่วยลดการระเหิดของขดลวดทังสเตน…

ความรู้ เทคโนโลยี

กฎหมายค่ามาตรฐานความเข้มแสงสว่าง (Lux Output Level) 2568

ชินเพาเวอร์ ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและขายโคมไฟไฮเบย์(โคมไฟสำหรับโรงงาน) , โคมไฟถนน , โคมไฟฟลัดไลท์ รวมถึงโคมไฟกันระเบิดและโคมไฟที่คุณอาจสนใจอีกมากมาย ขอแนะนำกฎหมายเกี่ยวกับความเข้มของแสงสว่าง (ค่าลักซ์ Lux) อ้างอิงตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ซึ่งใน หมวด 2 เกี่ยวกับแสงสว่างกฎหมายระบุไว้ว่า ข้อ ๔ นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกําหนด ต้องการผู้เชี่ยวชาญช่วยให้คำแนะนำและออกแบบแสงสว่างให้ผ่านมาตรฐานตามกฎหมาย? ปรึกษาฟรี! กดติดต่อเราได้ทันที ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561) ค่าลักซ์ (Lux) คือค่าความเข้มของแสงสว่าง (Illuminance) บนหน้างานมีหน่วยเป็นลูเมนต่อตารางเมตร ซึ่งในกฎหมายแสงสว่างนั้นระบุค่าความต้องการแสงสว่างเป็นค่าเฉลี่ยของค่าลักซ์ในพื้นที่ต่างๆเพื่อให้ผู้ใช้งานพื้นที่นั้นๆ เกิดความปลอดภัยในการใช้งานมีการกำหนดค่าความสว่างดังนี้ ตารางที่ 1 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณพื้นที่ทั่วไปและบริเวณการผลิตภายในสถานประกอบกิจการ ลานจอดรถ ทางเดิน บันได :  50 ลักซ์ ป้อมยาม :  50 ลักซ์ ห้องน้ำ ห้องสุขา :  100 ลักซ์ โรงอาหาร ห้องปรุงอาหาร :  100 ลักซ์ ห้องฝึกอบรม ห้องบรรยาย : 300 ลักซ์ ตารางที่ 2 มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง ณ บริเวณที่ลูกจ้างต้องทางาน โดยใช้สายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทำงาน (โรงงาน พื้นที่การผลิต คลังสินค้า) คลังสินค้า (Warehouse) : 200 ลักซ์…

โคมไฟไฮเบย์ ความรู้ เทคโนโลยี

ทำไมภาคธุรกิจจึงนิยมเปลี่ยนมาใช้โคมไฟไฮเบย์ LED

ทำไมภาคธุรกิจจึงนิยมเปลี่ยนมาใช้โคมไฟไฮเบย์ LED ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเรื่องของแสงสว่างภายในและภายนอกตัวอาคารเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องติดตั้งโคมไฟหรือหลอดไฟที่ให้แสงสว่างได้อย่างเพียงพอและเหมาะสมเพื่อให้ทั้งคนทำงานและลูกค้ามีความปลอดภัยเมื่อเข้ามาประกอบอาชีพหรือเข้ามาใช้บริการในพื้นที่ของภาคธุรกิจนั้น ๆ และด้วยความสำคัญของแสงสว่างนั่นเอง ทำให้ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมมักจะมีการยกเครื่องโคมไฟหรือหลอดไฟที่ให้แสงสว่างโดยเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED แทนหลอดไฟแบบเก่าทั้งหมด นั่นก็เป็นเพราะว่าหลอด LED เป็นหลอดไฟที่ให้ความสว่างสูงในขณะที่ช่วยลดการใช้พลังงานและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ จึงสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี วันนี้เราจึงจะพาคุณไปรู้จักกับหลอดไฟหรือโคมไฟไฮเบย์ LED (LED Highbay)ตัวช่วยความสว่างที่หลายภาคธุรกิจนิยมเปลี่ยนมาใช้กัน โคมไฟไฮเบย์ LED คืออะไร โคมไฟไฮเบย์ LED เป็นโคมไฟที่ใช้สำหรับการติดตั้งบนที่สูงและเป็นโคมไฟที่ให้แสงสว่างมากจึงเหมาะสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเหมาะสำหรับการติดตั้งบนโครงสร้างของหลังคา อาคาร โรงงาน โกดัง คลังสินค้า ห้างสรรพสินค้า โชว์รูม ปั๊มน้ำมัน ลานจอดรถไปจนถึงสตูดิโอ และสนามกีฬาต่าง ๆ   จุดเด่นของโคมไฟไฮเบย์ LED โคมไฟไฮเบย์ LED เป็นโคมไฟที่ให้ความสว่าง ทนทาน ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมสามารถใช้งานด้านความสว่างได้อย่างคุ้มค่า เนื่องด้วยคุณสมบัติของLED ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ให้ความสว่างได้มากขึ้นในขณะที่เป็นการใช้พลังงานและใช้ไฟน้อยกว่าทำให้สามารถช่วยประหยัดพลังงานให้กับภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีกำลังวัตต์หลายขนาดให้เลือกหลากหลายตามแต่ความสว่าง และความสูงของตัวอาคารที่ต้องการติดตั้งเพื่อใช้งาน โดยเราสามารถเลือกขนาดวัตต์และความสว่างให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ใช้งานโดยการออกแบบจำลองแสง 3D (Lighting simulation) อีกทั้งยังมีอุณหภูมิของแสงให้เลือกหลากหลายเพื่อให้เหมาะกับประเภทของธุรกิจและอุตสาหกรรม ได้แก่ Warm white แสงส้ม, Cool white แสงนวล และ Day light แสงขาว เป็นต้น โคมไฟ LED High bay เป็นโคมไฟที่เปิดแล้วติดสว่างได้ทันทีโดยไม่ต้องรอเวลาและเป็นหลอดไฟที่มีคุณสมบัติในการควบคุมทิศทางและการกระจายของแสงได้ตามที่ต้องการโดยไม่สูญเสียความสว่างพร้อมกับความสามารถในการช่วยลดความร้อนที่เกิดขึ้นจากตัวหลอดจึงทำให้หลอดไฟมีอายุการใช้งานที่ยาวนานยิ่งขึ้น และที่สำคัญหลอดไฟ LED ไม่มีการปล่อยรังสีออกมาทำให้ยิ่งมีความปลอดภัยสำหรับสุขภาพของผู้ใช้งานมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ โคมไฟ LED Highbay ยังมีความโดดเด่นในด้านของการใช้งานเนื่องจากสามารถใช้ติดตั้งเพื่อทดแทนโคมไฟแบบเก่าได้หลายประเภทโดยเฉพาะการใช้ติดตั้งแทนโคมไฟแสงจันทร์หรือโคมไฟเมทัลฮาไลด์แบบเก่าที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งสามารถใช้เปลี่ยนติดตั้งทดแทนได้ทันทีโดยไม่มีความยุ่งยาก   โคมไฟไฮเบย์ LED แตกต่างจากโคมไฟปกติอย่างไร ประหยัดไฟได้มากกว่าโคมไฟโรงงานรุ่นเก่าได้มากขึ้นถึง 70% มีระบบอุปกรณ์ป้องกันไฟกระชาก(surge protection)ในตัว ไม่ต้องใช้บัลลาสต์…

ความรู้ เทคโนโลยี

3 ข้อแตกต่างระหว่างหลอดไฟ LED กับหลอดไฟทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า จริง ๆ แล้ว ไม่ได้มีไว้สำหรับให้ช่างไฟรู้ หรือเป็นทักษะเฉพาะด้านเพียงเท่านั้น จริง ๆ คนทั่วไปอย่างเรา ๆ ก็สามารถเรียนรู้หาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเปิดโลกทัศน์และสามารถเลือกนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด ที่สำคัญหากคุณมีความรู้ก็จะสามารถเลือกใช้งานให้ได้รับความคุ้มค่าและได้รับประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับหลอดไฟ บางคนคิดว่าหลอดไฟที่เราใช้งานกันอยู่นั้น มันก็เหมือน ๆ กันหมดนั่นแหละ ให้แสงสว่างเหมือน ๆ กัน ซึ่งความจริงแล้วมันแตกต่างกัน ซึ่งเราอยากให้คุณเปลี่ยนมุม มองใหม่ แล้วคุณจะพบกับความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงระหว่าง หลอดไฟธรรมดา กับ LED อยากรู้ก็ตามมาดูรายละเอียดกับเรากันได้เลย 1. หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่ว ๆ ไปได้เกือบ 6 เท่า เพราะหลอดไฟทั่วไปจะสามารถให้แสงสว่างอยู่ที่ประมาณ 10,000 ชั่วโมง แต่สำหรับ หลอดไฟ LED สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 60.000 ชั่วโมงกันเลยยิ่งคุณเลือกใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จึงสรุปได้เลยว่าอายุการใช้งานของหลอดไฟ 2 ชนิดนี้แตกต่างกันมากเลยทีเดียว 2. หลอดไฟ LED ช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟได้เกือบเท่าตัว ด้วยคุณสมบัติที่สามารถให้อัตราแสงสว่างที่สูงกว่าหลอดไฟทั่วไป ทำให้ช่วยลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังให้แสงสว่างที่มีคุณภาพ มีอัตราการกระพริบที่สูง เป็นแสงสีขาวแท้ ช่วยให้คุณสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แสงได้อย่างมีคุณภาพ สบายตา และไม่ต้องกังวลใจกับยอดค่าไฟในแต่ละเดือน 3. หลอดไฟ LED ปลอดภัยกว่าหลอดไฟธรรมดาทั่วไป เพราะไม่มีทั้งรังสียูวี ที่จะทำร้ายผิวของคุณ หรือจะเป็นการระบายความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นอย่างหลอดไฟทั่วไป ไม่มีสารพิษในหลอดไฟอย่างพวกสารปรอท เป็นหลอดไฟที่ปลอดภัยต่อคนใช้งานได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์กันเลยทีเดียว หลอดไฟชนิดนี้นอกจากปลอดภัยต่อผู้ใช้งานแล้วยังช่วยลดภาวะโลกร้อนที่ส่งผลร้ายต่อโลกของเราอีกด้วย เป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง หลอดไฟ LED กับ หลอดไฟธรรมดาทั่วไป ทั้งในแง่ของความทันสมัยและคุณสมบัติ แบบนี้คุณยังจะลังเลใจในการเลือกใช้งานเพื่อให้ประโยชน์ที่คุ้มค่าและให้แสงสว่างที่มีประสิทธิภาพกับคุณอีกเหรอ อย่ารอช้าอีกเลยในการเลือกสรรหลอดไฟที่ดีที่สุดให้คุณได้ใช้งานกัน เพื่อให้คุณได้พบกับมิติใหม่ของแสงสว่าง ที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพกันอย่างแท้จริง ดีทั้งประสิทธิภาพและดีกับสุขภาพของผู้ใช้งานอีกด้วย เป็นหลอดไฟที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างพึงพอใจสูงสุด อยากให้คุณเปิดใจและรับความนำสมัยของหลอดไฟ…

Smart Lighting IoT ความรู้

โครงการสนับสนุนการปรับปรุงอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน Subsidy

กลับมาแล้ว !!! กับโครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 2564 (Direct Subsidy 80/20 : 70/30) 📍สนับสนุน 20% สำหรับโรงงานหรืออาคารควบคุมเอกชน 📍สนับสนุน 30% สำหรับโรงงานหรืออาคารนอกข่ายควบคุม  และโรงงานหรืออาคารควบคุมเอกชนที่ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมด้านพลังงาน (Smart IoT Products) 📍สนับสนุนเงินลงทุนสูงสุด 3 ล้านบาทต่อราย 📍เปิดรับสมัครวันนี้ – 21 ม.ค.65 ประกาศขยายวันรับสมัครจนถึง 11 กุมภาพันธ์ 2565 โครงการสนับสนุนการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยน ปรับปรุง เครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน 2564 จากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ทางเราได้สรุปรายละเอียดโครงการ Subsidy ไว้ดังต่อไปนี้ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 1. โรงงานอุตสาหกรรมเอกชน อาคารภาคเอกชน 2. กรณีที่ผู้สมัครเป็นโรงงานควบคุมเอกชน หรือ อาคารควบคุมเอกชน ตามพรบ.การส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ต้องมีการจัดส่งรายงานการจัดการพลังงานในรอบปี 2563 ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป หลักเกณฑ์การสนับสนุน 1. การติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่ช่วยให้เกิดการประหยัดพลังงาน การซื้อเครื่องจักร วัสดุอุปกรณ์ใหม่ทดแทนของเดิมที่มีประสิทธิภาพต่ำ ในมาตรการที่มีระยะเวลาคืนทุนไม่เกิน 7 ปี 2. สามารถขอรับการสนับสนุนได้หลายมาตรการ ในวงเงินสนับสนุนไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อนิติบุคคลหรือต่อบุคคล และต้องไม่น้อยกว่า 30,000 บาทต่อราย 3. สนับสนุน 20% สำหรับโรงงานควบคุม และอาคารควบคุม แต่ไม่เกินราคากลางที่กำหนด…